มะม่วงอกร่อง กินกับข้าวเหนียวมูน

27 กันยายน 2557 ไม้ผล 0

พันธุ์อกร่อง เป็นมะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกัน นิยมกินผลสุกกับข้าวเหนียวมูน ลักษณะของมะม่วงอกร่องจะมีขนาดผลค่อนข้างเล็ก รูปทรงผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัด เมื่อแก่จัดเต็มที่ผิวของเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อมะม่วงสีเหลืองเนียนละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะแบน

ในยุคสมัยก่อนหากจะกินข้าวเหนียวมูนกับมะม่วงสุก จะมีมะม่วงสุกที่เป็นสุดยอดนำไปกินกับข้าวเหนียวมูนเพียงพันธุ์เดียวคือ มะม่วงอกร่องเขียว เนื่องจากเนื้อสุกมีรสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้ปิดตาให้กินเนื้อสุกโดยไม่บอกให้รู้ว่าเป็นมะม่วงอะไร ผู้กินเมื่อกินแล้วจะรู้ได้ทันทีว่าเป็น มะม่วงอกร่องเขียว เมื่อนำผลสุกไปปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นๆ กินกับข้าวเหนียวมูนจะหวานหอมเข้ากันได้เป็นอย่างดีและอร่อยมาก ซื้อเป็นของฝากถูกใจผู้รับเป็นอย่างยิ่ง

oklongkaw

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangiferaindica Linn
ชื่อวงศ์: Anacardiaceae
ชื่ออื่นๆ มะม่วงอกร่อง อกร่องทอง

ลักษณะ
มะม่วงอกร่องเป็นไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มทรงกลมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับเยอะบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูบรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบ โคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างหนาแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด หลังใบเป็นสีเขียวหม่น บนาดใบจะใหญ่กว่าใบมะม่วงอกร่องพันธุ์ ดอกออกเป็นเชิงลด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ผลรูปรีมีขนาดใหญ่กว่ามะม่วงอกร่องชนิดอื่น ผลดิบรสเปรี้ยวจัดฉ่ำน้ำ เมื่อผลสุกเป็นสีเหลืองทองทั้งเปลือกนอกและเนื้อในดูเหลืองงาม

oklongton

ใบ มะม่วงอกร่องทองจะมีใบที่แคบ และห่อขึ้นสีเขียวไม่เข้มมาก ส่วนมะม่วงอกร่องใหญ่และอกร่องพิกุลทองซึ่งจะมีใบกว้างแบนและสีเขียวเข้ม

ผล มะม่วงอกร่องพิกุลทองนั้น จัดว่าเป็นน้องใหม่ที่กลายพันธุ์จากมะม่วงอกร่องโบราณได้รับความนิยมพอสมควร ระหว่างมะม่วงอกร่องโบราณกับมะม่วงอกร่องพิกุลทองนั้นมีความแตกต่างกัน

oklonglogon oklongking

มะม่วงอกร่องโบราณ หรือ อกร่องทอง เป็นพันธุ์เดียวกัน คืออกร่องทองกลายมาจากอกร่องโบราณ เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเหลืองทอง จึงเรียกอกร่องทอง รสชาด กลิ่น และขนาดของลูกไม่ต่างกัน

ปัจจุบันเรียกกันหลายชื่อ จริงๆ แล้วเป็นมะม่วงโบราณ ที่มีอายุนับ 100 ปี สืบทอดสายพันธุ์มาจนทุกวันนี้ มะม่วงอกร่องนั้นมีหลายสายพันธุ์ เช่น มะม่วงอกร่องโบราณหรืออกร่องใหญ่ มะม่วงอกร่องทอง มะม่วงอกร่องพิกุลทอง มะม่วงอกร่องกะทิ อกร่องเขียว อกร่องมัน

oklongpon

มะม่วงอกร่องพิกุลทอง จัดว่าเป็นน้องใหม่ที่กลายพันธุ์จากมะม่วงอกร่องโบราณได้รับความนิยมพอสมควร ระหว่างมะม่วงอกร่องโบราณกับมะม่วงอกร่องพิกุลทองนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ มะม่วงอกร่องพิกุลทอง ทรงผลยาวกว่ามะม่วงอกร่องโบราณ ผิวเปลือกเหลืองสวยและตรงแก้มจะมีสีแดงอมชมพู ส่วนมะม่วงอกร่องโบราณ ทรงผลออกแบน ออกอ้วนกว้าง บ่มแล้วผิวเหลืองสวย ผลดิบที่อกมีร่อง แต่พอแก่จัดร่องอกจะเติมเต็มหายไป อกร่องจะมีลักษณะของผลเหมือนอกร่องโบราณทุกอย่างแต่ขนาดของลูกจะเล็กกว่าเล็กน้อย เมื่อสุกแล้วเปลือกจะมีเหลืองทองสวยมาก

