มะแว้ง เป็นทั้งพืชผักที่ใช้เป็นอาหารและเป็นยา สมุนไพร ที่รู้จักกันมานานในด้านโภชนาการ เราใช้ผลสดรับประทาน เป็นผักซึ่งผลของมะแว้ง จะช่วยบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร สำหรับ ประโยชน์ทางยา ในตำรับยาแผนโบราณทั้งไทย และต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสรรพคุณของ มะแว้งไว้ในการใช้ เป็นยาแก้ไอขับเสมหะ และกระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2511 ระบุยา “ประสะมะแว้ง” ให้เป็นยาสามัญ ประจำบ้าน แผนโบราณ สำหรับใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
มะแว้งต้น และ มะแว้งเครือ เป็นพืชผักสมุนไพรคนละต้นกัน แต่อยู่ในวงศ์ Solanaceae เดียวกัน มะแว้งต้นนั้นยังแบ่งอกเป็น 2 ชนิด คือ มะแว้งต้นไร้หนาม (Solanum sanitwongsei Craib) และมะแว้ง ต้นมีหนาม (Solanum violaceum Ortega)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่น : มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลาย ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจำนวนมาก
สรรพคุณ :
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะแว้งต้น
เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ลดความดันโลหิต ต้านการชัก เสริมฤทธิ์ยานอนหลับ กดประสาทส่วนกลาง ลดน้ำตาลในเลือด ต้านแบคทีเรีย ต้านยีสต์ ลดการบีบตัวของลำไส้
การทดสอบความเป็นพิษ พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ 1:1 เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 900 มก./กก. ส่วนสารสกัดเมล็ดมีค่า 383 มก./กก.
สารเคมี :
สาร Solasodine จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ Solanine , Solanidine Beta-sitosterol และ Diogenin
คุณค่าทางด้านอาหาร :
ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอสูง สามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง
การขยายพันธุ์ : เมล็ดแก่จัด หยอดในหลุมลึกประมาณ 0.5-1 ซม. ประมาณ 1-2 สัปดาห์เมล็ดจะงอก
การปลูกและดูแลรักษา
มะแว้งขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตามปรกตินกจะเป็นตัวกระจายพันธุ์ โดยเฉพาะมะแว้งเครือจะพบขึ้นเองตาม ธรรมชาติแถว กรุงเพทฯ นนทบุรี และจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพฯ ส่วนต่างจังหวัดทั่วประเทศนกก็จะ เป็นตัวกระจายพันธุ์มะแว้งต้น ทั้งชนิดมีหนามและไม่มีหนาม ในลักษณะของการปลูกเพื่อขายหรือทำยาสมุนไพร ก็จะมีปลูกกันป็นธุรกิจบ้างสำหรับสวนครัวในบ้านนั้น น้อยบ้านนักที่จะนำมะแว้งมาปลูกเพือ่รับประทานเป็นผัก ประเภทผลรับประทานสด แต่ในชนบทอีสาน คนพื้นบ้านอีสานนิยมบริโภคผักพื้นบ้านที่มีรสขมเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่แปลกที่คนพื้นบ้านอีสานจะรับประทานมะแว้งผลสดเป็นผักสด มะแว้งต้นมีหนามจะใช้เวลางอกจากเมล็ดนาน 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่าเล็กน้อย ต้นมะแว้งจะออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 2-3 เดือน ผลมะแว้งต้นมีหนามสามารถเก็บเป็นผลสดได้ภายหลังจากดอกบานและผสมพันธุ์แล้วประมาณ 2-4 สัปดาห์ มะแว้งต้นชนิดมีหนาม ช่อดอกหนึ่งๆ จะติดผลปีละ 2 -8 ผล ต้นมะแว้งมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 1 ปีขึ้นไป
การหยอดเมล็ดมะแว้งต้นมีหนามเพื่อการขยายพันธุ์ ควรหยอดลึกประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร อุณหภูมิที่ ต้นมะแว้งเจริญเติบโตได้ดี คือ 25-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80 เปอร์เซ็นต์และมีร่มเงาประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เราจะย้ายกล้ามะแว้งจากกระบะเพาะลงถุงพลาสติกดำสำหรับปลูกเมื่อต้นมะแว้งมีใบจริง 2-3 ใบ และเมื่อต้นมะแว้งมีความสูง 15 – 20 เซนติเมตรในถุงปลูก จึงย้ายจากถุงปลูกลงแปลงปลูกกลางแจ้ง โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างแถวห่างกัน 1 เมตร
ถ้าจะปลูกเป็นสวนครัว ควรปลูกในกระถางมังกรที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17 นิ้ว ลึก 15นิ้ว ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับและเป็นพืชสมุนไพรในบ้าน ถ้าปลูกมะแว้งเครือก็ต้องทำซุ้มให้ต้น เลื้อยคลุมในลักษณะกึ่งร่มกึ่งแดดจึงจะดูสวยงาม และไม่มีอันตรายจากหนามของมัน เพราะให้ ขึ้นและเจริญเติบโตเป็นที่เป็นทาง ศัตรูของมะแว้งต้นมีหนามมีอยู่ตัวเดียว คือไส้เดือน ฝอยรากปม (Meloidogyne aenaria)
ป้ายคำ : สมุนไพร