ลำไย ผลไม้รสเลิศ

25 ธันวาคม 2558 ไม้ผล 0

ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Nephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.วงศ์Sapedadceaeทีน(Native)ในพื้นที่ราบต่ำของลังกา อินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน

ประวัติลำไย
ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYaของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีน เมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้ง เสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานหลักฐานที่พบ เป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล(เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ ๕เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯขึ้นมา ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์ (Mutation)เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้าน หนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ ผลิตผลต่อต้นได้ ๔๐-๕๐ เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ก็พัฒนามาร่วม๖๐ปีและถ้านับถึง ปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม๙๐ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง๑๕๗,๒๒๐ไร่

lamyaipan

ชื่อภาษาอังกฤษ Longan
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimocarpus longen Lour. Euphoria longana Lamk. Nephelium longanum Camb.
วงศ์ Sapindaceae

ลำไยเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน ลำต้นเจริญเต็มที่สูงประมาณ 10-12 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้างประมาณ 6-8 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1001000 เมตร มีความลาดเอียง 1015 % ดินที่มีหน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร มีอินทรียวัตถุมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 5.56.5 และมีการระบายน้ำดี อุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนออกดอกต้องการอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสนานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตร/ปี และมีการกระจายของฝนดี

lamyailamton lamyaibai lamyaiyod

lamyaidok

ประโยชน์ของลำไย
เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเลืองแล้วแต่สายพันธุ์เนื้อลำไย สามารถ บริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร

lamyaicho

พันธุ์ลำไย
ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑลกวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี ๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลา
พันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ ๕ พวก คือ ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ

  1. สีชมพู ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด
  2. ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
  3. เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง
  4. อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ
    – อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดง
    – อีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
  5. อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ ่เมล็ดใหญ่ รสหวาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
    – อีแดง (อีแดงเปลือกหนา) มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่
    – อีแดง (อีแดงเปลือกบาง) ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
  6. อีดำ ผลใหญ ่ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ
    – อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง
    – อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
  7. ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ ๑๓.๗๕% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
  8. ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
  9. ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
  10. ลำไยเถาหรือลำไยเครือ มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด ภูเขาดงเล็ก ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก
    พันธุ์ลำไยแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
    1ก. ลำไยเครือหรือลำไยเถา
    1ข. ลำไยต้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  11. ลำไยพื้นเมืองหรือลำไยกระดูก
  12. ลำไยกระโหลก ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อหนาและรสหวาน พันธุ์ที่นิยมปลูกและเป็นพันธุ์ที่ส่งออกต่างประเทศคือ
    12.1 พันธุ์ดอหรืออีดอ เป็นพันธุ์เบา คือ ออกดอกประมาณ เดือนธันวาคม เก็บเกี่ยวประมาณ เดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม สามารถแบ่งตามสียอดอ่อนได้ 2 ชนิด คือ ยอดแดง และยอดเขียว
    12.2 พันธุ์สีชมพู เป็นพันธุ์กลาง ออกดอกประมาณปลายเดือนธันวาคมถึงต้นมกราคมเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม
    12.3 พันธุ์แห้ว เป็นพันธุ์หนัก ออกดอกปลายเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนสิงหาคม ลำไยพันธุ์แห้ว แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ยอดแดงและยอดขาว
    12.4 พันธุ์เบี้ยวเขียว เป็นพันธุ์หนัก ออกดอกปลายเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

คุณค่าทางอาหารของลำไยกองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า

  1. ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ๘๑.๑%คาร์โบไฮเดรต๑๖.๙๘%โปรตีน๐.๙๗%เถ้า๐.๕๖%กาก๐.๒๘% และไขมัน ๐.๑๑%
  2. ในลำไยสด๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน๗๒.๘แคลอรีและมีวิตามิน๖๙.๒มิลลิกรัม แคลเซียม๕๗มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส๓๕.๑๗มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก๐.๓๕มิลลิกรัม
  3. ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ๖๙.๐๖%น้ำ ๒๑.๒๗%โปรตีน ๔.๖๑%เถ้า ๓.๓๓%กาก ๑.๕๐% และไขมัน ๐.๑๗๑%
  4. ลำไยแห้ง ๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน ๒๙๖.๑แคลอรี แคลเซียม ๓๒.๐๕มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๕๐.๕มิลลิกรัม โซเดียม ๔.๗๘มิลลิกรัม เหล็ก ๒.๘๕มิลลิกรัม โพแทสเซียม ๑๓๙๐.๓มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค ๐.๗๒มิลลิกรัม วิตามินบี ๑๒จำนวน ๑.๐๘มิลลิกรัม

สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

  • ดิน มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 5.5 6.5
  • น้ำ มีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,000 มม./ปี และควรมีการกระจายของฝนดีประมาณ 100 150 วัน/ปี
  • อุณหภูมิ ลำไยต้องการความหนาวเพื่อช่วยชักนำให้เกิดตาดอก อุณหภูมิในช่วงนั้นควรอยู่ระหว่าง 10 15 oC นาน 1-2 เดือน
  • แสง แหล่งปลูกลำไยต้องโล่งแจ้ง มีแสงแดดส่องตลอดเวลา

การปลูก
ระยะปลูก 8 12 x 8 12 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก ขนาด 80x80x80 เซนติเมตร
ฤดูปลูกลำไย ปลูกได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะสมคือปลายฤดูฝน (กันยายนถึงตุลาคม) ซึ่งมีความชื้นในดินและอากาศเหมาะสม ลำไยจะเจริญเติบโตได้ดี

วิธีการปลูก ส่วนใหญ่ปลูกด้วยกิ่งตอน การปลูกจะขุดตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับภาชนะที่ใช้ชำ ใส่ฟูราดานรองก้นหลุมประมาณครึ่งช้อนแกง เพื่อป้องกันปลวกและแมลงในดิน จากนั้นกลบดินให้แน่น ให้สูงกว่าระดับพื้นดินทั่วไปเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปักหลักป้องกันลมโยกต้นลำไย

lamyaikla

ขั้นตอนของการขุดหลุมและปลูกต้นพันธุ์ลำไย
วิธีการปลูกลำไยที่ถูก ต้องจะช่วยให้ต้นลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดีและได้สวนลำไยที่มีความเป็น ระเบียบสวยงาม ควรมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

  1. วางไม้กำหนดตำแหน่งปลูก (planting board)ก่อนขุดหลุมในตำแหน่งปลูกเพื่อป้องกันไม่ให้ตำแหน่งของต้นลำไยเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมที่กำหนดไว้
  2. ขุดหลุมแยกดินชั้นบน และชั้นล่างไว้ไม่ให้ปนกัน ในสภาพที่มีความชื้นสูงควรมีการตากหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนปลูกเพื่อกำจัดศัตรูพืชที่อาศัยในดิน
  3. คลุกเคล้าปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบน อัตรา 1 :1 หรือ 2 : 1 ใส่ลงไปบริเวณก้นหลุม
  4. ปลูกต้นลำไยให้อยู่ในตำแหน่งต้นของไม้กำหนดตำแหน่งปลูก
  5. กลบดินให้แน่นกระชับให้สูงกว่าระดับพื้นและให้รอยเชื่อมต่อต้นพันธุ์(graft union)อยู่เหนือผิวดิน และรดน้ำให้ความชื้นหลังปลูก

การปฏิบัติดูแลรักษา
การดูแลรักษาในระยะที่ลำไยยังไม่ให้ผล

  1. การทำร่มเงา ควรทำร่มเงาให้ต้นลำไยที่ปลูกใหม่ เมื่อต้นลำไยตั้งตัวได้ดีแล้วจึงเอาที่บังร่มออก
  2. การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง จนต้นลำไยตั้งตัวได้ดีแล้วก็ให้น้ำตามความจำเป็น
  3. การคลุมดิน วัสดุใช้คลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว เศษหญ้า หรือพืชตระกูลถั่วต่างๆ ปลูกคลุมดิน ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน
  4. การสร้างทรงพุ่มของลำไย จะสร้างทรงพุ่มของลำไยให้เป็นต้นเดี่ยวขึ้นไปก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยให้แตกกิ่งก้านเมื่อมีความสูงจากดินประมาณ 1 เมตร ประมาณ 2 3 กิ่ง
  5. การให้ปุ๋ย เมื่อต้นพันธุ์ตั้งตัวได้แล้วควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก

