รำละเอียด

4 ธันวาคม 2558 สัตว์ 0

รำข้าวแยกออกเป็น 2 ชนิด คือ รำหยาบและรำละเอียด รำหยาบมีส่วนผสมของแกลบปน ทำให้คุณค่าต่ำกว่ารำละเอียดเพราะมีเยื่อใยสูงและมีแร่ซิลิกาปนในแกลบมาก รำเป็นส่วนผสมของเพอริคาร์บ (pericarp) อะลิวโรนเลเยอร์ (aleuron layer) เยอร์ม (germ) และบางส่วนของเอนโดสเปอร์ม (endosperm) ของเมล็ด รำหยาบมีโปรตีนประมาณ 8 10 เปอร์เซ็นต์ ไขมันประมาณ 7 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรำละเอียดมีโปรตีนประมาณ 12 15 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 12 13 เปอร์เซ็นต์ รำมีไขมันสูงจึงไม่ควรเก็บรำไว้นานเกิน 15 20 วัน เพราะจะมีกลิ่นจากการหืน รำข้าวที่ได้จากการสีข้าวเก่ามีความชื้นต่ำทำให้เก็บได้นานกว่ารำข้าวใหม่ที่มีความชื้นสูง เชื้อราขึ้นง่ายและเหม็นหืนเร็ว ส่วนรำข้าวนาปรัง อาจมีสารตกค้างของยาฆ่าแมลงปะปนมาด้วย รำข้าวเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีกรดอะมิโนค่อนข้างสมดุล มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินบีค่อนข้างมาก รำที่สกัดน้ำมันออกโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น รำอัดน้ำมัน (hydraulic press) หรือรำสกัดน้ำมัน (solvent extract) จะเก็บได้นานกว่า และมีปริมาณของโปรตีนสูงกว่ารำข้าวธรรมดา เมื่อคิด ต่อหน่วยน้ำหนัก แต่ปริมาณไขมันต่ำกว่า คุณภาพของรำสกัดน้ำมันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเพราะ ถ้าร้อนเกินไปทำให้คุณค่าทางอาหารเสื่อม โดยเพราะกรดอะมิโนและวิตามินบีต่าง ๆ ปัญหาในการใช้ พบว่ามักมีหินฝุ่นหรือดินขาวปนมา ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง หรืออาจมียากำจัดแมลง สารเคมี หรือมีแกลบปะปน

ramlaeads

คุณสมบัติ
โปรตีนประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นรำที่ได้จากโรงสีขนาดกลาง หรือเล็กซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า รำปิ่นแก้ว จะมีโปรตีนต่ำประมาณ 7% เนื่องจากมีส่วนของแกลบปนอยู่มาก

  • มีไขมันสูง 12-13 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หืนง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน
  • มีไวตามินบี ชนิดต่างๆ สูง ยกเว้นไนอะซีน ซึ่งอยู่ในรูปที่สัตว์ใช้ประโยชน์ได้น้อย
  • มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ถ้าใช้เป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารสัตว์ในปริมาณที่สูง จะทำให้สัตว์ถ่ายอุจจาระเหลว

ข้อจำกัดในการใช้

ไม่ควรใช้ประกอบสูตรอาหารสุกรเล็ก ระยะหย่านม ถึง 10 สัปดาห์ เนื่องจากมีปริมาณเยื่อใยสูง

ข้อแนะนำในการใช้
ควรใช้รำละเอียดที่ใหม่ ไม่มีกลิ่นหืน

  • ไม่ควรเก็บรำละเอียดไว้นานเกิน 30-40 วัน เพราะรำละเอียดจะเริ่มหืนสัตว์ไม่ชอบกิน
  • ในสุกรระยะเจริญเติบโต (น้ำหนัก 20-60 กก.) ไม่ควรเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • สามารถใช้รำละเอียด ผสมในอาหารสุกรพ่อแม่พันธุ์ได้มากกว่า 30เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • ในอาหารไก่เนื้อ ไม่ควรใช้รำละเอียดเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • เลือกซื้อรำที่ใหม่ และไม่มีการปลอมปนด้วย วัสดุต่างๆ เช่น ดินขาวป่น หินฝุ่น ซังข้าวโพดบดละเอียด เป็นต้น

