มันขี้หนูเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีหัวใต้ดินที่เติบโตจากราก สามารถรับประทานและใช้ขยายพันธุ์ต่อไปได้ เป็นพืชที่ใช้รับประทานได้ ชาวภาคใต้นิยมรับประทานโดยต้มใส่เกลือนิดหน่อยพอออกรส หรือขูดเปลือกออกใช้เป็นผักใส่แกงส้ม แกงไตปลา หรือแกงกะทิก็ได้
ชื่อสามัญ มันขี้หนู,มันหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coleus parvifolius Benth.
ชื่ออื่น มันหนู (ใต้) อุปิกะลัง (นราธิวาส, มาเลเซีย)
ไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี มีหัวใต้ดินออกเป็นกระจุกสีน้ำตาล มีแป้งมาก ลำต้นสูง 1-2 ฟุต อวบน้ำ เป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ มีกลิ่นหอม มีขนเล็กๆ ดอกขนาดเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อแบบ panicle (The Wealth of India. A Dictionary of Indian Raw Materials and Industrial Products, 1948)
ลำต้นสูงประมาณ 1- 2 ฟุต ลำต้นอวบน้ำมีขนปกคลุม ลำต้นเป็นสีเหลี่ยมและทอดเลื้อย
ใบเดี่ยวรูปกลมแกมไข่ ขอบใบหยัก ปลายใบมน ออกตรงข้ามสลับตั้งฉากกันโดยออกจากหัว ใบแผ่บนผิวดิน ขนาดของใบ ยาวประมาณ 6.5 8.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5 7 เซนติเมตร ก้านใบยาว 4 5 เซนติเมตร
ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมม่วง ช่อดอกออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้นสูง ไม่ค่อยติดผล
หัวมันขี้หนูมีหัวขนาดเล็กที่พัฒนาจากรากเพื่อสะสมอาหารที่เกิดขึ้นบริเวณข้อของลำต้นขนาดหัวยาวประมาณ 3- 5 เซนติเมตร ทรงกระบอกหัวท้ายป้าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 3 เซนติเมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลเนื้อในมีสีขาวหรือม่วง หัวคือส่วนที่ใช้รับประทานได้ มีรสชาติมัน
การปลูกในปัจจุบันมีการปลูกมันขี้หนูเพื่อการค้า แต่มีปริมาณน้อยมาก โดยปลูกตามท้องไร่และสวนยางเล็กในภาคใต้มันขี้หนูเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขังและได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถ้ามีการพูนโคนก็จะให้หัวได้ดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตสามารถเก็บได้มากในช่วงฤดูฝน
หัวมันขี้หนูใช้ทำเป็นอาหารได้ทั้งอาหารคาวและหวาน หัวมันขี้หนูที่ขุดขึ้นมาจะมีสีดำ จะต้องใช้มีดขูดผิวเพื่อให้มีสีขาวน่ารับประทาน นิยมบริโภคกันมากในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคใต้ตอนล่าง (สงขลา สตูล นราธิวาส ปัตตานี ยะลา) และนครศรีธรรมราช โดยใช้ใส่ในแกงส้ม แกงกะทิ แกงไตปลา หรือต้มจิ้มเกลือก็ได้ ในอินโดนีเซียนิยมนำหัวแก่มาบดละเอียดปรุงอาหารแทนมันฝรั่ง
คุณค่าทางโภชนาการ
มันขี้หนูดิบ 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 78 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
ในปัจจุบันมีการปลูกมันขี้หนูเพื่อการค้า แต่มีปริมาณน้อยมาก โดยปลูกตามท้องไร่และสวนยางเล็กในภาคใต้ มันขี้หนูเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขังและได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถ้ามีการพูนโคนก็จะให้หัวได้ดี การเก็บเกี่ยวผลผลิตสามารถเก็บได้มากในช่วงฤดูฝน
แหล่งที่พบและวิธีการปลูก
มีทั่วไปในภาคใต้ที่จังหวัดยะลา ชาวบ้านจะปลูกในไร่หรือนอกบริเวณบ้านที่มีเนื้อที่กว้าง ๆ เวลาปลูกต้องพรวนดินให้ร่วนซุย ใช้จอบขุดหลุมตื้น ๆ ระยะห่างระหว่างหลุมและระหว่างแถวราว ๖๐ เซนติเมตร เอามันขี้หนู ๓ – ๔ หัวใส่หลุมกลบดินให้แน่น ภายใน ๗ วันมันขี้หนูจะงอก การใส่ปุ๋ยจะทำหลังจากปลูก ๓๐ วัน และใส่หลังจากปราบวัชพืช ปลูกประมาณ ๑๓๐ – ๑๕๐ วัน ก็ถอนเอาหัวมาเป็นอาหารได้
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน