รองเท้าผ้า สำหรับสวมใส่ขณะทำสวน ทำนา หรือในที่เฉอะแฉะ ป้องกันกันการเกิดบาดแผล จากหอยเชอรี่ หนามมะนาว หรือโรคฉี่หนู คุณภาพดี น้ำหนักเบา ใส่สบาย มีทั้งแบบพื้นหนัง และพื้นผ้าให้เลือกใช้
รองเท้าทำสวนที่เกษตรกรหรือคนทั่วไปมักเรียกติดปากว่า รองเท้านินจา นี้ เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนในพื้นที่ ซึ่งมีการทำขึ้นมาใช้ในครัวเรือนนานแล้ว เพียงแต่รูปแบบในยุคก่อนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคนที่ทำหรือใช้วัสดุอะไรทำ เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำต่างคนต่างใช้
ลักษณะการใช้งานรองเท้า ประชุมบอกว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมใส่ลงในพื้นที่สวนหรือนาข้าว หรือพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีลักษณะเป็นดินโคลน เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลจากหอยเชอรี่ หนามจากวัชพืช เพื่อ ป้องกันโรคฉี่หนู ส่วนสาเหตุที่รองเท้านินจาเป็นที่นิยม เหตุผลคือรองเท้านี้ใช้งานสะดวกกว่ารองเท้าบู๊ตยาง เพราะน้ำหนักเบากว่า สวมใส่สบายกว่า ที่สำคัญเมื่อใส่เดินในโคลนหรือน้ำจะไม่หนัก เพราะใช้วัสดุผ้าแทนยาง รองเท้าก็จะไม่เก็บน้ำไว้ ทำให้ขณะเดินรองเท้าจะไม่จมดินเหมือนรองเท้าบู๊ตยาง
คุณสมบัติพิเศษ
รองเท้านินจาใช้งานได้สะดวกกว่ารองเท้าบู๊ตยาง เพราะน้ำหนักเบากว่า สวมใส่สบายกว่า ที่สำคัญเมื่อใส่เดินในโคลนหรือน้ำจะไม่หนัก เพราะใช้วัสดุผ้าแทนยาง รองเท้าก็จะไม่เก็บน้ำไว้ ทำให้ขณะเดินรองเท้าจะไม่จมดินเหมือนรองเท้าบู๊ตยาง ที่สำคัญสามารถซักตากได้เหมือนเสื้อผ้า รับประกันความทนทาน 1 ฤดูกาลเกษตร
พัฒนาและออกแบบให้เหมาะแก่การใช้งานด้านการเกษตร น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี ป้องกันการเกิดบาดแผลที่เท้าซึ้งเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อโรค มีให้เลือกใช้หลาย แบบ เช่น
สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำรองเท้านินจา ประกอบด้วย ผ้าลายสอง เน้นเหนียว ไม่อุ้มน้ำ สำหรับใช้ทำพื้นรองเท้า, เชือกสำหรับใช้ผูกรองเท้า, ซิป, ด้ายเย็บผ้า เป็นต้น
เข้ารูปเท้าสวยงาม ซิปใหญ่ฟันกระดูกหัวออโต้ล๊อค พื้นยางคุณภาพอย่างดี ไม่ขาดไม่หัก เย็บพื้นโดยรอบเพิ่มความคงทนตลอดอายุการใช้งาน ตัวผ้าระบายอากาศได้ดีไม่อบไม่ร้อน น้ำหนักเบา สวมใส่สะบาย ป้องกันการเกิดบาดแผลที่เท้า ป้องกันหอยเชอรี่ ใส่ได้ทั้งในและในโคลน ( ไม่ดูดโคลน ) ใส่บนพื้นที่แห้งพื้นไม่ขาด เหมาะกับเกษตรกร ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มัน ไร่สัปรด ฯ บ่อปล่า บ่อกุ้ง ปีนเขา เดินป่า ตัดหญ้า ปลูกป่าชายเลน ฯลฯ
ขั้นตอนการผลิต
คล้ายการเย็บรองเท้าผ้าทั่วไป จะมีขั้นตอนพิเศษเพิ่มขึ้นก็ในส่วนที่ต้องทำพื้นรองเท้าให้หนา เริ่มจากนำผ้าที่เตรียมไว้มาตัดเป็นชิ้นส่วน ตามแบบหรือแพทเทิร์นที่ได้วางไว้จากนั้นนำมาเย็บให้เป็นชิ้นเข้าด้วยกัน แยกออกเป็น 2 ส่วนประกอบคือ ส่วนที่เป็นตัวรองเท้า กับส่วนที่เป็นพื้นรองเท้า ในส่วนที่เป็นพื้นรองเท้า หลังจากยัดโฟมยางที่เป็นพื้นรองเท้าเข้าไปไว้ด้านในแล้วก็จะใช้วิธีเย็บด้ายขึ้นลงย้อนไปมาหลายๆ รอบเพื่อให้เกิดลายที่พื้นรองเท้า และมีข้อดีคือช่วยทำให้พื้นรองเท้ายึดติดแน่น ทำให้พื้นรองเท้าหนาขึ้น และทำให้พื้นรองเท้าไม่ลื่นง่าย ขณะเดินบนพื้นเปียกแฉะ เมื่อเย็บเสร็จแล้วก็มาทำในส่วนที่เป็นตัวรองเท้า เมื่อเสร็จก็นำ 2 ส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน บรรจุหีบห่อ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำรองเท้านินจา
ซึ่งนี่ก็เป็นอีกงานฝีมือที่ต่อยอดจากภูมิปัญญาได้อย่างน่าสนใจ และเป็นอีกบทพิสูจน์ว่าทำสินค้าขายเกษตรกรก็น่าสนใจ อย่ามองข้าม !!.
ป้ายคำ : เทคโนโลยีชาวบ้าน
เชียงใหม่มีขายที่ไหนครับ