ลำโพง พืชพลังลึกลับจากอดีตสู่อนาคต

4 พฤศจิกายน 2558 สมุนไพร 0

ลำโพง ต้น และผลสดของลำโพงขาวมีพิษ ไม้พุ่ม ขนาด 1.5-1.8 เมตร ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบหรือง่ามกิ่ง มีสีขาวหรือขาวนวล เป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกมีขนาด 11.5-12.5 เซนติเมตร ใบเป็นรูปไข่ เส้นขอบใบหยัก ฐานใบไม่เท่ากัน ใบมีขน ผลเป็นรูปทรงกลมมีหนามแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เป็นรูปไต สีน้ำตาล-เหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Datura metel Linn.
วงศ์ Solanaceae เช่นเดียวกับพริกและมะเขือ
ชื่ออื่น ภาคกลาง (ลำโพง, ลำโพงขาว, ลำโพงกาสลัก) ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มะเขือบ้า) ส่วย-สุรินทร์ (ละอังกะ) เขมร-สุรินทร์ (เลี๊ยก) จีน-กรุงเทพฯ (มั่งโต๊ะโล๊ะ) ภาษาอังกฤษ (Thorn Apple.)

ลักษณะ
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วง ใบเดี่ยว รูปไข่ ออกเรียงสลับ กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบมีจักห่างๆ ใบเรียบ โคนใบไม่เท่ากัน ดอกโต รูปปากแตรหรือลำโพง ออกดอกเดี่ยว ตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วงโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบซ้อนกัน 2-3 ชั้น ดอกยาวประมาณ 3.5-5.5 นิ้ว กลีบเลี้ยงสีเขียว ติดกันเป็นหลอด ยาวครึ่งหนึ่งของความยาวดอก ผลรูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ 1.1.5 นิ้ว ผิวเป็นขนคล้ายหนามเป็นตุ่ม เนื้ออ่อนเป็นตุ่มๆรอบ ขั้วเป็นแผ่นกลมหนาริมคม ผลสีเขียวอมม่วง พอผลแห้งแตกออกได้ เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดกลมแบนเหมือนเมล็ดมะเขือ ลำโพงชนิดนี้เรียกว่า “ลำโพงกาสลัก” ลำต้นสีม่วงดำมัน ใบสีเขียวเข้ม ดอกสีม่วงดำ เป็นชั้นๆ มีจาก 2-7 ชั้น ในการทำยา นิยมใช้ลำโพงกาสลัก ดอกสีม่วงดำ ยิ่งซ้อนมากชั้นยิ่งมีฤทธิ์แรง ส่วนลำโพงขาว จะมีลำต้นและใบสีเขียวอมเหลือง ดอกสีขาว มีชั้นเดียว ผลสีเขียว ผิวมีหนามยาว

lampongs lampongpons lampongponlampongdok

ลำโพงขาว

lampongpalampongpayod
ลำโพงกาสลัก

ประโยชน์ของลำโพง
ลำโพงมีสรรพคุณทางสมุนไพร ปรากฏในตำราแพทย์แผนไทยหลายประการ เช่น

  • ใบ : รสเมาเบื่อ ตำพอกฝีทำให้ยุบ แก้ปวดบวม อักเสบ
  • ดอก : หั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูกและหอบหืด
  • ผล : แก้ไข้พิษ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย
  • เมล็ด : คั่วพอหมดน้ำมัน ปรุงทำกินเป็นยา บำรุงประสาท แก้ไข้พิษ
  • น้ำมันจากเมล็ด : ฆ่าเชื้อโรค แก้กลากเกลื้อน หิด เหา เชื้อโรคที่มีตัว
  • ราก : รสเมาหวานน้อยๆ แก้ฝีกาฬทั้งปวง ดับพิษ ร้อน แก้ปวดบวมอักเสบ
  • ถ่านจากราก : รสเย็น แก้ไข้พิษ เซื่องซึม แก้ไข้กาฬ