ส่วนประกอบทางเคมี
ส่วนประกอบ

  • ความชื้น 12
  • โปรตีน12
  • ไขมัน12
  • เยื่อใย11
  • เถ้า10.9
  • แคลเซียม0.06
  • ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้0.47
  • พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลลอรี่ / กก
  • ในสุกร3,120
  • ในสัตว์ปีก2,710

กรดอะมิโน %

  • ไลซีน0.55
  • เมทไธโอนีน0.25
  • เมทไธโอนีน + ซีสตีน0.50
  • ทริปโตเฟน0.10
  • ทรีโอนีน0.40
  • ไอโซลูซีน0.45
  • อาร์จินีน0.95
  • ลูซีน0.81
  • เฟนิลอะลานีน + ไทโรซีน0.92
  • อิสติดีน0.32
  • เวลีน0.69
  • ไกลซีน0.61

ปัญหาที่มักพบ

  1. รำข้าวใหม่มักมีความชื้นสูงจึงมีเชื้อราขึ้นง่าย และมักสร้างปัญหาเกี่ยวกับการให้ผลผลิตของสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัตว์ปีก สุกรเล็กและพ่อแม่พันธุ์
  2. รำละเอียดที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใช้กันอยู่ทั่วไปมักไม่อยู่ในสภาพที่สดใหม่พอ ส่วนใหญ่จะมาจากโรงสี และเก็บไว้นาน 10 20 วันขึ้นไป จึงมีกลิ่นเหม็นหืน และเริ่มมีมอดเข้ามาทำลาย คุณภาพย่อมต่ำลง
  3. รำข้าวนาปรังมักมีปัญหายาฆ่าแมลงติดปนมา ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ได้โดยเฉพาะลูกสัตว์ขนาดเล็ก ในแม่สุกรอุ้มท้องหรือแม่ไก่ เป็ด
  4. รำละเอียดมีแกลบละเอียดปนมามาก นอกจากนี้อาจมีละอองข้าวหรือดินขาวปนมาด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คุณค่าทางอาหารของรำละเอียดต่ำลง
    สำหรับรำหยาบนั้นควรสังเกตว่ามีส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มเมล็ดและปลายข้าวอยู่ในปริมาณพอสมควร ไม่ใช่มีแต่แกลบเพราะแกลบมีโปรตีนต่ำมาก เยื่อใยสูง และย่อยยาก

ramlaeadtak

ลักษณะและคุณสมบัติมาตรฐานของรำละเอียด

  • ความชื้นไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์
  • โปรตีนไม่ต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์
  • ไขมันไม่ต่ำกว่า 13 เปอร์เซ็นต์
  • เยื่อใย ไม่เกิน 8 เปอร์ซ็นต์
  • เถ้า ไม่เกิน 9 เปอร์เซ็นต์
  • หินฝุ่น ไม่เกิน 0.5 เปอร์เซ็นต์
  • แกลบ 4 5 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งน้อยยิ่งดี
  • ปลายข้าว 5 20 เปอร์เซ็นต์ แต่มีมากก็ไม่ถือว่าเสียหาย
  • กลิ่น สด หอม ไม่เหม็นอับ เหม็นหืน บูด
  • รสหวานเล็กน้อย ไม่เปรี้ยวหรือเฝื่อน
  • ไม่จับตัวเป็นก้อน หรือ เป็นใยหนอน
  • ไม่มีเชื้อราหรือสปอร์ของเชื้อรา ซึ่งสังเกตเห็นเป็นจุดสีดำขนาดเล็กกระจายทั่วไป
  • ไม่มียาฆ่าแมลง
  • ไม่มีมอดหรือแมลงอื่นขึ้น

ramlaead

การตรวจสอบคุณภาพของรำละเอียด
การตรวจสอบโดยใช้ประสาทสัมผัส

  1. ตรวจสอบลักษณะเนื้อและการจับตัวเป็นก้อน รำละเอียดที่ดี ควรมีลักษณะร่วน ไม่จับตัวเป็นก้อนแต่เมื่อหยิบขึ้นมากำให้แน่นแล้วปล่อยนิ้วออก รำละเอียดจะจับกันเป็นก้อนหลวมๆ และเมื่อใช้กดหรือบี้ก้อนรำนั้นเบาๆ ก็จะแตกออกโดยง่าย ส่วนรำสกัดน้ำมันและรำหยาบนั้นนำมากำให้แน่นก็ไม่สามารถจับตัวเป็นก้อนอยู่ได้เหมือนรำละเอียด
  2. ดูสี รำละเอียดปกติสีเนื้อนวล แต่ถ้าสีออกน้ำตาลอาจมีแกลบปนมามากหรือในทางตรงข้ามรำละเอียดที่มีสีค่อนข้างขาว อาจมีหินฝุ่นหรือมันเส้นบดละเอียดปนปลอมมาด้วย ส่วนรำสกัดน้ำมันสีจะซีดกว่ารำละเอียดเล็กน้อยและมองเห็นปลายข้าวและแกลบที่ติดมาได้ชัดขึ้น
  3. ดมกลิ่นและชิมรส รำละเอียดที่ดีมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นอับหรือเหม็นหืน ซึ่งแสดงว่ารำนั้นเก่า ถ้าชิมรำละเอียดที่เพิ่งสีมาใหม่ๆจะมีรสหวานเล็กน้อย แต่ไม่แนะนำให้ใช้วิธีชิมเพราะในรำละเอียดโดยเฉพาะรำข้าวนาปรังอาจมียาฆ่าแมลงติดปนมาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ตรวจสอบได้ ส่วนรำสกัดน้ำมันใหม่ๆก็จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆแต่ถ้าเป็นรำสกัดน้ำมันที่ผลิตจากรำข้าวนึ่งอาจมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเล็กน้อย

ramlaeadchon
การตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ
เยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งได้จากการขัดสีเมล็ดข้าวให้ขาว ถ้าใช้กำลังขยายต่ำ ดูส่วนละเอียดที่ส่วนได้จะมองเห็นเป็นผงละเอียด ฟูนุ่มและชุ่มไปด้วยน้ำมัน แต่ถ้าเพิ่มกำลังขยายให้ใหญ่ขึ้นก็จะมองเห็นเป็นแผ่นบางๆขนาดเล็ก หงิกงอไม่เป็นรูปที่แน่นอน สีขาวนวลหรือบางชิ้นออกสีเขียวตองอ่อนเล็กน้อยโดยเฉพาะข้าวใหม่ต้นฤดูเก็บเกี่ยว แต่ถ้าเป็นรำข้าวที่มีความชื้นสูงและมีเชื้อราขึ้นส่องดูจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปบนเยื่อหุ้มเมล็ด
ปลายข้าว ส่วนของรำละเอียดมักมีปลายข้าวที่หักและหลุดติดมาบ้าง ลักษณะก็เหมือนปลายข้าวทั่วไป แต่ขนาดมักจะค่อนข้างเล็กกว่าปลายข้าวทั่วไป อย่างไรก็ตามเมื่อใช้ตะแกรงหรือกะชอนร่อนก็มักติดอยู่ในส่วนหยาบ
แกลบหรือเปลือกข้าว เป็นส่วนหยาบที่ติดอยู่บนตะแกรงเช่นกัน รูปร่างลักษณะเป็นแผ่นและมีตารางสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเหมือนฝักข้าวโพดอ่อน สีเหลืองทอง รำละเอียดที่ดีควรมีแกลบอยู่น้อยมาก หากมีแกลบมาก รำละเอียดนั้นจะมีโปรตีนต่ำและย่อยยากขึ้น

การตรวจสอบด้วยสารเคมีอย่างง่าย

  1. การตรวจสอบหินฝุ่นที่อาจปนมารำ โดยใช้กรดเกลือ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ คาร์บอนเตตระคลอไรด์
  2. การตรวจสอบยาฆ่าแมลงหรือสารพิษ โดยใช้สารคลอโรฟอร์มและคิวปริกคลอไรด์หรือการทดสอบกับกุ้งหรือปลาตัวเล็กๆ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น