ผักพื้นบ้านนำไปประกอบอาหารและใช้เป็นยารักษาโรคราก แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้งแก้ประดง ดับพิษเสมหะ เปลือกแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ใบ แก้ไข้ บำรุงประสาท ดับพิษไข้ ดอก แก้โรคในตา ชำระล้างในตา ผล กัดเสมหะ แก้ไอบำรุงโลหิต และระบายท้อง
คติความเชื่อ
มะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม
ชื่อพื้นเมือง : ยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
การขยายพันธุ์ :
การปลูก
มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น ใบ ดอก ผล
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
ขนาดและวิธีใช้
สารเคมี
ใบมะยม ต้านเบาหวาน
ต้มดื่มลดน้ำตาล บำรุงตับ
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานน้ำตาลในเลือดสูง วันนี้มีสูตรใบมะยมต้มใบเตยลดน้ำตาลในเลือดมาฝากกันซึ่งมีสรรพคุณทั้งต้านเบาหวานและบำรุงตับอ่อน
วิธีทำ ใช้ใบมะยมสด และรากเตยสดหรือแห้งก็ได้ ต้มรวมกัน แล้วใช้น้ำมาดื่มกิน ถ้าไม่มีรากเตย ก็ใช้ใบมะยมอย่างเดียว (ใส่มะตูมแห้งแบบเป็นแผ่นเพิ่มได้) เมื่อกินใบมะยมระยะแรก จะกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตน้ำตาลมากกว่าเดิมแต่ไม่เพลียไม่เหนื่อย ต่อไปเมื่อตับอ่อนแข็งแรงแล้ว ตับอ่อนจะทำงานของมันเองได้เต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินจากภายนอก แล้วตับอ่อนจะคุมน้ำตาลด้วยตัวของมันเองและใบมะยมจะกระตุ้นน้ำตาลให้ขึ้นไปเลี้ยงสมอง ถ้าต้มใบมะยม กินน้ำควรกินให้หมดภายในวันนั้น ก็จะได้โอสถสาร ต้มใบมะยมรวมกับรากใบเตยจะได้รากเตยมาช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง
คนที่เป็นเบาหวานแต่อยากกินของหวาน ก็กินใบมะยมสด ๆ สัก 2-3 ก้าน (ก้านไม่ต้องกิน) ลงไปรองท้องก่อน เคี้ยวไม่ไหวก็ปั่นกินได้แล้วจึงกินของหวาน กากใยของใบมะยมจะช่วยดูดซับน้ำตาล ไม่ให้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด และเมื่อกินของหวานแล้วก็กินน้ำสำรองตาม เพื่ออมกากใยไว้รอการขับถ่าย (ใบมะยมใช้กินสด ๆ จิ้มน้ำพริกได้, แกงเรียงใส่ใบมะยมได้)
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลมะยมแก่รับประทานเป็นผักได้
การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานรู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา
ข้อแนะนำ :
มะยมเป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบร่วงมาก ในพื้นที่ที่ต้องการความสะอาดมากจึงไม่ควรปลูก
มะยมดอง
ส่วนผสม
วิธีทํา
มะยมเชื่อม
ส่วนผสม
วิธีทำ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน, สมุนไพร