ตำรายาไทย ใช้ ใบ รสขมเมาเบื่อ ตำพอกฝี ทำให้ยุบ แก้สะอึกในไข้พิษไข้กาฬ ยาพอกแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้แผลเรื้อรัง แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้พิษฝี แก้ปวดแสบบวมที่แผล แก้ปวดบวม อักเสบ ใช้ทาแก้อักเสบเต้านม มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้อาการปวดเกร็งท้อง และขยายหลอดลม แก้หอบหืด มีฤทธิ์กดสมอง แก้อาเจียนจากเมารถเมาเรือ แต่มีอาการข้างเคียงคือ ปากคอแห้ง ใบและยอด มีอัลคาลอยด์ ที่มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม ดอก รสเมาเบื่อ ตากแห้งผสมยาเส้นสูบ แก้หอบหืด โพรงจมูกอักเสบ แก้ริดสีดวงจมูก มีสารแก้การตีบตัวของหลอดลม เมล็ด รสเมาเบื่อ คั่วให้หมดน้ำมัน ปรุงยาแก้ไข้พิษ ไข้กระสับกระส่าย น้ำมันจากเมล็ด รสเมาเบื่อ ปรุงยาใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน หิดเหา เมล็ดทาบรรเทาอาการปวดเมื่อย ขัดยอก โดยนำเมล็ด 30 กรัม ทุบพอแหลก แล้วแช่กับน้ำมันพืช ทาตรงบริเวณที่ปวดเมื่อย หรือขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ต้องแช่เอาไว้ประมาณ 7 วัน จึงจะนำมาใช้ได้ และใช้ใส่ฟันที่เป็นรู ช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ราก รสเมาเบื่อหวาน ฝนทาพิษร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดบวมแก้อักเสบ สุมเป็นถ่านปรุงยารับประทาน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เซื่องซึม เปลือกผล รสเมาเบื่อ แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้กระษัย แก้ริดสีดวง ทุกส่วน มีฤทธิ์เป็นยาเสพติดระงับปวด แก้อาการเกร็ง ทั้งต้น เป็นยาระงับปวด แก้อาการเกร็ง น้ำคั้นจากต้นเมื่อหยอดตาจะทำให้ม่านตาขยาย

lampongtonl

นอกจากนี้ บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัด แก้วิกลจริต และลำโพงทั้งต้นตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด

แม้แพทย์แผนโบราณของไทยจะใช้ลำโพงรักษาโรคได้มากมาย แต่ก็เตือนให้ระวังเป็นอย่างยิ่งถึงการใช้เมล็ดลำโพง เพราะเชื่อว่ามีพิษทางเมาเบื่ออย่างรุนแรง อาจทำให้เป็นบ้า หรือถึงตายได้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามะเขือบ้า รวมทั้งคนไทยในอดีตเรียกคนบ้าบางจำพวกว่า “บ้าลำโพง” เพราะเชื่อว่าเกิดจากการกินหรือสูบลำโพงนั่นเอง

ข้อควรระวัง
ผลและเมล็ดเป็นพิษ มีสารอัลคาลอยด์ hyoscine, hyoscyamine ถ้ากินเข้าไปทำให้เกิดอาการเริ่มต้นคือสายตาพร่ามัว ปากแห้ง กระหายน้ำมาก ม่านตาขยายและปรับสายตาไม่ได้ทำให้ตาไม่สู้แสง ผิวหนังร้อนแดงและมีผื่นแดงตามใบหน้า คอและหน้าอก ไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ ความรู้สึกสับสน การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ถ้าได้รับมาก วิกลจริต เพ้อคลั่ง เคลิ้มฝัน มีอาการทางจิตและประสาท ตื่นเต้น ตาแข็ง หายใจไม่สะดวก พูดไม่ออก หายใจช้าลง ตัวเขียว เมื่อแก้พิษหายแล้ว จะมีอาการวิกลจริตติดอยู่ตลอดไป รักษาไม่ค่อยหาย

lampongsuan

อาการเป็นพิษ
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าสารออกฤทธิ์ที่พบมากใน เมล็ด และใบลำโพงคือ โทรเพน อัลคาลอยด์ ได้แก่ สโคโพลามีน (scopolamine) และไฮออสไซอะมีน (hy-oscyamine)
ถ้ากินเมล็ดและใบของลำโพงเข้าไป จะปรากฏอาการภายในเวลา ๕-๑๐ นาที
อาการที่พบคือ กระหายน้ำรุนแรง ปากและคอแห้ง ตาพร่า ม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้ น้ำลายแห้งทำให้กลืนน้ำลายยากและพูดไม่ชัด ผิวหนังร้อนแดงและแห้ง ตัวร้อน ปวดศีรษะ รู้สึกสับสน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มึนงง มีอาการประสาทหลอน (ผู้เขียนเคยได้ยินการหายใจช้าและขัด ผิวหนังเป็นสีคล้ำเพราะขาดออกซิเจน
เด็กบางคนอาจมีอาการชัก ชีพจรเต้นเร็วและอ่อน นอกจากนี้ ยังมีอาการปัสสาวะคั่ง ท้องผูก รายที่รุนแรงจะหมดสติและโคม่า
ดังนั้น ทุกคนทั่วโลกจึงเกรงกลัวลำโพงมาก ถือว่าเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าชนิดหนึ่ง
การรักษา
ให้กินผงถ่าน เพื่อลดการดูดซึม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อล้างท้อง
อาจฉีดยาไฟโซสติกมีน (physostigmine) เข้าหลอดเลือดอย่างช้าๆ ถ้ามีอาการชักให้ไดอะซีแพม (diazepam) ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดเพื่อรักษาสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย

ที่มา
– ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จำกัด, 2544.
– นันทวัน บุณยะประภัศร: บรรณาธิการ. จุลสารโครงการศูนย์ข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล 2527;1(3):18-20.

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น