ลางสาด ผลไม้พวงใหญ่เนื้อผลใสรสชาติดี

9 เมษายน 2558 ไม้ผล 0

ลางสาดเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดตามหมู่เกาะมาลายู ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยเป็นต้นซึ่งเป็นเขตที่มีอากาศร้อนและชุ่มชื้นได้รับมรสุม ฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลานาน ประมาณ 180 – 200 วัน เป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีผลสีเหลืองนวล ออกเป็นพวงใหญ่ เนื้อของผลมีลักษณะใส รสชาติดีและอยู่ในความนิยมของผู้บริโภค แต่การปลูกลางสาดในประเทศไทยนั้น ขาดการดูแลเอาใจใส่ และปลูกขยายเท่าที่ควร ทำให้ความสำคัญของลางสาดลดลงไปมากทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการเจริญเติบโตและการให้ผล ผิดกับประเทศในเขตหนาวซึ่งแม้จะต้องการปลูกเพียงไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ดังนั้นจึงควรที่จะหันมาพิจารณาและให้ความสนใจในเรื่องราวของลางสาด เช่นการคัดพันธุ์การขยายพันธุ์รวมทั้งการปฏิบัติบำรุงรักษาให้มากขึ้น

ชื่อสามัญ (Common Name) : Lancet, Langsium, Langsat
ชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific Name) : Lansium domesticum, Corr.
ชื่อวงศ์ (Family name) : Meliaceae

ลางสาดมีชื่อสามัญเรียกกันหลายชื่อด้วยกัน เช่น Langsat , Lansa , Lanseh , Lanzame , และ Lanzon คำว่าลางสาดของไทยก็คงจะมาจากคำว่า Langsat ซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากภาษามลายู ชื่อวิทยาศาสตร์ของลางสาดก็คือLonsium domesticum Corr. เป็นพืชในตระกูลMeliaceae

langsadpol

ลางสาดเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกับลองกองมีลักษณะใกล้เคียงกันมากแม้ว่าเกษตรกรจะนิยมปลูกลองกองมากกว่า เพราะผลผลิตมีรสชาติและขยายได้ราคาดีกว่า แต่ลางสาดก็ยังจัดเป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยที่ให้ผลตอบแทนสูงอีกชนิดหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของพืช
ลางสาดเป็นไม้ผลเมืองร้อน (ร้อนชื้น) ที่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นและมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี ลักษณะของใบลางสาดจะบางกว่าลองกอง และใบหยักเป็นคลื่นน้อยกว่า (ร่องใบตื้นกว่า) ลักษณะอื่น ๆ ใกล้เคียงกับลองกอง ลางสาดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแบบขนนกออกสลับกัน ดอกออกเป็นพวงสีเหลือง ผลสีเหลืองอ่อนรูปร่างกลมหรือรูปไข่ เปลือกผลบางมีขนนิ่ม มียางสีขาว ผลออกตามลำต้นหรือกิ่งที่แก่ เนื้อหุ้มเมล็ด ลักษณะใส ผลหนึ่งมีประมาณ 5 เมล็ด