การดูแลรักษาลำไยที่ให้ผลผลิต
เดือนกันยายน ระยะหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

  1. การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งที่ถูกโรคแมลงเข้าทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งไขว้ซ้อนกัน เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้น
  2. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10 20 กก./ต้น
  3. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น

เดือนตุลาคม ระยะแตกใบอ่อน

  1. พ่นปุ๋ยทางใบ อัตรา 20 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
  2. ควรกำจัดวัชพืชให้หมด

เดือนพฤศจิกายน ระยะใบแก่

  1. ควรมีการแต่งกิ่งอีกครั้ง ตัดเฉพาะกิ่งที่แตกออกมาเป็นกระจุก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกัน
  2. การใส่ปุ๋ย ประมาณ 1 – 2 กก./ต้น เพื่อบำรุงให้มีการสะสมอาหารและการสร้างตาดอก
  3. ควรงดให้น้ำเพื่อให้ต้นพักตัวเร็วขึ้น

เดือนธันวาคม ระยะใบแก่

  1. ควรกำจัดวัชพืช ทำความสะอาดสวนและใต้ทรงพุ่ม
  2. ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงต้นและกระตุ้นการสร้างตาดอก
  3. ควรงดการให้น้ำเพื่อให้ต้นลำไยมีการสร้างตาดอก

เดือนมกราคม ระยะแทงช่อดอก

  1. ควรมีการให้น้ำเล็กน้อย และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ
  2. ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อบำรุงช่อดอก และการติดผลที่ดี

lamyaidoks

เดือนกุมภาพันธ์ ระยะดอกบาน

  1. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควรนำผึ้งมาเลี้ยงในระยะนี้เพื่อช่วยในการผสมเกสร
  3. ควรงดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิด

เดือนมีนาคม – เมษายน ระยะติดผลขนาดเล็ก

  1. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควรใส่ปุ๋ย ประมาณ 1 2 กก./ต้น เพื่อบำรุงให้ผลโตอย่างสม่ำเสมอ

lamyaipolonlamyaionn

เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ระยะผลกำลังเจริญเติบโต

  1. ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
  2. ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 30 วัน ควรใส่ปุ๋ย

lamyaichor lamyais

เดือนสิงหาคม ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต

  1. ควรงดการให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 7 10 วัน
  2. การเก็บเกี่ยว ควรใช้ บันได หรือ พะอง พาดกิ่งขึ้นไปใช้กรรไกรตัดข้อผลให้ลึกเข้าไปประมาณ 1 ฟุต จากปลายช่อ

lamyaisuans lamyaisuan lamyaipoomlamyaipah

วิธีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก

  1. การเตรียมต้นก่อนการราดสาร โดยทำความสะอาดทรงพุ่มกำจัดวัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก ถ้าดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชุ่มก่อนการราดสาร 1 วัน
  2. อัตราของสารโพแทสเซียมคลอเรต (KCl3) ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร อายุลำไย หรือขนาดทรงพุ่มและชนิดของเนื้อดิน ในกรณีที่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย ควรใช้อัตราของสารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95 % ดังนี้
    ลำไย อายุ 5 7 ปี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 100 กรัม/ต้น
    ลำไย อายุ 7 10 ปี ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 150 กรัม/ต้น
    ลำไย อายุ 10 ปีขึ้นไป ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 200 กรัม/ต้น
    กรณีที่เป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ควรเพิ่มสารอีก 50 กรัม/ต้นในทุกอัตรา โดยละลายสารเคมีในน้ำประมาณ 50 100 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม
  3. การให้ความชื้น ภายหลังการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ควรให้น้ำเพิ่มขึ้นจนดินอิ่มตัวจนกระทั่งลำไยออกดอก ทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20 35 วัน
    14. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรทำก่อนฤดูกาลของการออกดอกตามปกติ คือไม่เกินเดือนพฤศจิกายน หรือหลังฤดูกาลปกติประมาณเดือน พ.ค.- มิ.ย.

