ยาสีฟันข่อยรสเปเปอร์มินท์

ฟันเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อเรามากอย่างหนึ่ง หากฟันของเราเสีย ผุ หรือเป็นโรค นอกจากจะทำาให้เรามีบุคลิกที่ไม่ดี แล้วยังทำาให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ การแปรงฟันอย่างถูกวิธีและเป็นประจำ จะช่วยรักษาฟันและเหงือกให้สะอาดและแข็งแรง แปรงสีฟันและยาสีฟันจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำาความสะอาดฟัน ยาสีฟันที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มีส่วนประกอบของสารเคมีสังเคราะห์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสารทำความสะอาด สารกันบูด สารแต่งสี รสและกลิ่น รวมทั้งยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ตามความเป็นจริงมีสารธรรมชาติที่เราสามารถนำมาทำความสะอาดฟันได้อย่างสะอาดหมดจด อีกทั้งทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง นอกจากนั้นสมุนไพรหลายชนิดก็มีคุณสมบัติช่วยรักษาและป้องกันโรคฟันและโรคเหงือกได้เป็นอย่างดี รวมทั้งทำให้ปากสะอาด ลมหายใจสดชื่น

ส่วนประกอบพื้นฐานของยาสีฟันแนวธรรมชาติ (Natural Toothpaste)
ยาสีฟันแนวธรรมชาติ (Natural toothpastes) โดยทั่วไปจะไม่ใช้สารขัดถูที่มีส่วนประกอบของอลูมินัม แต่จะใช้สารประกอบของแคลเซียม เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต รวมทั้งใช้เกลือแกง(Sodium Chloride) ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต(Sodium bicarbonate) ปริมาณการใช้สารขัดถูในการผลิตยาสีฟันนั้น มีการใช้ตั้งแต่ 2-50 % โดยน้ำหนัก ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.45-2516) กำาหนดให้สารขัดถูในผลิตภัณฑ์ยาสีฟันที่ผลิตออกจำหน่าย ต้องมีปริมาณสารขัดถูไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก

สารทำความสะอาด (Foaming Agents)
ยาสีฟันแนวธรรมชาติ จะใช้สบู่ธรรมชาติ (สบู่ที่ผลิตจากน้ำมันพืชและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์) เป็นสารทำความสะอาด บดเป็นผงใช้เป็นส่วนผสมในยาสีฟัน ใช้ในปริมาณ 1-2 % โดยน้ำหนัก

สารให้ความชุ่มชื้น (Humectant)
สารให้ความชุ่มชื้นนี้ใช้ในกรณีที่ผลิตยาสีฟันเหลวบรรจุหลอด ถ้าผลิตยาสีฟันผง ก็ไม่ต้องใช้สารให้ความชุ่มชื้นนี้ทำหน้าที่ดูดความชื้นเอาไว้ เพื่อไม่ให้ยาสีฟันแข็งตัว ยังคงความเหลวอยู่ ยาสีฟันแนวธรรมชาติจึงใช้กลีเซอรีนหรือซอร์บิทอลที่ได้จากพืช ในอัตราความเข้มข้น 15-30% ปริมาณที่ใช้ประมาณ 10-30% โดยน้ำหนัก

สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacteria agents)
สารนี้ไม่ได้เป็นสารหลักในยาสีฟัน แต่เป็นสารที่ใส่เพิ่มเข้าไปในยาสีฟันเพื่อช่วยลดจำานวนแบคทีเรียในช่องปาก ยาสีฟันแนวธรรมชาติที่ใช้ผงฟู หรือโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นสารขัดถู ก็จะได้สรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วย นอกจากนั้นสมุนไพรหลายชนิดทั้งในรูปของสมุนไพรแห้งบดเป็นผง และน้ำมันสกัดสมุนไพรก็มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และรักษาโรคในช่องปากได้ดี เช่น กานพลูอบเชย เทียนข้าวเปลือก เป็นต้น