มะม่วงอกร่องหยาด
เป็นมะม่วงอกร่องกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ดของมะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิม เมื่อแตกต้นนำไปปลูกจนติดผลแล้วมีความแตกต่างจากพันธุ์ดั้งเดิมคือ รูปทรงของผลจะมีขนาดใหญ่ เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ และที่ถือว่าเป็นสุดยอดได้แก่ รสชาติผลสุกจะหวานจัดกว่ามะม่วงอกร่องพันธุ์ดั้งเดิมเยอะ เจ้าของผู้ขยายพันธุ์จึงตั้งชื่อว่า มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ โดยมีแหล่งปลูกอยู่ย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. และได้ตอนกิ่งหรือทาบกิ่งออกจำหน่าย ได้รับความนิยมจากผู้ปลูกแพร่หลายในปัจจุบัน

มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ
เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นคู่ๆ หนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบมีขนาดใหญ่และยาวกว่าใบมะม่วงอกร่องทั่วไป สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ผล เป็นรูปกลมรี มีลักษณะเป็นรูปทรงของมะม่วงอกร่องชัดเจน แต่ผลจะใหญ่กว่า เนื้อเยอะ เมล็ดลีบ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด ผลสุกเนื้อในเหนียวไม่เละ รสหวานจัดประมาณ 24 องศาบริกซ์ ซึ่งหวานน้อยกว่ามะม่วงน้ำตาลเตาเล็กน้อย (มะม่วงน้ำตาลเตาประมาณ 27-28 องศาบริกซ์) ผลโตเต็มที่ของ มะม่วงอกร่องหยาดพิรุณ 4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เวลาติดผลเป็นพวง 5-6 ผล ต่อพวง และติดผลดกมาก มีผลเพียงปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและทาบกิ่ง

มะม่วงอกร่อง พันธุ์นี้ เล่ากันว่า เป็นมะม่วงที่เกิดจากการเพาะด้วยเมล็ด แต่ไม่ทราบว่าเป็นเมล็ดของมะม่วงพันธุ์อะไร โดยพระรูปหนึ่งไม่ทราบชื่อและวัดอะไร พอแตกเป็นต้นได้ประมาณศอกกว่าๆ พระรูปที่ว่าก็นำเอาไปมอบให้ญาติโยมและคนสนิทแยกย้ายกันนำไปปลูก จนต้นใหญ่โตมีดอกและติดผลรูปทรงแปลกๆ มีขนาดใหญ่คล้ายผลมะม่วงหนังกลางวัน แต่เนื้อสุกมีรสชาติหวานหอมเป็นมะม่วงอกร่อง เมื่อ เก็บผลออกจำหน่ายได้รับความนิยมจากผู้รับประทานอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านนิยมเรียกอีกชื่อว่า อกร่องใหญ่ ปัจจุบันพบว่ามีผู้นำกิ่งตอนออกมาวางขาย จึงรีบแนะนำอีกตามระเบียบ

มะม่วงอกร่องทองอุไร หรือ อกร่องใหญ่ อยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE เป็น ไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเยอะ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบกิ่งก้าน เป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบจะยาวและแคบคล้ายใบมะม่วงอกร่องทั่วไป สีเขียวสด เวลาใบดกให้ร่มเงาดีมาก

oklongtons

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อตามปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอก เป็นสีเหลืองนวล หรือขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ช่วง ติดดอกจะมีน้ำหวานเหนียวๆจากดอกหยดหรือร่วงลงสู่โคนต้น คนคิดว่าเป็นยางมะม่วง ซึ่งในระหว่างนี้ใครนำรถยนต์ หรือของมีค่าไปจอดหรือวางไว้ จะถูกน้ำหวานเหนียวๆ ดังกล่าวหยดลงถูกทำให้ เสียหายได้

