ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น จึงใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการอันเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ใบย่านางเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกัน คุ้มครองรักษา และฟื้นฟูลเซลล์ร่างกายของคนในยุคนี้ เพราะคนส่วนใหญ่จะมีภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน อันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่มีความเครียดสูง มักถูกบีบคั้น กดดันจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ให้ต้องแก่งแย่งแข่งขัน เร่งรีบ เร่งร้อน สิ่งแวดล้อมก็มีมลพิษมากขึ้น ต้นไม้ที่ให้ออกซิเจน ร่มเย็น ให้ความชุ่มชื่นก็ถูกทำลายจนเหลือน้อย โลกจึงร้อนขึ้น อาหารและเครื่องดื่มปนเปื้อนสารพิษสารเคมีมากขึ้น ตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นผลิตทางการเกษตร ที่ใช้สารเคมีกันอย่างมากมายจนถึงการปรุงเป็นอาหาร ผู้คนอยู่กับเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยหลัก ที่ทำให้คนเจ็บป่วยด้วยภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อสามัญ : Bamboo grass
วงศ์ : Menispermaceae
ชื่ออื่น : จ้อยนาง (เชียงใหม่) เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะของต้นย่านาง จะเป็นเถาไม้เลื้อย เถามีรูปร่างกลมขนาดเล็กแต่มีความเหนียว เถาสีเขียวเมื่อเถาแก่จะมีสีเข้มคล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิค่อนข้างเรียบ รากมีหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับรูปร่าง ลักษณะคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบย่างนางที่ขึ้นในภาคใต้จะเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน ดอกออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน ช่อหนึ่งๆ จะมีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดอกโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย มักออกดอกช่วงเดือนเมษายน ผลมีรูปร่างกลมเล็กขนาดเท่าผลมะแว้งสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดงหรือแดงสดเมื่อแก่จัดจนสุกงอมจะกลายเป็น สีดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของย่านาง
- ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เกี่ยวพันไม้อื่น เป็นเถากลมๆ ขนาดเล็ก แต่เหนียว มีสีเขียว เมื่อเถาแก่จะมีสีเข้มคล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ
- ราก มีหัวใต้ดิน รากมีขนาดใหญ่
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 10 ซม. กว้าง 2 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. หน้าและหลังใบเป็นมัน
- ดอก ออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ขนาดเล็กกว่าเมล็ดง่าเล็กน้อย ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อกอดมีขนสั้นๆ ละเอียด ปกคลุมหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
- ผล รูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ
- เมล็ด เมล็ดแข็งรูปเกือกม้า
แหล่งที่พบ ย่านางเป็นพืชที่พบในแหล่งธรรมชาติ ป่าทั่วไปที่มีอากาศชุ่มชื้น บริเวณป่าผสมผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคอื่นก็มีกระจายทั่วไป
การปลูกและขยาพันธุ์ ย่านางเป็นพืชที่ขึ้นในดินทุกชนิด และปลูกได้ทุกฤดู ขยายพันธุ์โดยใช้หัวใต้ดิน เถาแก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด เป็นไม่ที่ปลูกง่าย ปลูกเป็นหลุมหรือยกร่องก็ได้
ประโยชน์ทางยาของย่านาง
สารเคมีสำคัญที่พบในย่านาง
รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tilacorine, Ttiacorinine, Nortiliacorinine A, Ttiliacotinine 2-N-Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondrodendrine (isoberberine)
คุณค่าทางโภชนาการของย่านาง
ข้อมูลจากหนังสือ Thai Food Composition, Institute of Nutrition, Mahidol University (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) พบว่า ปริมาณสารสำคัญที่มีมากและโดดเด่นในใบย่านาง คือ ไฟเบอร์ แคลเซี่ยม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ
ส่วนที่ใช้
- ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอกลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา
- ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ัสันนิบาต ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้ัพิษเมาเบื่อ แก้เมาสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ
- ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
การใช้ย่านางเป็นยาพื้นบ้านล้านนา
- แก้ไข้ ใช้รากย่านางแห้ง 1กำมือ (ประมาณ15กรัม) ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ1/2แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา
- แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข่น ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้วต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง หรือ ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดวก้อได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย
- ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านาง ต้น และใบ 1กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำ คั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่าย ดื่มให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยทำให้ดีขึ้น
- ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้หลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว
การใช้ย่านางเป็นยาพื้นบ้านอีสาน
- ใช้ราก ต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น
- ใช้รากย่านางผสมรากหมดน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเลีย
- ใช้ราก ต้มขับพิษต่างๆ
การปลูกและดูแลรักษา
เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี
โภชนาการทางอาหารที่ได้จากใบย่านาง 100 กรัม
พลังงาน 95 กิโลแคลอรี
เส้นใย 7.9 กรัม
แคลเซียม 155 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
เหล็ก 7.0 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 30,625 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.36 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม
วิตามินซี 141 มิลลิกรัม
โปรตีน 15.5 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็นต์
โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียม 1.42 เปอร์เซ็นต์
(ข้อมูลจาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล)
สถานการณ์ดังกล่าวตรงกันข้ามกับเมื่อ 30-50 ปีที่ผ่านมา ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเครียด วิถีชีวิตเรียบง่าย สงบ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขันไม่ต้องเร่งร้อนรีบเหมือนคนยุคนี้ สิ่งแวดล้อมมีมลพิษน้อย ป่าไม้มีมาก แม่น้ำลำธารใสสะอาด อาหารการกินไม่มีสารเคมีเจือปน ตั้งแต่กระบวนการผลิตทางการเกษตร จนถึงกระบวนการปรุงอาหารก็ไร้สารพิษ ปรุงแต่น้อย รสไม่จัดจ้าน เครื่องไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ค่อยมี ผู้คนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จึงมักมีภาวะไม่สมดุลแบบเย็นเกิน
อาการหรือโรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุบแบบร้อนเกิน ซึ่งสามารถใช้ใบย่านางปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาได้ มีดังต่อไปนี้
- ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้น เหนียว หรือไม่ค่อยมีขี้ตา
- มีสิว ฝ้า
- มีตุ่มแผล ออกร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ
- นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้งแตกเป็นขุย
- ผมหงอกก่อนวัย รูขุมขนขยายโดยเฉพาะบริเวณหน้าอก คอ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว
- มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดฝอยแตก ใต้ผิวหนัง มีรอยจ้ำเขียวคล้ำ
- ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตามข้อ
- กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริวบ่อย ๆ
- ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝึหนอง น้ำเหลืองเสียตามร่างกาย
- ตกกระสีน้ำตาลหรือสีดำตามร่างกาย
- ท้องผูก อุจจาระแข็ง หรือเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายขี้แพะ บางครั้งมีท้องเสียแทรก
- ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ถ้าเป็นมาก ๆ จะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ หรือมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะด้วย มักลุกปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี 2 (คนร่างกายปกติ สมดุล จะไม่ตื่น ปัสสาวะกลางดึก)
- ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง บางครั้งมีอาการ ท้องอืดร่วมด้วย
- มีผื่นที่ผิวหนัง ปื้นแดงคัน หรือมีตุ่มใสคัน
- เป็นเริม งูสวัด
- หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ
- โดยสารรถยนต์มักอ่อนเพลีย และหลับขณะเดินทาง
- เลือดกำเดาออก
- มักง่วงนอนหลังกินข้าวอิ่มใหม่ ๆ
- เป็นมากจะยกแขนขึ้นไม่สุด ไหล่ติด
- เล็บมือ เล็บเท้า ขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย มีสีน้ำตาลหรือดำคล้ำ อักเสบบวดแดงที่โคนแล็บ
- หน้ามืด เป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน คลื่นไส้ อาเจียน มักแสดงอาการเมื่อยอยู่ในที่อับ หรืออากาศร้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือทำงานเกินกำลัง
- เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟฟ้าช๊อต หรือร้อนเหมือนไฟเผาตามร่างกาย
อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย
- รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก
- เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมาก ถ้าเป็นมาก ๆ จะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่แขน
- เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง
- หิวมาก หิวบ่อย หูอื้อ ตาลาย ลมออกหู หูตึง
- ส้นเท้าแตก ส้นเท้าอักเสบ เจ็บส้นเท้า รองช้ำ ออกร้อน บางครั้งเหมือนไฟช็อต
- เกร็ง ชัก
- โรคที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบร้อนเกิน ได้แก่ โรคหัวใจ เป็นหวัดร้อน ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ ตับอักเสบ กระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ ไทรอยด์เป็นพิษ ริดสีดวงทวาร มดลูกโต ตกขาว ตกเลือด ปวดมดลูก หอบหืด ไตอักเสบ ไตวาย นิ่วไต นิ่วกระเพาะปัสสาวะ นิ่วถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไส้เลื่อน ต่อมลูกหมากโต โรคเกาต์ ความดันโลหิตสูง เนื้องอก มะเร็ง พิษของแมลงสัตว์กัดต่อย
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
- เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว (200-300 ซี.ซี.)
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
- ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วนถึงตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำ หรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องไฟฟ้าจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง) แล้วกรองผ่าน กระชอนเอาแต่น้ำ ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร ตอนท้องว่าง หรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำเปล่า ในอุณหภูมิห้องปกติ ควารดื่มภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากทำน้ำย่านาง เพราะถ้าเกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม จะทำให้เกิดภาวะร้อนเกิน แต่ถ้าแช่ในน้ำแข็งหรือตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุกลิ่นที่กลิ่นเหม็นเปรี้ยวเป็นหลักฯลฯ
หมายเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักสด ร่างกายก็จะขาดวิตามิน และคลอโรฟิล ในใบย่านางมีวิตามิน คลอโรฟิลคุณภาพดี มีพลังสด พลังชีวิตประสิทธิภาพสูง ในการปกป้อง คุ้มครองและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม หลายครั้งที่การดื่มสมุนไพรเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ก็ควรจะทำอย่างอื่นเสริมในการปรับสมดุลร้อนหรือเย็นของร่างกายด้วย จะทำให้ประสิทธิภาพในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพดียิ่งขึ้น เช่น การปรับสมดุลด้านอิทธิบาท อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย อากาศ เอนกาย และเอาพิษออก ซึ่งรายละเอียดของการปรับสมดุลร้อน-เย็น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือถอดรหัสสุขภาพ ร้อน-เย็น ไม่สมดุล โดยใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)
ถ้าไม่มีใบย่านางหรือร่างกายไม่ถูกกับย่านาง ก็สามารถใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นตัวอื่น ๆ แทนได้
ตัวอย่าง ประสบการณ์ของผู้ป่วย (บางส่วน) ที่ใช้ใบย่านางแก้ไขปัญหาสุขภาพ จนมีผลให้อาการเจ็บป่วยเบาบางลง
- นางครั่ง มีทรัพย์ อายุ 53 ปี 28 หมู่ 7 ตำบล ดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นเนื้องงอกที่มดลูก มดลูกโต ตกเลือด ตกขาว มึนชา ปวดตามร่างกาย ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน อาการทุเลาตามลำดับ หลงจากปฏิบัติได้ 3 เดือนอาการ ดังกล่าวหายไป
- นางสมนึก ห้องแซง อายุ 67 ปี 51/386 หมู่ 1 ตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นมะเร็งปอดดื่มน้ำย่านาง พร้อมปรับสมดุลร้อน-เย็น ภายใน 3 เดือนผ่านไป อาการทุเลาลงมาก ไปทำอุลตร้าซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
- นางทองจีน ยิ้มใส่ อายุ 55 ปี 175 หมุ่ 12 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งตับ ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฎิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 3 เดือนผ่านไป อาการทุเลาลงมาก ไปตรวจอุลตราซาวด์ พบว่าก้อนมะเร็งฝ่อลง
- นางผัน ถนอมบุญ อายุ 45 ปี 109 หมู่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นมะเร็งมดลูก ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินได้ 2 สัปดาห์ อาการทุเลาลงมาก พอได้ 2 เดือน ไปตรวจที่โรงพยาบาลไม่พบเซลล์มะเร็ง
- นางสาวสงัด สีน้ำเงิน อายุ 58 ปี 442 หมุ่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นโรคหัวใจ โรคไต โรคกระเพาะ อาหารอักเสบ เนื้องอกที่เต้านม ดื่มน้ำย่านางพร้อมกับปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกิน 1 เดือน อาการทุเลาลงมาก เนื้องอกที่เต้านมยุบหายไป