สารปรุงแต่งกลิ่นและรส (Flavors)
สารปรุงแต่งกลิ่นและรสนี้เติมเข้าไป ก็เพื่อทำให้ยาสีฟันน่าใช้ยิ่งขึ้น ใช้แล้วรู้สึกปากสะอาดสดชื่นมากขึ้น รสที่นิยมใช้กันทั่วไปก็คือ เมนทอล เปเปอร์มินท์ สเปียร์มินท์ เป็นต้น ยาสีฟันแนวธรรมชาติจะใช้สารสกัดและน้ำมันสกัดจากสมุนไพร ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่สามารถนำมาเติมลงในยาสีฟัน ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มกลิ่นและรสแล้ว สมุนไพรหลายตัวยังเพิ่มคุณสมบัติรักษาโรคในช่องปากได้อีกด้วย เช่น การบูร กานพลู ขิง อบเชย เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตะบุศย์ ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว สะระแหน่ แมงลัก ลูกจันทร์เทศ ลูกกระวาน โป๊ยกั๊ก เป็นต้น

yaseefankoys

สูตรยาสีฟันจากธรรมชาติ ดังนี้

ยาสีฟันข่อยรสเปเปอร์มินท์
ส่วนผสม

  1. ผงแคลเซียมคาร์บอเนต 3 ช้อน
  2. ผงฟู 2 ช้อน
  3. เกลือป่น 1 ช้อน
  4. น้ำมันปเปอร์มินท์ 10 หยด
  5. ผงข่อย 1 ช้อน

วิธีทำ

  1. ผสมผงแคลเซียมคาร์บอเนต ผงฟู และเกลือแกง คนให้เข้ากัน
  2. ผสมผงข่อยเข้ากับส่วนผสมอื่นๆ
  3. หยดน้ำมันเปเปอร์มินท์เข้ากับส่วนผสม คนให้เข้ากัน
  4. บรรจุใส่กระปุกมีฝาปิด เก็บไว้ใช้แปรงฟัน

ยาสีฟันสมุนไพร
ส่วนผสม

  • การบูร 1 กิโลกรัม
  • ดินสอพอง 2 กิโลกรัม
  • สารส้ม 1 กิโลกรัม
  • กานพลู 2 ขีด
  • เกลือ 5 กิโลกรัม
  • เปลือกข่อย 2 ขีด

วิธีทำ

  • นำเกลือมาสะตุเพื่อฆ่าเชื้อโรคและไม่ให้ชื้น และลดความเค็มลง (ประมาณ 20 นาที หรือจนกว่าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง)
  • นำสารส้มมาสะตุ เพื่อลดความชื้นและสะอาด (ตำให้ละเอียดและนำมาคั่วไฟอ่อน)
  • นำเปลือกข่อยมาสะตุแล้วบดระเอียด (คั่วจนกว่าจะกรอบ)
  • นำกานพลูมาสะตุแล้วบดละเอียด (คั่วจนกว่าจะกรอบ)
  • นำการบูรมาสะตุแล้วบดให้ละเอียด (ใช้ไฟอ่อนที่สุดเพราะการบูรติดไฟง่าย)
  • นำดินสอพองมาสะตุเพื่อฆ่าเชื้อโรค และไม่ให้ชื้นและสะอาด (ประมาณ 20 นาที หรือมีสีเปลี่ยนเล็กน้อย)
  • นำส่วนผสมทั้งหมด มาคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกรองด้วยกระซอนอีกครั้งก่อนบรรจุภาชนะ

*** สะตุ หมายถึง คั่ว

สรรพคุณ บำรุงและรักษาเหงืออักเสบ รักษาอาการเสียวฟัน ระมานาค กำจัดกลิ่นปาก และรักษารากฟันไม่ให้โยก

วิธีใช้
แปรงฟันวันละ 2-3 ครั้ง เมื่อแปลงควรอมยาสีฟัน 3-5 นาที เพื่อให้รักษารากฟันและเหงือกไม่ให้อักเสบ
ข้อควรระวัง
ไม่แนะนำให้เด็กที่มีฟันน้ำนมอยู่ใช้ เพราะจะทำให้ฟันติดแน่น

ที่มา : นายคมสัน หุตะแพทย์ มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา
หนังสือสุขภาพสร้างได้ 35 หลักสูตรดูแลสุขภาพตนเอง
งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

แสดงความคิดเห็น