การขยายพันธุ์ลำไย
ลำไยเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่ที่นิยมมากในปัจจุบันคือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอนเนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือต้นไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง, การทาบกิ่ง และการเสริมราก โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ป้องกันต้นลำไยโค่นล้ม

การขยายพันธุ์ลำไยด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้

การตอนกิ่ง
การตอนกิ่งเป็นวิธีที่ง่าย แต่ที่ขยายพันธุ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้จำนวนต้นในปริมาณที่มากนั้นมีเทคนิคและขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้

  1. การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลดี ข้อสำคัญต้นพันธุ์ต้องปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด
  2. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง แต่ถ้าเป็นกิ่งนอนก็ใช้ได้ แต่การเกิดรากจะเกิดเฉพาะด้านล่างขนาดความยาวของกิ่งยาวประมาณ 75-100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร
  3. ใช้มีดควั่นกิ่งเป็น 2 รอย หรืออาจจะควั่นรอยเดียวจากนั้นให้ใช้คีมปากจิ้งจกบิดโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้มีดกรีดเปลือก ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญจะถูกขูดออกมาด้วย การใช้คีมบิดจะทำให้เกิดความรวดเร็ว
  4. หุ้มด้วยดินเหนียว และกาบมะพร้าว และผ้าพลาสติก มัดกระเปราะหัวท้ายด้วยเชือกฟางหรือตอก (หรือหุ้มรอยควั่นด้วยถุงขุยมะพร้าว)
  5. ประมาณ 30 วัน รากจะเริ่มออกเมื่อเห็นรากมีสีขาวและมีปริมาณมากจึงค่อยตัดมาชำ
    ในการตอนกิ่งเพื่อการค้า มักจะเริ่มทำในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกิ่งตอนชุดนี้จะสามารถนำไปปลูกได้ในกลาง ๆ ฤดูฝนของปีเดียวกัน

การชำกิ่ง
การชำกิ่งตอนลำไย มีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกกิ่งที่มีรากสีขาว ลังเกตว่ามีปริมาณรากมากพอสมควรจึงทำการตัดกิ่งตอนลงชำควรริกิ่งและใบบางส่วนออกเพื่อลดการคายน้ำ
  2. แกะพลาสติกที่หุ้มกระเปราะออก ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้รากขาดได้
  3. นำกิ่งตอนลงชำในภาชนะที่บรรจุวัสดุชำ (ชาวสวนมักใช้ตะกร้าไม้ไผ่สาน หรือที่เรียกกันทางเหนือว่า “เป๊าะ”) วัสดุชำประกอบด้วยดินผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2:1 วางกิ่งให้ตรง กดดินให้แน่น นำกิ่งที่ชำเสร็จแล้ว ไปเก็บไว้ในที่ร่ม ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้
    อย่างไรก็ตามวิธีการใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานเป็นภาชนะปลูกมีข้อเสียคือ ปลวกมักจะเข้าทำลายกัดกินไม้ทำให้ผุง่าย และเมื่อเก็บกิ่งตอนลำไยทิ้งไว้นาน ๆ จะมีรากโผล่ออกจากภาชนะ เมื่อโดนแสงแดดรากอาจได้รับอันตราย มีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในกรณีที่เก็บกิ่งตอนไว้นาน ๆ ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาด 8×10 นิ้วเป็นภาชนะชำกิ่ง