langsadton langsaddib langsadpon

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้น มีความสูงปานกลาง ประมาณ 15 – 20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเขียวและมีร่องริ้วเล็ก ๆ เป็นรอยแตก เมื่อถูกทำให้เป็นแผลจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อไม่แก่นแข็งพอควร มีกิ่งเหยียดตรงขึ้นไป กิ่งก้านแตกเป็นสาขาระเกะระกะรอบต้น ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยแหลมหรือมัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 30-40เมตร ใบ เป็นใบรวม (Compound leaf ) ส่วนมากมีใบย่อย 3 คู่ หรือ มากกว่านั้น ก้านใบรวม เหนียวแข็งแรง ยาวประมาณ 1 1.5 ฟุต การเรียงตัวของใบบนก้านใบเป็นแบบสลับใบย่อยมีความกว้างประมาณ 2 3 นิ้ว ยาว 4 – 6 นิ้ว มีลักษณะยาวรี (elliptical )หรือป้อมรูปไข่ (Obovate) มีขนอ่อนปกคลุมโดยเฉพาะทางด้านล่างมีขนอ่อนปกคลุมอยู่หนาแน่น ปลายใบแหลมสั้นแผ่นใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีสีเขียวเข้มด้านบน เป็นมันด้านล่างสีเขียวจาง เส้นใบที่แยกออกจากเส้นกลางใบมี1015คู่ เรียงตัวแบบขนนกแต่ละเส้นโค้งไปทางด้านปลายใบปลายสุด ของเส้นใบเกือบ ถึงขอบริมใบ เส้นใบย่อยสานกันคล้ายตาข่ายเห็นได้ชัดเจน ก้านใบของแต่ละใบย่อยยาว0.81.2เซนติเมตร
  • ดอก โดยทั่วไปแล้วดอกจะออกจากตาตามลำต้นและกิ่งใหญ่ แต่ก็มีบ้างที่พบตามกิ่งเล็ก ๆ ซึ่งเป็นกิ่งแก่ ดอกจะออกเป็นเส้น ๆ หนึ่ง ๆ คือ
    1 ช่อดอก (inflorescence) บริเวณที่เกิดช่อดอกนี้มักจะมีปลายช่อเป็นกระจุก ช่อดอกนี้มีความยาวตั้งแต่ 6 12 นิ้ว การจัดเรียงตัวจองดอกในช่อ
    เป็นแบบ spike คือ ดอกแต่ละดอกเรียงติดกับก้านซึ่งเป็นแกนกลางสลับกันไปมา ก้านดอกอวบเหนียว ดอกเป็นดอกเดี่ยวชนิดสมบูรณ์ (hermaphroditic) มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ไม่มีก้านเกสร หรือถ้ามีก็จะสั้น มีกลิ่นหอม และมีน้ำหวาน กลีบรองอวบ มีลักษณะคล้ายถ้วย มีอยู่ 5 กลีบ
    แต่ละกลีบยาว 0.15 เซนติเมตร กว้าง 0.15 0.20 ซม.สีเหลืองอมเขียว หรือเหลืองอ่อน ปกคลุมด้วยขนอ่อน ๆ เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลและติดแน่นอยู่กับผลไม่ร่วงหลุดไป กลีบดอกอยู่ถัดเข้าไปจากกลีบรอง มีลักษณะเหยียดตรงอวบ รูปไข่มีขนอ่อนปกคลุมเช่นเดียวกัน มีสีขาว หรือเหลืองจาง แต่ละกลีบกว้าง 0.2 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.40.5 เซนติเมตร ถัดเข้าไปเป็นเกสรตัวผู้มีลักษณะคล้ายลูกบอล อวบ สั้นกว่ากลีบดอก อับละออง (anther ) เรียงเป็นชั้นเดียว ยาว 0.1 เซนติเมตร ตอนกลางของดอกเป็นรังไข่ (ovary ) กลม ปกคลุมด้วยขนอ่อน ทึบ ภายในแบ่งออกเป็น 4 5 ช่อง ยอดเกสรตัวเมียสั้นแข็งแรงและเป็นร่องริ้วหรือเป็นเหลี่ยม 4 5เหลี่ยม
  • ผล เป็นพวงแน่นติดอยู่กับก้านพวง ช่อสั้นกะทัดรัด (ไม่ยาวแบบพวงองุ่น ) ผลจะสุกในราวเดือนกันยายน ลักษณะของผลกลมหรือกลมยาว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 2.5 เซนติเมตร ยาว 2 4 เซนติเมตร สีเหลืองนวล หรือ เหลืองปนน้ำตาล หรือสีฟางอ่อน เปลือกบางคล้ายแผ่นหนังผิวเรียบ มีขนอ่อนสั้น ๆ แน่นทึบคล้ายกำมะหยี่ ปกคลุมอยู่ ที่เปลือกมียางสีขาวคล้ายน้ำนมเหนียวในผลหนึ่งปกติแล้วจะมีเมล็ดสมบูรณ์พียง 1 – 2 เมล็ด นอกนั้นจะลีบเสียไป แต่ละเมล็ดถูหุ้มด้วยเนื้อสีขาวขุ่น (opague ) สีขาวใส (tranlucent ) มีน้ำอยู่ภายใน ภายในผลจึงเห็นเป็นกลีบ ๆ (segments ) ประมาณ 5 กลีบ แต่ละ กลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีผนังบาง ๆ กั้น และมีกลิ่นของ turpentine อยู่ด้วย เนื้อของลางสาดมีรสชาติแตกต่างกันออกไป เช่น หวานสนิท หวานอมเปรี้ยว และเปรี้ยว เป็นต้น
  • เมล็ด มีลักษณะกลมแบนสีเขียวสด ขนาดยาวประมาณ 1.25 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร มีรสขม ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง (cotyledon ) หนาสีเขียว ภายในมีจุดกำเนิด (embryo ) 2 จุด จุดกำเนิดนี้มีอายุอยู่ไม่นานวันนัก จากการทดลองโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บเมล็ดไว้ในระยะเวลานานต่างกัน พบว่า เมื่อเก็บไว้นาน 1 – 5 วัน ในฤดูฝนมีเปอร์เซนต์ความงอก 90 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูหนาว 0 เปอร์เซ็นต์ คือไม่งอกเลย ถ้านำเมล็ดมาเก็บไว้ในขวดปิดผาแน่น เก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 15 องค์ศาเชลเชียส นาน 40 วัน มีความงอก 95 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเก็บใส่ขวดที่มีถ่านปนบรรจุอยู่ แล้วปิดฝาให้แน่นเก็บรักษาในตู้เย็นอุณหภูมิ 30 องค์ศาเชลเชียส นาน 5 วัน เปอร์เซนต์ความงอกจะเท่ากับ 0 คือไม่งอกเลย แต่ถ้าเก็บไว้ในขวดทีมีถ่านป่นปิดฝาแน่นในห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 22 องค์ศาเชล-เชียส นาน 5 วัน จะมีความงอกดีกว่าที่เก็บไว้ในอุณหภูมิปรกติ

