ลูกนาง ผักเหนาะของชาวใต้

18 พฤษภาคม 2558 ไม้ยืนต้น 0

ลูกนางนับเป็นพืชพันธุ์พื้นถิ่น หรือผักเหนาะของชาวใต้ ที่หายากอีกชนิดหนึ่ง และนับวันใกล้จะสูญพันธุ์เข้าไปทุกที หากไม่มีการอนุรักษ์โดยการช่วยกันศึกษาถึงคุณค่า-ประโยชน์ทางโภชนาการและเวชการ และโดยการหันมาบริโภคเพื่อมีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งสายพันธุ์ของ “ลูกนาง” พืชพันธุ์ไม้ป่าที่มีอยู่ในแถบถิ่นภาคใต้ของไทยเพียงแหล่งเดียว.

คุณลักษณะ
ลูกนางเป็นไม้ยืนต้น พบทางภาคใต้ มีลักษณะต้นทรงพุ่มเหมือนต้นเนียงทุกประการ โดยทั่วไปหากไม่สังเกตให้ดีจะดูไม่ออกว่าเป็นต้นเนียง หรือต้นนาง ออกฝักก็เหมือนเนียง แต่หากชิมรสชาติจะรู้ว่าไม่ใช่เนียง(สำหรับคนที่เคยกินลูกเนียงอยู่บ่อยๆ) ลูกนางเพาะจะมีรสชาติดี มัน กรอบดี กลิ่นฉุนน้อยกว่าเนียงนก และเนียงใหญ่

loognangna

ที่อยู่อาศัย
นาง ชอบขึ้นตามชายป่าดิบชื้นทางภาคใต้ พบมากแถวป่าเขาที่มีความชื้นสูง แถวชายแดนมาเลเซียจะมีมาก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ยะลา นราธิวาส และยังพบขึ้นห่างๆตามชายป่าดิบบนพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นใกล้ลำธารบนเทือกเขาตะนาวศรีทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ กระบี่ ตรัง สตูล

loognangton loognangkla

การใช้ประโยชน์
ลูกนาง หรือเมล็ดนาง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกันโดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทยเรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสดหรือผักเหนาะ ใช้ลูกอ่อนปอกเปลือกหรือเพาะจนงอกหน่อหรือต้นอ่อน จิ้มน้ำชุบ(น้ำพริก) หรือรับประทานร่วมกับอาหารรสเผ็ด หรือบูดู หรือแกงพุงปลา หรือเป็นผักเหนาะขนมจีน

loognangpao loognangmed

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น