การเสียบกิ่ง
การปลูกลำไยในปัจจุบันชาวสวนลำไยมักปลูกลำไยด้วยกิ่งตอนจึงทำให้เกิดปัญหาการโค่นล้มเนื่องจากลมพายุ ทั้งนี้เนื่องจากระบบรากของลำไยที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นระบบรากพิเศษ คือ ระบบรากแบบนี้จะแผ่กว้างไปในแนวนอน จากการสังเกตรากของลำไยจะน้อย ประกอบกับลำไยมีทรงพุ่มทึบและกว้างในปีที่ลำไยติดผลมาก ๆ เมื่อเกิดลมพายุจึงมักจะโค่นล้ม พบว่าปีหนึ่ง ๆ ลำไยถูกพายุโค่นล้มเป็นจำนวนมาก วิธีการที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทางหนึ่ง คือการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไยด้วยกิ่งที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน การเสียบกิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
การเตรียมต้นตอ
ต้นตอที่จะใช้ในการเสียบกิ่งได้จากการเพาะเมล็ด เมื่อแกะเอาเนื้อออกควรรีบนำไปเพาะทันที หากเก็บเมล็ดไว้นานเมล็ดจะสูญเสียความงอก มีการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดลำไย พบว่าเมล็ดที่แกะออกจากผลแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง พบว่า เพียง 10 วัน เมล็ดลำไยจะไม่งอกเลย ในกรณีที่จะเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ ควรเก็บไว้ทั้งผล โดยแช่ในสารกันราพวกเบนโนมิล ความเข้อมข้น 0.05 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 5 นาที สามารถเก็บไว้ได้นาน 30 วันโดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกถึง 85 เปอร์เซ็นต์ การเพาะอาจเพาะลงในถุงพลาสติกหรือเพาะในกระบะ ฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 สัปดาห์ เมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ก็สามารถนำไปใช้เป็นต้นตอได้
การเตรียมยอดพันธุ์ดี
ยอดพันธุ์ดีที่ใช้ในการเสียบกิ่งควรมีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับขนาดของต้นตอ ริดใบออกให้เหลือใบไว้ 2-3 ใบรวม มีใบย่อย 2-3 คู่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเสียบยอดคือ ช่วงปลายฤดูร้อนถึงฤดูฝน
ขั้นตอนการเสียบกิ่ง
ใช้วิธีการแบบเสียบลิ่มซึ่งได้ผลถึง 90 กว่าเปอร์เซ็นต์

  1. ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3-4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว
  2. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 1 นิ้ว
  3. เผยอรอยผ่าบนต้นตอแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน
  4. พันด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นนำไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่นนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 40-50 วัน จึงเปิดถุง
  5. นำออกจากถุง เลี้ยงไว้อีก 2 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก

การทาบกิ่ง
การเตรียมต้นตอ
เลือกต้นตออายุประมาณ 1-2 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4-1.0 เซนติเมตร นำต้นตอมาล้างรากและตัดรากบางส่วนออก นำไปจุ่มในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น 8,000-10,000 ส่วนต่อล้าน นาน 5 วินาที (อาจใช้เซราดิกซ์ เบอร์ 3) หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสขนาด 4×6 นิ้ว พบว่ากิ่งทาบออกรากได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่กิ่งไม่ได้ใช้สารออกรากเพียง 65 เปอร์เซ็นต์ นอกขจากนี้มีการทดลองใช้ NAA ความเข้มข้น 2,000 ส่วนต่อล้านสามารถชักนำให้กิ่งทาบ เกิดรากได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์
การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี
เลือกกิ่งกระโดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอความยาวประมาณ 20 นิ้ว ควรเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดด
ขั้นตอนการทาบกิ่ง

  1. การเตรียมรอยแผลของต้นตอ โดยเฉือนแผลของต้นตอเป็นรูปลิ่มให้มีความยาวทั้งสองด้านประมาณ 1 นิ้ว
  2. การเตรียมรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี เฉือนเฉียงขึ้นให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อยยาวประมาณ 1 นิ้ว
  3. นำรอยแผลของต้นตอประกบกับรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน
  4. พันด้วยพลาสติกให้แน่น ประมาณ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดราก

การตัดกิ่งทาบชำลงถุง
หลังจากทาบกิ่งได้ 45-60 วัน ต้นตอจะเกิดรากโดยสังเกตว่ารากที่เกิดขึ้นมีจำนวนมากค่อยตัดกิ่งมาชำลงถุง ก่อนชำควรริดใบออกบ้างเพื่อลดการคายน้ำ จากนั้นแกะถุงพลาสติกที่หุ้มต้นตอออกควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน นำกิ่งทาบชำลงในถุงพลาสติก โดยใช้วัสดุชำ คือ ขี้เถ้าแกลบ:ดิน:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:2:1 นำกิ่งที่ชำเก็บไว้ในที่ร่มรำไร ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อกิ่งทาบตั้งตัวได้ดี ค่อยนำไปปลูกในแปลง โดยให้รอยต่อของกิ่งทาบอยู่เหนือวัสดุปลูก

ที่มา
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น