พันธุ์
ถ้าแบ่งตามหลักพฤกษศาสตร์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 พันธุ์ คือ

  1. พันธุ์ Typica Backer พันธุ์นี้ ตามกิ่งเล็ก ๆ ที่ยังอ่อนอยู่หรือใต้ใบ กลีบรองก้านดอก จะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ผลมีลักษณะกลมยาวหรือค่อนข้างยาว เปลือกบาง ยางน้อยเมล็ดเล็ก เนื้อละเอียดหนา
  2. พันธุ์ Pubescens kds & Val เป็นพันธุ์ทีมีขนดก มีขนอ่อนปกคลุมอยู่หนาแน่น ผลมีลักษณะกลม เปลือกหนา ยางมาก เมล็ดใหญ่ เนื้อบาง และมีรสเปรี้ยว

ประโยชน์ของลางสาด
ลางสาด เป็นผลไม้ที่มีกลิ่นหอม รสชาติดี และยังมีคุณค่าทางอาหารสูง เนื้อของลางสาดประกอบด้วย

  • น้ำ 84.1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 14.3 กรัม
  • กาก 1.0 กรัม
  • แคลเซียม 1.4 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม
  • ไวตามิน B2 0.04 มิลลิกรัม
  • ไวตามิน C 3.0 มิลลิกรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 0.9 กรัม
  • พลังงาน 56 หน่วย
  • ฟอสฟอรัส 24 หน่วย
  • ไวตามิน B1 0.07 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม

การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก

ประโยชน์ทางสมุนไพร

  • เปลือกผล มีสารโอเลอเรซิน สรรพคุณแก้ท้องร่วงและบรรเทาอาการปวดท้อง
  • เปลือกต้น มีรสฝาด ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้
  • เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้
  • เนื้อลางสาด ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 และวิตามินซี เปลือกต้น ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้ไข้ เปลือกผล สามารถแก้อาการท้องร่วงท้องเดินได้ โดยการนำเปลือกมาหั่นแล้วนำไปคั่วชงกับน้ำเดือด กินครั้งละครึ่งถ้วย เมล็ด นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้น ใช้เป็นยาหยอดหู แก้อักเสบ หรือเป็นฝีในหู ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาเริมและงูสวัดได้