- นางอัมพร ทองด้วง อายุประมาณ 40 ปี 149 หมู่ 12 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีอาการปัสสาวะแสบขัดออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ เป็นมา 2 ปีเศษ ๆ รักษาที่คลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่งไม่ดีขึ้น เมื่อดื่มน้ำย่านางผสมใบเตยและผักบุ้งอาการทุเลาอย่างมากภายใน 3 วัน ดื่มต่อเนื่องได้ 3 สัปดาห์ ก็หายขาด
- นางสมัย เนากำแพง อายุ 42 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นไตอักเสบเรื้องรังมา 5 ปี เมื่อดื่มน้ำย่านางและปฏิบัติตัวแก้ภาวะร้อนเกินได้ 7 วัน อาการทุเลาจนเป็นปกติ
- นายดาว เนากำแพง อายุประมาณ 45 ปี 196 ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ นอนกรนเป็นประจำ พอดื่มน้ำย่านางพร้อมกับรับประทานอาหารฤทธิ์เย็นอาการก็หายไปภายในหนึ่งสัปดาห์
ชาวไร่อ้อยคนหนึ่งที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากตัดอ้อยจำนวนหลายไร่ มีอาการปวดที่แขน กินยาแผนปัจจุบันติดต่อกันเป็นเดือนยังไม่ทุเลา พอดื่มน้ำย่านางอาการก็ทุเลาลง จนหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
- คุณตู่ เจ้าของร้าน่อานนท์ประดับยนต์ 344/1 หมู่ 5 ถนนศรีสะเกษ-ขุขันธ์ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ เล็บมือผุ ถูกทำลายลุกลามไปครึ่งเล็บ ไปตรวจกับแพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าเป็นเชื้อรา ให้ยาแผนปัจจุบันมารับประทานพร้อมยาทา เป็นเวลา 16 ปี อาการไม่ทุเลา จึงหยุดยาแผนปัจจุบัน ทดลองดื่มน้ำย่านางได้ 15 วัน อาการเริ่มทุเลา ดื่มได้ 1 เดือน อาการดีขึ้นตามลำดับเกือบเป็นปกติ
- นางจำปา สุวะไกร อายุ 33 ปี 106 หมู่ 5 ตำบลคึมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นโรคกระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ไขม้นพอกตับและตกขาวเรื้อรัง กินยาแผนปัจจุบันอาการไม่ทุเลา เมื่อดื่มน้ำย่านาง กินหญ้าปักกิ่ง กล้วยดิบและขมิ้น และกินอาหารฤทธิ์เย็น สวนล้างลำไส้ใหญ่ อาการทุเลาลงภายใน 5 วัน เมื่อทำต่อเนื่องอาการต่าง ๆ ดีขึ้นตามลำดับ จนได้ 2 ปี ไปตรวจที่โรงพยาบาล ไม่พบไขมันพอกตับ
(ข้อมูลจากหนังสือ ย่านาง ร้อน-เย็น ไม่สมดุลย์ ความลับฟ้า)
น้ำใบย่านาง
ปัจจุบันมีกระแสการบริโภคน้ำย่านางคั้นบีบเย็น ซึ่งเชื่อกันว่ารักษาโรคได้มากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง อาการตกเลือดในมดลูก โรคเกาต์ โรคเชื้อราทำลายเล็บ อาการริดสีดวงทวาร หรือเป็นผื่นคัน
ย่านางเป็นยาเย็น ในปริมาณที่มีผู้ดื่มรักษาโรคเป็นปริมาณสารสกัดน้ำที่ไม่เข้มข้นมากนัก คล้ายการดื่มน้ำใบเตยเพื่อความชื่นใจดับกระหาย แต่ไม่มีรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศสนับสนุนการใช้งานดังกล่าว เพราะประเทศตะวันตกไม่มีต้นย่านางให้ศึกษา
สูตรน้ำใบย่านาง
- ใบย่านางประมาณ 20 ใบ
- น้ำต้มสุก 3 แก้ว (600 มิลลิลิตร)
- นำใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำ กรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำสีเขียว ดื่มครั้งละ 1/2 ถึง 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง เนื่องจากใบย่านางมีกลิ่นเหม็นเขียวจึงอาจใส่ใบเตยหอม 3 ใบ ใบบัวบก 1 กำ และดอกอัญชัญ 10 ดอกลงไปด้วย เพื่อแต่งรสและกลิ่น ถ้าแช่ในตู้เย็นควรดื่มภายใน 3-7 วัน