มะยงชิด มะปรางหวาน

7 กันยายน 2557 ไม้ผล 0

มะยงชิด กับมะปรางหวาน คือไม้ผลชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างในเรื่องสายพันธุ์ ชาวนครนายก เรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า มะยงชิด จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นแหล่งปลูกมะปรางหวาน-มะยงชิดที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ

ชื่อไทย : มะยงชิด
ชื่ออังกฤษ : Plum mango, Marian mangoo

มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆ

mayongshidpa mayongshidpah

มะปรางแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ

  • ลำยงชิด รสชาติออกหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ
  • มะปรางหวาน
  • มะปราง กาวาง สายพันธุ์นี้เป็นมะปรางขนาดผลเล็กที่มีรสชาติเปรี้ยวมาก ไม่นิยมรับประทาน (แม้แต่กายังวาง)

มะปรางหวาน-มะยงชิด เป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่งที่จัดเป็นผลไม้ยอดนิยมเป็นที่ต้องการสูงทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ แถมมีราคาจำหน่ายค่อนข้างแพงและมีข้อจำกัดที่เป็นผลไม้ที่ออกตามฤดูกาล

มะยงชิดเป็นผลไม้ที่มีรสชาติและคุณลักษณะใกล้เคียงกับมะม่วง แต่มีผลขนาดกะทัดรัดสะดวกต่อการรับประทานสามารถรับประทานได้ทันที ไม่ต้องผ่านการปอกหรือหั่นดังเช่น ผลไม้ชนิดอื่น นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย โดยคนไทยนิยมให้มะยงชิดเป็นของกำนัลในโอกาสต่าง ๆ

มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี

mayongshidton mayongshiddok mayongshidpols mayongshidpol mayongshidban

  • ใบ คล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง
  • ดอก มีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรงพุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม
  • ผลมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เมล็ดมะปรางผลหนึ่งจะมี1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้1 ต้น

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
มะยงชิดมีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังมีโปรตีน เหล็ก ไนอะซีน วิตามินบี และวิตามินอี

การปลูกมะยงชิด
พื้นที่ปลูกนับเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของผลผลิต ให้ออกมาต่างกัน เช่น มะยงชิดที่ปลูกในพื้นที่ดินนาหรือพื้นที่ลุ่มน้ำผลจะใหญ่ผิวมีสีเหลือง แต่เนื้อจะนิ่มออกเละ รสชาติไม่เข้มข้นเพราะดินนาเป็นดินเหนียว เป็นดินที่เก็บความชื้นไว้นาน จึงทำให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติไม่เข้มข้น ส่วนดินลูกรังนั้นจะได้เปรียบเรื่องรสชาติ รสชาติจะเข้มข้นและผิวผลออกสีเหลืองส้มเข้มกว่า

mayongshidking

mayongshidkla

การปลูกและการดูแลรักษามะยงชิด
การปลูกจะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดระยะปลูกให้เหมาะสม ที่แนะนำคือ 8*8 เมตร โดยในช่วงแรกอาจปลูกแซมพืชอื่นไปก่อน กว่าต้นมะยงชิดจะให้ผลผลิตเต็มที่ก็เมื่อมีอายุประมาณ 7-8 ปี และผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุของต้น ซึ่งโดยปกติแล้วชาวสวนจะมีเคล็ดลับและวิธีการดูแลต้นมะยงชิดให้ออกดอกติดผล ต่างกันไป แต่ที่สวนสมหมายจะมีการแต่งกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ตัดแต่งกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เบียดชิดกันและกิ่งที่อยู่ในร่มเงา ตัดแต่งเสร็จใส่ขี้วัวเก่าต้นละ 2-3 กระสอบปุ๋ย โดยใส่ในช่วงเดือนกรกรกฎาคม เดือนกันยายน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับต้นก่อนการออกดอก

** เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมและมีอากาศหนาวเย็นติดต่อกัน 7-10 วัน ยอดของมะยงชิดจะพัฒนาเป็นตาดอกและจากระยะดอกจนถึงเก็บผลผลิตจะใช้ระยะเวลา เพียง 85-90 วัน ในแต่ละปีมะยงชิดจะออกดอก 2- 3 รุ่น รุ่นแรก จะออกดอกเดือนพฤศจิกายน เละไปเก็บผลผลิตประมาณปลายเดือนมกราคม รุ่นที่ 2 จะออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ไปเก็บผลผลิตเอาช่วงปลายเดือนกุมภาพันธุ์ แต้ถ้าปีไหนอากาศเย็นนานจะมีรุ่นที่สามคือดอกจะออกต้นเดือนมกราคม และไปเก็บผลผลิตเดือนมีนาคม

mayongshidtons

หลังจากเริ่มแทงช่อดอกจะต้องดูแลเป็นพิเศษ ทางดินควรมีการให้น้ำทุก 5- 7 วัน (ขึ้นอยู่กับความชื้นในสวน การให้น้ำมากไปจะทำให้เนื้อผลมะยงชิดเละ) จนกว่าผลอ่อนจะมีขนาดเท่ากับหัวแม่มือ จึงเริ่มงดการให้น้ำ ใน เรื่องของสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ ในช่วงที่กำลังแทงช่อดอกหรือแตกใบอ่อน เนื่องจากในระยะดังกล่าวจะพบว่ามีศัตรูที่สำคัญคือเพลี้ยไฟและโรคที่สำคัญ คือโรคแอนแทรคโนส ซึ่งที่สวนจะใช้สารเคมีในช่วงนี้มาก เพราะต้องการ ควบคุมคุณภาพของผลผลิตให้ได้และต้องเลือกใช้สารเคมีที่ปลอดภัยตา,มาตรฐาน GAP สารเคมีที่แนะนำให้ฉีดพ่นป้องกันเพลี้ยไฟคือ สารอะบาเม็กติน เช่น แจคเก็ต โดยฉีดพ่น 2 ครั้ง คือ ระยะก่อนดอกยานและระยะหลังดอกโรยในช่วงที่ดอกบาน จะไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนโรคแอนแทรคโนส จะใช้สารเคมีกลุ่มโปรคลอราช ฉีดพ่นในช่วงก่อนดอกบาน ส่วนหลังจากดอกโรยจะใช้สารแมนโคเซป เช่น เพนโคเซป และ โปรคลอราชสลับกัน โยจะฉีดพ่นจนกว่าผลจะมีขนาดเท่าหัวแม่มือหรือยู่ในระยะสลัดผลจึงหยุดฉีด

การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะยงชิดพันธุ์ดี : จะต่างกันไปแล้วแต่ความต้องการของตลาดถ้าเป็นตลาดในประเทศจะเก็บที่ความแก่ เกือบ 100% คือ เก็บไปแล้วรับประทานได้เลย โดยสังเกตจากผิวเปลือก จะต้องออกเหลืองส้มเกือบทั้งผล รสชาติจะหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าเก็บส่งตลาดต่างประเทศจะต้องเก็บเกี่ยวที่ความแก่ประมาณ 90% คือ ผิวจะออกสีจำปา แต่ยังไม่ทันแดง เพราะการส่งตลาดต่างประเทศใช้ระยะเวลานานต้องผ่านหลายขั้นตอน ตัวอย่างของประเทศในเขตยุโรป ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่านกระบวนการต่างๆ ประมาณ 7 วัน ถ้าเก็บที่ความแก่เต็มที่ เมื่อถึงปลายทางเนื้อจะเละวางขายได้ไม่นาน

mayongshidpon mayongshidchor

คุณภาพของผลผลิต คือ หัวใจในการผลิตมะยงชิดพันธุ์ดี : ที่สวนสมหมายจะเน้นทุกขั้นตอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการเก็บผลผลิต จะใช้กรรไกรตัดผลหรือใช้มือเก็บเท่านั้น ผู้ที่เก็บจะต้องมีความชำนาญและประณีต ต้องดูลักษณะผลว่าเป็นผลแก่หรือผลอ่อน ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้าเก็บแรงผลจะช้ำก่อนถึงมือผู้บริโภคผลจะเละ เรื่องการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่หลายสวยใช้ตะกร้อสำหรับสอยมะม่วงมาเก็บผล มะยงชิด จะทำให้ได้ผลที่ช้ำสีผิวไม่สวย เวลาขายจะขายไม่ได้ราคา เพราะผลมีตำหนิ

แหล่งความรู้
คลังความรู้ทางการเกษตร
สวนสมหมาย จ.พิจิตร

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น