วิธีการปลูก
นิยมขายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก การเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว ระยะปลูกระหว่างต้น 4-6 เมตร ระยะระหว่างแถว 6-8 เมตร การติดผลช่วงปลายฝน

langsadkla

การดูแลรักษา
หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน ช่วงพัฒนาดอกและติดผล เมื่อพบการแตกใบอ่อน พ่นด้วยปุ๋ยทางใบ จำนวน 3 ครั้ง ช่วงเพิ่มพัฒนาการของผลใส่ปุ๋ยทางดิน อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม

langsadking

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  • โรคราสีชมพู ลักษณะการทำลาย เชื้อราเจริญปกคลุมเป็นสีขาวและชมพู ทำให้ใบเหลืองและกิ่งแห้ง ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วทาด้วยสารเคมี คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ โรครากเน่า ลักษณะอาการใบเหลืองร่วง ต้นทรุดโทรม และตายในที่สุด เกิดในสภาพมีน้ำท่วมขังและการระบายน้ำไม่ดี ทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายรากเน่าและโคนเน่า เมื่อพบให้ขูดแผลที่เน่าออกแล้วทาด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล
  • โรคผลเน่า ลักษณะผลเน่าเป็นสีน้ำตาล ยุบตัวลง และมีเชื้อราขึ้นเป็นผงสีขาว ควรป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมี เบนโนมิล ในช่วงผลใกล้แก่ โรคราดำ เกิดจากแมลงปล่อยสารคล้ายน้ำหวานบนผลและขั้วผล ทำให้เกิดราดำเจริญปกคลุม การป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่น เมธามิโดฟอส
  • เพลี้ยไฟ ลักษณะการทำลายที่ช่อดอก การป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่น อิมิดาโคลพริด เพลี้ยแป้ง ลักษณะการทำลายช่อผล ป้องกันกำจัดโดยปลิดผลหรือตัดช่อผลที่พบเพลี้ยแป้ง เผาทำลายทิ้งและพ่นด้วยน้ำ กำจัดเพลี้ยแป้งในระยะตัวอ่อน ใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น หนอนกินใต้ผิวเปลือก ลักษณะการเข้าทำลายโดยอาศัยและกัดกินอยู่ใต้ผิวเปลือก ทำให้กิ่งหรือลำต้นเป็นสะเก็ด และมีขุยคล้ายเศษไม้ผุรอบกิ่งหรือลำต้น เปลือกไม้มีรอยแตกเข้าทำลายช่วงที่ตาดอกกำลังพัฒนา การป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นน้ำให้เปียกชื้นก่อนจึงพ่นไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา อัตรา 2 ล้านตัว จำนวน 2 ครั้ง ทุก 15 วันในช่วงเย็น แมลงวันผลไม้ ดูดกินเนื้อเยื่อภายในหรือเพื่อวางไข่ ทำให้เกิดผล และผลเน่าในที่สุด

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
กินผลสด ใบ แก้บิด เมล็ด ขับพยาธิ เปลือกของผล มีสารโอเลอเรซิน ซึ่งมีสรรพคุณในการแก้ท้องร่วง และบรรเทาอาการปวดท้อง ผลสดหรือแห้ง 10 ผล หั่นคั่วชงน้ำดื่มกินครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 4-5 ครั้งแก้ท้องร่วง ท้องเดิน เปลือกต้น มีรสฝาด สรรพคุณใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้ หากนำเปลือกมาเผาเป็นควันจะขับไล่ยุงได้

ที่มา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เล็ก ชาติเจริญ.2507.ลางสาด.พืชสวน
วิทยา สุริยาภนานนท์.2528.ฐานเกษตรกรรม,ขยายพันธุ์ ลองกอง – ลางสาด
สมพงษ์ ทะทา.2527.ลางสาดและลองกอง . ชุมทางเกษตรฉบับข่าวและเทคโนโลยี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene