ละไม ผลไม้พื้นเมืองภาคใต้

21 ธันวาคม 2557 ไม้ผล 0

ละไม เป็นไม้ป่า ตระกูลเดียวกับมะไฟ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลักษณะผลใบลำตันเหมือนมะไฟทุกอย่างต่างกันที่ ขนาด ลำต้นใหญ่กว่า ผลใหญ่กว่า ช่อยาว ผลดก และเป็นผลไม้พื้นเมืองทางภาคใต้ ใบขนาดใหญ่ ผลออกเป็นพวงยาว ห้อยย้อยตามลำต้น ลักษณะคล้ายผลมะไฟ ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลแบ่งเป็นกลีบๆ มี 3-5 กลีบ เนื้อสีขาว รสอมเปรี้ยวอมหวาน รับประทานเป็นผลไม้สด ใส่ในแกงต่างๆ ผลมีวิตามินซีสูง หรือนำไปแปรรูปเป็นแยมและไวน์

ชื่อวิทยาศาสตร์: Baccaurea motleyana
วงศ์ Euphorbiaceae
ชื่ออื่น ระไม ไหมร รามา ราแบ รามาตีกุ๊

ละไม เป็นผลไม้พื้นเมืองภาคใต้ประเภทไม้ยืนต้น ใบโตคล้ายใบกระทัง ขึ้นบนที่ราบใกล้ ๆ
บริเวณเชิงเขาที่มีดินร่วนปนทราย มีมากในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส แถวภาคใต้ทั่วไป ที่มีฝนตกชุก มีผลออกมาจากกิ่งใหญ่ หรือลำต้น เป็นพวงยาว ห้อยระย้า ลักษณะผลกลมและคอดไปทางท้ายเล็กน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว สุกจะเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เปลือกหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร เนื้อเยื่อเป็นกลีบ สีขาว เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะแบนคล้าย ๆ เมล็ดแตงโม รสชาติจะเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ คล้ายผลมะไฟ และลังแบ ออกผลปีละครั้งและมีขายชุกชุมประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี

lamaidib lamaisook

ลักษณะทางธรรมชาติ

  • เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ฝนชุกจึงมีปลูกกันมากในเขตภาคใต้และเขตภาคตะวันออก ชอบดินดำร่วน ระบายน้ำได้ดีโดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขา ออกดอกติดผลปีละรุ่น
  • ออกผลเป็นช่อเหมือนมะไฟแต่ช่อผลยาวกว่า ดกกว่าและรูปทรงผลยาวรีกว่ามะไฟ
  • ละไมกับมะไฟเป็นไม้สกุลเดียวกันสามารถใช้ทำตอเสียบยอด ทาบกิ่ง ติดตา หรือเสริมรากซึ่งกันและกันได้
    lamailoog

ละไมมักจะขึ้นเองในป่าตามธรรมชาติ เพาะพันธุ์ได้จากเมล็ด ผลละไมนำมาประกอบอาหารโดยการแกงกับเนื้อสัตว์ก็ได้ หรือใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู แพะ ฯลฯ ให้คุณค่าทางโภชนาการ ผลมีรสเปรี้ยวให้คุณค่าด้านแร่ธาตุและวิตามินซี.

สายพันธุ์
ละไมเปรี้ยว และ ละไมหวาน

lamaipon

การขยายพันธุ์
ตอน (ดีที่สุด). เสียบยอด. ติดตา. เพาะเมล็ด (กลายพันธุ์).

ระยะปลูก
– ระยะปกติ 6 x 6 ม.หรือ 6 x 8 ม.
– ระยะชิด 4 x 4 ม.หรือ 4 x 6 ม.

เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ

  • ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา…แห้งเก่าข้ามปี)ปีละ 2 ครั้ง
  • ให้ยิบซั่มธรรมชาติ ปีละ 2 ครั้ง
  • ให้กระดูกป่น ปีละ 1 ครั้ง
  • คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
  • ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง

หมายเหตุ :

  • การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่ ปลาสด เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขตทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อเนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
  • ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตกใบอ่อน ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่……การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาดของเชื้อราได้
  • ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพความสมบูรณ์สูง

lamaipons

เตรียมต้น
ตัดแต่งกิ่ง :

  • ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งคดงอ กิ่งชี้ลง กิ่งไขว้ กิ่งหางหนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
  • ตัดกิ่งทิ้งเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
  • ลักษณะโครงสร้างต้นละไมที่ดีควรมีใบด้านนอกทึบแต่ด้านในโปร่ง ดังนั้นการเลือกตัดกิ่งออกกับคงเหลือกิ่งไว้ต้องคำนึงถึงช่วงที่ติดผลในภายหน้าด้วย
  • นิสัยละไมมักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง ดังนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝนแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดีกว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น

ตัดแต่งราก :

  • ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพในการหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
  • ต้นอายุหลายปี ระบบรากเก่าและแก่มาก ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกรากใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น