มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้า มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาคเหนือเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า มะเกีย มะเกือ หรือ ผีผา ทางใต้เรียกว่า เกลือ แถบเขมร-ตราดเรียก มักเกลือ
ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 4-7 เซ็นติเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อแห้งสีดำ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ประมาณ 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปกลมเกลี้ยง ผลดิบสีเขียว ผลสุดสีดำ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ที่ขั้วผล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
ชื่อสามัญ : Ebony tree
วงศ์ : Ebenaceae
ชื่ออื่น : ผีเผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มักเกลือ (เขมร-ตราด) เกลือ หมักเกลือ ผีผา มะเกีย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย
ส่วนที่ใช้ : ราก, ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้
ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
สารเคมี – สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย
วิธีการใช้
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ
ระวังอย่าให้เกินขนาด
ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง