มะละกอ ผลไม้คู่ครัวไทย

24 กรกฏาคม 2556 ไม้ผล 0

มะละกอ เดิมเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา แต่ที่เข้ามาออกลูกออกหลานขยายพันธุ์อยู่เต็มบ้านของเราได้เพราะชาวยุโรปได้นำมาแพร่พันธุ์จนกระทั่งได้กระจายไปทั่วทุกภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเราที่ขึ้นชื่อมาก แม้แต่ฝรั่งยังรู้จักกันอย่างกว้างขวางในนามใหม่ว่า ปาปา ย่า ป๊อก ป๊อก

มะละกอ (Papaya, Pawpaw, Tree Melon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L.
วงศ์ CARICAEAE
ชื่ออื่น : มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)

ลักษณะทั่วไป
มะละกอ เป็นพรรณไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี สูงได้ถึง 8 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรงมีเนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น

malagokagdam

  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 ซ.ม. ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม.
  • ดอก เป็นช่อ ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกสีเขียวอ่อน กลีบบางยาวประมาณ 2 ซ.ม. ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาวประมาณ 7 ซ.ม. ออกเป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวออกเหลือง ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้
  • ผล มีลักษณะกลมยาวรี รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม ผลอ่อนภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขาว แต่เมื่อสุกงอมได้ที่จะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนา นุ่ม รสฉ่ำหวาน มีเมล็ดคล้ายรูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระอ่อนค่อนข้างมาก ยาว 6-7 ซ.ม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซ.ม.


malagopols

คุณค่าทางอาหาร

  • มะละกอ สามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ ได้อย่างวิเศษมากมายหลายอย่าง
  • มะละกอดิบ ถ้าใช้ทำเป็นอาหารยอดนิยม คงหนีไม่พ้นส้มตำ
  • มะละกอดิบ หั่นเป็นแว่นๆ พอคำ นำไปแกงส้มใส่ปลาช่อนใส่กุ้ง
  • มะละกอสุก นำมาปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่น ผสมน้ำตาล และเกลือป่น ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และเหมาะสำหรับคลายร้อนได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างมากมาย
  • มะละกอมีเกลือแร่ และวิตามินมาก มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อย แคลเซียมในมะละกอช่วยป้องกันฟันผุ วิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน วิตามินเอช่วยในบำรุงสายตาและระบบประสาท และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมาก

malagopol

malagopa

ข้อควรระวัง :
สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

สรรพคุณ :

  • ผลสุก – เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ – เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก – ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • เป็นยาระบาย
    ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย
    ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
    ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน
    ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
  • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
  • ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • ใช้เป็นยาช่วยย่อย
    1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป็นผักจิ้ม
    2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papainเป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง

malagoplog

สรรพคุณในการรักษาอาการต่าง ๆ

  • อาการเท้าบวม
    เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
  • แก้เคล็ดขัดยอก
    ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
  • โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน
    ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
  • คันเพราะพิษของหอยคัน
    ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
  • เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง
    รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวด
  • กล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
  • ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล
    ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อ
  • มะละกอดิบต้มให้สุกจนเปื่อย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
  • แก้ผดผืนคัน
    ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อ
  • ทาแผลผื่นคันบ่อยๆ
  • กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปื่อย
    ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้

somtam

สารเคมี :
ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%

การปลูกมะละกอ

การเตรียมต้นกล้า
มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่เทคนิคที่ได้ผลดี ทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกัน ใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ มีขั้นตอน ดังนี้คือ

malagopar

  1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ย(ยักษ์เขียว)หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได้ แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น
  2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ
  3. เพาะเมล็ดมะละกอ ให้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด
  4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้ ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก
  5. เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอกและหลังจากนั้น ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก
  6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ

malagolek

การเลือกพื้นที่ปลูก
มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5×2.5 เมตร

สำหรับระบบร่องน้ำ

การเตรียมแปลงปลูก

  1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
  2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
  3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
  4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม

malagosuan

การให้ปุ๋ย
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ให้ใช้ปุ๋ยคอกโดยเฉพาะขี้วัว ขี้ควาย ห้ามใช้ขี้ไก่ฟาร์มเพราะมียาปฏิชีวนะตกค้างมาก(ขี้ไก่บ้านใช้ได้) หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพ(ไร่ละ 200-300 กก.) น้ำหมักชีวภาพ (ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน)โดยใช้ปุ๋ยคอกประมาณไร่ละ 1-2 ตัน การเร่งความหวานให้ใช้มูลค้างคาวต้นละ 1-2 กำมือเริ่มให้ในระยะออกดอก และให้เดือนละครั้ง การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางจะมีความสำคัญมากในการปลูกแบบอินทรีย์ โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้
ทางดิน

  1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม) ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้มะละกอเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า
  2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมะละกอติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดิน 1 กำมือ ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด

ทางใบ

  1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นในอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวทน แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้) และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย
  2. เมื่อมะละกอเริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น) ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่มะละกอเริ่มแทงช่อดอก อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน จนติดผล จะทำให้มะละกอติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี เมื่อติดผลแล้ว ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก
  3. เมื่อมะละกอติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล) ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2 จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลายรอบ

malagolag

การออกดอกติดผล
มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ

  1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ
  2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
  3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย

malagodok

เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น
จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา

การป้องกันศัตรูมะละกอ

  • เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถ้าเปนกับผลทำให้ผลกร้านเป็นสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
  • ไรแดง เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก ตัวดำลำตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อตัดวงจรของการระบาด
  • แมลงวันทอง แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก้ ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ

malagoton

แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ “เมทา-แม็ก”
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบว้ากำลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น

โรคใบด่างของมะละกอ(ใบจุดวงแหวน) อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ในมะละกอตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้นมะละกออ่อนแอ
การป้องกัน

  1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน
  2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น
  3. ถ้าพบ ว่าเป็นโรคต้องโค่นทิ้งและไม่นำมีดที่มีเชื้อไปตัดต้นดีเพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปได้และ ฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้

โรคราแป้ง อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุของโรค โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
การป้องกันกำจัด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ

โรคโคนเน่า อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้
สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
การป้องกันและกำจัด ถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน

malagosuan

โรคแอนแทรคโนส อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
สาเหตุของโรค เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำคัญและพบระบาดเสมออยู่ที่ผลสปอร์ของเชื้อราดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและต้นอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไป
การป้องกันและกำจัด

  1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ เปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมาก จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้ พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี
  2. เมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
  3. 3แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น