ผล รูปทรงกลมยาวคล้ายผลมะม่วงหนังกลางวัน ตามที่กล่าวข้างต้น เมล็ดลีบ เนื้อเยอะ ผลดิบรสเปรี้ยว เมื่อผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในเป็นสีเหลืองปนขาวเหมือน กับเนื้อมะม่วงอกร่อง แต่มีเสี้ยนน้อยกว่ามะม่วงอกร่อง รสชาติหวานหอมแบบเดียวกับมะม่วงอกร่องทุกอย่าง ซึ่งความหวานวัดได้ 18 องศาบริกซ์ ผลเมื่อโตเต็มที่เฉลี่ย 3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม

oklongbom oklongsoog

ที่สำคัญ มะม่วงอกร่องทองอุไร หรือ อกร่องใหญ่ คือผลสุกเมื่อใช้มีดปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นใส่จานรับประทานไม่หมด ส่วนที่เหลือเก็บไว้รับประทานได้ โดยเนื้อบริเวณที่ใช้มีดหั่นจะไม่เป็นสีสนิม สีน้ำตาลแดง เหมือนกับมะม่วงพันธุ์อื่น ติดผลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

มะม่วงอกร่องเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกับมะม่วงทั่วไปคือ MANGIFE-R AINDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACAR- DIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายกิ่ง เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนาแข็ง ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวสด เวลาใบดกจะให้ร่มเงาดีมาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม ผล เป็นรูปทรงกลมรีและยาว ขนาดของผลไม่ ใหญ่โตนัก ลักษณะผลมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเมื่อพบเห็นจะรู้โดยธรรมชาติทันทีว่าเป็นผล มะม่วงอกร่องเขียว ผลดิบรสชาติเปรี้ยวจัดและฉ่ำน้ำมาก ส่วนใหญ่นิยมรับประทานผลสุก เพราะเนื้อหวานหอมอร่อยมาก จะมีข้อเสียเพียงนิดเดียวคือมีเสี้ยนเยอะ มะม่วงอกร่องเขียว จะติดผลปีละครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และทาบกิ่ง

okrongkeaw

การปลูกมะม่วง

  • พื้นที่ดอน ไถดะและไถพรวน 1 – 2 ครั้ง แล้วปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ
  • พื้นที่ลุ่ม ควรยกร่องให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุด 0.5 – 1.0 เมตร
    ปลูกมะม่วงบนสันร่อง ระยะระหว่างสันร่อง 6 – 8 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.0 – 1.5 เมตร การวางแผนก่อนปลูกหรือทําสวนมะม่วง ควรมีการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินเช่น สภาพดินที่ระบายน้ำไม่ดี มีปริมาณอินทรีย์วัตถุที่ต่ำเกินไป และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่เหมาะสม ฯลฯ

หากสามารถปฎิบัติการแก้ไขในขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ได้จะสามารถทําได้สะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุนลงได้อย่างมาก ทั้งนี้ แนะนําให้ทําการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน ก่อนการปรับปรุง เพื่อแก้ไขปัญหาดินได้ถูกต้อง

oklongkla oklongklas

ระยะปลูก

  • ระยะปลูกทั่วไปคือ ระยะ 6 – 8 เมตร X 6 – 8 เมตร
  • ระบบการปลูกชิด เช่น ปลูกระยะ 4 x 4 เมตร ได้จํานวนต้นและผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มาก ขณะที่การลงทุนเพิ่มมากขึ้น มีการควบคุมทรงพุ่มและการจัดการมากยิ่งขึ้นกว่าระยะปลูกปกติ
  • ขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร กรณีพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และใช้วัสดุปรับปรุงเพิ่มมากขึ้น

oklongsuan

ขั้นตอนการปลูก

  • วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้กับหลุมขนาดปกติ ประกอบด้วย หินฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม,ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้ากับดิน นํามะม่วงออกจากถุง แล้วปลูกมะม่วงกลางหลุม ปักหลักยึดต้นกันการโยกคลอน แล้วใช้มีดกรีดเอาพลาสติกบริเวณรอยต่อระหว่างยอดพันธุ์กับต้นตอออก
  • ในแหล่งปลูกที่มีลมแรง ควรปลูกไม้บังลมเป็นแถว หรือเป็นแนว ขวางทิศทางลมล่วงหน้าหรือพร้อมๆ กับการปลูกมะม่วง เช่น กล้วย สะเดา หรือไผ่ เป็นต้น ต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด มะม่วงที่ปลูกจะมีการเจริญเติบโตและตั้งตัวได้ก่อนถึง ฤดูแล้ง แต่ถ้าหากมีระบบการให้น้ำที่ดี ก็สามารถปลูกมะม่วงได้ทุกฤดูกาล
  • กําจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี
  • ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก
  • ป้องกันกําจัดศัตรูพืชเพื่อให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงและมีใบสมบูรณ์เพื่อการเจริญเติบโตต่อไป

ที่มา
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สํานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น