มะม่วงมหาชนก

8 กุมภาพันธ์ 2558 ไม้ผล 0

มะม่วง “มหาชนก” หรือ ราชามาโปรด มีลักษณะเด่นคือ ขนาดผลใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 ขีด รูปลักษณ์แตกต่างจากมะม่วงที่คนไทยนิยม เช่น น้ำดอกไม้ หรือ อกร่อง มีลักษณะผลกลมยาว ปลายงอนเล็กน้อย เนื้อแน่น เมล็ดลีบ เปลือกเมื่อสุกแล้วสามารถลอกออกมารับประทานคล้ายแก้วมังกร สีผิวปกติเขียวเรียบเนียน เมื่อผลแก่จัดมีสีเขียวอมแดง เมื่อเริ่มสุกมีสีเหลืองทองอมส้ม หรือสีแดงแก้มแหม่ม คล้ายผลแอบเปิ้ล ส่วนรสชาติเปรี้ยวจัด แต่เมื่อแก่จัดและสุกจะมีรสชาติหอมหวาน ลักษณะดังกล่าวเกิดจากการผสมของมะม่วงสายพันธุ์หนังกลางวัน และพันธุ์ซันเซท เดิมมะม่วงมหาชนกนิยมปลูกใน จ.เชียงใหม่ แต่ต่อมามีการพัฒนาสายพันธุ์เริ่มปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะที่ จ.กาฬสินธุ์

มะม่วงมหาชนก เป็นพันธุ์ที่ได้จากต้นที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ด (พ่อแม่มะม่วงพันธุ์ซันเซทกับพันธุ์หนังกลางวัน) ที่สวนของอาจารย์ประพัฒน์ สิทธิสังข์ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดย คุณเดช ทิวทอง นำไปทดลองปลูกไว้ที่สวน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และพบว่ามีต้นมะม่วงต้นหนึ่ง เจริญเติบโต มีใบใหญ่ ให้ผลยาวคล้ายพันธุ์หนังกลางวัน แต่ผลสุกกลับมีสีผิวเหลืองอมแดง มีสีส้มคล้ายพันธุ์ซันเซท จึงสันนิษฐานเกิดการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์โดยบังเอิญ จึงได้ตั้งชื่อมะม่วงพันธุ์นี้ว่า “มะม่วงมหาชนก”

mamaungmhs

ประเทศไทยถือว่าเป็นต้นกำเนิดของ มะม่วงมหาชนก เป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างมะม่วงพันธุ์ซันเซท และมะม่วงหนังกลางวันซึ่งมีรสชาติรับประทานดิบจะเปรี้ยว รับประทานสุกจะหวาน ลูกผสมดังกล่าวก่อให้เกิดเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวของมะม่วงมหาชนก ทั้งรูปลักษณะผล รสชาติที่โดดเด่นออกไปกลายเป็นทางเลือกของตลาดผู้บริโภค

จากข้อมูลข้างต้น มะม่วงมหาชนก ได้รับการยอมรับว่าเป็นพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักเพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศและหลักตามวิชาการ นอกจากนี้ ลักษณะเด่นพิเศษของมะม่วงมหาชนกมีลักษณะภายนอกสีผิวสวย (สีแดงแก้มแหม่ม) รสชาติดี แต่ไม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนส และหากในแหล่งที่ปลูก มีมะม่วงอื่นออกดอกติดผลตลอดปี มะม่วงมหาชนก ก็จะออกดอกติดผลตลอดปีเช่นกัน

การปลูกมะม่วงมหาชนกออกดอกติดผลได้ดีตั้งแต่ริมทะเลหัวหิน จนถึงที่สูง 1,200 เมตร (ตรงบริเวณยอดดอยแม่จ๋อง) อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน

mamaungmhchormamaungmhton mamaungmhhor mamaungmhpon

ทางด้านการตลาดในขณะผู้ส่งออกมุ่งทั้งโซนยุโรปและตลาดด้านเอเชีย ด้วยการพยายามสร้างฐานลูกค้ารายใหม่ๆ และกระจายผลผลิตของพี่น้องชาวเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ มะม่วงมหาชนก นอกจากถูกส่งออกในรูปแบบสดแล้วยังถูกส่งออกไปในรูปแบบแปรรูป โดยเฉพาะทางด้านประเทศญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง มีปริมาณการส่งออกเติบโตอย่างรวดเร็วอาจเป็นเพราะรสชาติถูกใจตลาดดังกล่าว

mamaungmhking

ผู้ส่งออกทราบดีว่า มะม่วงมหาชนก ถือว่าเป็นผลไม้ที่ต้องรับประทานสุกเป็นหลัก เนื่องจากมีรสชาติหวาน แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถสู้มะม่วงน้ำดอกไม้ได้ เนื่องจากผู้บริโภครู้จักมาเป็นเวลานานแล้ว ฉะนั้น หลักทางการตลาดต้องมีกลยุทธ์นำเสนอ มะม่วงมหาชนกกลายเป็นเบอร์รอง ได้มีการปรับรูปแบบด้วยการนำเนื้อมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ จึงได้มีการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยท่านแก้วขวัญ วัชโรทัย เป็นผู้อำนวยการโครงการ ให้ฝ่ายวิจัยพัฒนา อันมี คุณหญิงมารศรี เดชะกำพุช เป็นหัวหน้า ได้นำมะม่วงมหาชนกทดลองทำเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการวิจัยพบว่า ผลผลิตจากมะม่วงมหาชนกสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น น้ำมะม่วง แยมมามาเลท ไอศครีม เซอร์เบท เค้ก โดนัท พาย ท็อฟฟี่ มะม่วงกวน เจลกึ่งวุ้น กัมมี่แบร์ นอกจากนี้ ผลการวิจัยทดลองยังพบว่าเนื้อสุกมะม่วงมหาชนกปั่นละเอียดแช่แข็ง ยังสามารถเก็บไว้ได้นานข้ามปีพร้อมนำมาแปรรูปได้ทันทีโดยคุณภาพยังคงสดเหมือนเดิม

การแบ่งขนาดผล ขนาดผลกลาง ในระดับเกรดซี น้ำหนักผลอยู่ที่ 251-350 กรัม

  • ขนาดใหญ่ ในระดับเกรดบี น้ำหนักผลอยู่ที่ 351-400 กรัม
  • ขนาดจัมโบ้ ในระดับเกรดเอ น้ำหนักผลอยู่ที่ 401-500 กรัม
  • ขนาดยักษ์ ในระดับเกรดเอเอ น้ำหนักผลอยู่ที่ 501 กรัม ขึ้นไป

การผลิตเพื่อการส่งออกมะม่วงมหาชนก ถือว่ามีความสำคัญต้องควบคุมคุณภาพ เริ่มตั้งแต่สวนจนถึงผู้ส่งออกจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค เนื่องจากโอกาสทางการตลาดต่างประเทศเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าการส่งออกมะม่วงมหาชนกมีปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงมีความต้องการสูงขึ้นจากต่างประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตมะม่วงมหาชนกในประเทศยังน้อยอยู่ สาเหตุเนื่องจากชาวเกษตรกรยังไม่ค่อยมั่นใจตลาดมากนัก

mamaungmhpah mamaungmhpa

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรหลายรายเริ่มสนใจหันมาลงทุนสวนมะม่วงมหาชนกมากขึ้น ผู้ส่งออกก็เริ่มมองหาโอกาสขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือมะม่วงมหาชนกที่มีคุณภาพ

ที่มา
http://info.matichon.co.th/techno/techno.phpsrctag=05074011051

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น