ยาหม่อง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้กันทั่วไป เป็นยาทาภายนอกที่ใช้เวลาถูกแมลงกัดต่อย
หรือบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หรือมีอาการฟกช้าดาเขียว รวมทั้งแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เคล็ดขัดยอก ปวดกล้ามเนื้อได้ดี หรือข้อกระดูกต่างๆ ลดอาการฟกชำบวม เส้นตึง เส้นยึด ซึ่งมี ส่วนประกอบที่มีสรรพคุณทางยา ดังต่อไปนี้
ทดลองต่อในคน พบว่ายาแคปซูลไพลขนาด 260 มิลลิกรัม ทาให้ผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่กาลังหอบอยู่มีอาการดีขึ้น การรักษาในระยะยาว ใช้ยาแคปซูลไพล ขนาด 130 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นจะทาให้ผู้ป่วยมีอาการหอบน้อยลง และใช้ยาพ่นคอน้อยลง โดยไม่พบอาการเป็นพิษ หรืออาการแทรกซ้อน การศึกษาในผู้ใหญ่พบว่า การให้กินแคปซูลไพล 250-500 มิลลิกรัม เช้าและเย็น
ช่วยให้ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 มีอาการดีขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้า โดยใช้เหง้า ประมาณ 1 เหง้า ตาแล้วคั้นเอาน้ำทา ถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตาให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้าให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้าเช้าเย็น จนกว่าจะหาย หรือทาเป็นน้ามันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ามันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ใส่ในภาชนะปิดฝาให้มิดชิดรอจนเย็นเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลใช้ทาถูนวด 2 ครั้งเช้า เย็น หรือเวลาปวด
อุปกรณ์
สารเคมี
วิธีทำ
ยาหม่องสมุนไพรไพลสดมีสรรพคุณแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม และเป็นที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
ประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้
1. สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง
2. สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว
3. สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% w/wของตำรับ
4. สารแต่งกลิ่นในยาหม่อง จะใช้สารที่ช่วยแต่งกลิ่นที่มีกลิ่นคล้ายเมนทอล ได้แก่ น้ำมันสะระแหน่ เป็นต้น
5. ตัวยาสำคัญ คือ ไพล ใช้ทาถูนวด ถ้าต้องการสมุนไพรชนิดอื่น ก็อาจใช้สมุนไพรเหล่านั้น แช่ในแอลกอฮอล์ 95% แล้วระเหยให้แห้ง หรือสูตรตำรับหมอพื้นบ้าน อาจใช้สมุนไพรหลายชนิด เจียวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมะพร้าว ที่มีส่วนของสมุนไพรนั้น มาทำเป็นยาหม่อง ใช้แทนน้ำมันไพลได้
สูตรตำรับยาหม่องไพล สูตร 2
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
วิธีทำยาหม่องไพล
สรรพคุณและวิธีใช้
ใช้ทาถูวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น แก้เคล็ด ขัดยอก และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
สูตรตำรับยาหม่องไพล สูตร 3
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
ขั้นตอนการผลิต
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
ไพลที่ใช้เป็นไพลสดที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป และการสกัดไพลต้องสกัดด้วยความเย็น
ป้ายคำ : สุขภาพพึ่งตน