มันมือเสือ ลักษณะเป็นหัวหยักๆ คล้ายอุ้งเท้าเสือจึงเรียกว่า มันมือเสือ ชาวบ้านบางคนเรียกชื่ อต่างออกไปบ้าง เช่น มันอ้อน มันมุ้ง มันจวก ฯลฯ แต่ชื่อมันมือเสือ เป็นที่รู้จักทั่วไปมากกว่าชื่ออื่นๆ มันมือเสือเนื้อเหนียวดี นิยมนำมาซอยทำแกงเลียง หรือจะใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่ แกงมัสมั่ นก็อร่อยดี
พืชหัวที่มีแป้งอันนำมากินเป็นอาหารได้คนไทยก็เรียกเป็น มัน ทั้งนั้น และแยกแยะด้วยพยางค์ที่สองามคุณลักษณะสำคัญของมันนั้น ๆ เช่น มันเลือด มันมือเสือ มันตะขาบ ฯลฯ ขึ้นชื่อว่ามันก็นำมากินเป็นอาหารอิ่มและหนักท้อง คนในเอเชียและแอฟริกาได้อาศัยขุดมันพื้นบ้านเหล่านี้ได้กินเป็นอาหารมาช้านาน
มันมือเสือมีทั้งชนิดสีเหลือง สีขาว และสีม่วง ชนิดสีเหลืองจะมีปริมาณเบตาแคโรทีนสูงมาก ร่างกายจำเป็นต้องใช้เบตาแคโรทีนในการสร้างวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อเซลล์แข็งแรง ต้านไวรัส ป้องกันมะเร็ง และช่วยร่างกายจัดการกับความเครรียดและมลพิษ วิตามินบี 1 ในพืชนี้มีประโยชน์ในการเสริมระดับพลังงาน และช่วยบำบัดอาการซึมเศร้าและความเครียดซึ่งล้วนบั่นทอนประสิทธิภาพของภูมิ คุ้มกันทั้งสิ้น
ชื่อสามัญ Spiny Yam
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea esculenta (Lour.) Burk
ชื่ออื่นๆ มันมือเสือ,มันมุ้ง(ภาคกลาง),มันอีมุ้ง(ภาคกลาง,ชลบุรี),มันกะซาก(สระบุรี), มันจ้วก,มันหนาม(ภาคเหนือ)
มันมือเสือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dioscorea esculenta) เป็นพืชในวงศ์กลอย และเป็นพืชที่มีหัวเล็กที่สุดในสกุลเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงมันฝรั่ง เป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้มีขนและหนามปกคลุม รากของพันธุ์ป่าจะแข็งเป็นหนาม พันธุ์ปลูกมักไม่มีหนาม เปลือกหัวสีน้ำตาลหรือแกมเทา เนื้อสีขาว เลื้อยพันไปทางซ้าย มีหนามมากที่โคน ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้เป็นช่อเดี่ยว ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจะหรือช่อเชิงลด โค้งลงด้านล่างผลเป็นแคบซูลโค้งงอ มันมือเสือแบ่งเป็น 2 พันธุ์คือ variety spinosa มีหนามในส่วนราก variety fasiculata มีหนามในส่วนรากน้อย
ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทยและอินโดจีน กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า ไปจนถึงนิวกินี ในเวียดนามเรียกว่าkhoai t หรือ c t ซึ่งนำแป้งจากมันชนิดนี้ไปทำขนมได้มีหัวขนาดเล็กกว่ามันเสา เนื้อหัวเหนียว นำไปทำแกงเลียง ใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่หรือแกงมัสมั่นได้ หัวนำมาต้มหรือเผารับประทาน สกัดแป้งจากหัว หัวขูดเป็นฝอยใช้พอก ลดอาการบวม มีรสหวานเพราะมีน้ำตาลมาก
มันมือเสือเป็นพืชในวงศ์กลอย เป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ มีขนและหนามปกคลุม เปลือกหัวสีน้ำตาลหรือแกมเทา เนื้อสีขาว เลื้อยพันไปทางซ้าย มีหนามมากที่โคน ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทยและอินโดจีน กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า ไปจนถึงนิวกินี ในเวียดนามนำแป้งจากมันชนิดนี้ไปทำขนม เนื้อหัวเหนียว ในไทยนิยมนำไปทำแกงเลียง ใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่หรือแกงมัสมั่น หัวนำมาต้มหรือเผารับประทานได้ ในชนิดสีเหลืองจะมีปริมาณเบตาแคโรทีนสูง ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเซลล์แข็งแรงต้านไวรัสป้องกันมะเร็ง และช่วยร่างกายจัดการกับความเครียดและมลพิษในร่างกายได้ดีและช่วยบำบัดอาการซึมเศร้า
มันมือเสือ 100 กรัม ให้พลังงาน 102 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
การปลูก/การขยายพันธุ์มันพื้นบ้าน
การปลูกมันพื้นบ้านแบบแซมในสวนผลไม้หรือไม้ใหญ่
ฤดูปลูก การปลูกมันพื้นบ้านแซมในสวนไม้ผลนั้น ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือ เดือนมิถุนายน กรกฎาคม ที่มีฝนตกชุก ถ้าต้นมันเจริญเติบโตดีแล้ว เกิดปัญหาปริมาณ น้ำฝนน้อย ต้องมีการให้น้ำช่วยบ้าง ต้นจึงจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี หรือเลือกปลูก ใกล้แหล่งน้ำ
การเตรียมดิน เหมือนการเตรียมดินปลูกผัก ต้องมี การกลับดินและย่อยดินให้ละเอียด แล้วตากดินไว้ประมาณ1 เดือน จากนั้นทำการยกร่องสูง30 40 ซม. ห่างกันแต่ละร่อง 1 เมตร
วิธีการปลูก
การปลูกโดยหัวเล็กๆ ต้องชำให้แตกยอดยาวประมาณ10 15 ซม. จึงจะย้ายลงแปลงปลูก โดยขุดหลุมลึก 10 15 ซม. ปลูกหลุมละ1 2 หัว แล้วกลบดิน พอมิดหัว ไม่กลบดินจนเต็มหลุม ใช้ไม้ไผ่ยาว2 เมตรเศษๆ ปักให้แน่นเพื่อให้ต้นมันเลื้อยพันได้ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วง ต้องรดน้ำจนกว่าต้นจะสามารถตั้งตัวได้
การกำจัดวัชพืช หลังปลูกต้องมี การกําจัดวัชพืชประมาณ12 ครั้ง และพรวนดิ นระหว่างแถว ในระยะต้นมันเจริญเติบโต ต้องกลบโคนต้นมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งดินเต็มหลุม
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก ซึ่งพื้นดินที่ ปลูกมันส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ อุดมสมบูรณ์ อยู่ แล้ว การใส่ ปุ๋ยคอก เพิ่มเติมในระหว่างที่ต้นมันกำลังเจริญเติบโต จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
การเก็บและรักษาหัวมัน มันมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 7 เดือนขึ้นไป เมื่ อใบเริ่มเหลืองเหี่ยว แสดงว่ามั นเริ่มแก่ สามารถเก็บหั วได้แล้ว การเก็บหั วใช้วิธี ถอนขึ้นทั้งต้นหรือใช้เสียมขุด ควรขุดในช่วงที่ไม่มี ฝนขึ้นมา แล้วตัดใบและรากทิ้งเหลือแต่หัว ล้างให้สะอาดก็สามารถส่งขายได้
ที่มา
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน