ผ้าขาวม้าห่อเป็นลูกกลมๆ ไม่ต้องมีตัวยาหรืออุปกรณ์ใดๆ เพิ่มเติม ดูเรียบง่ายจนไม่น่าเชื่อว่า นี่คือ ลูกประคบผ้าขาวม้า อุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายที่ได้ผลอย่างน่าทึ่ง ทั้งยังทำง่าย ใช้งานง่าย ใครที่มีอาการปวดเมื่อย ก็สามารถทำและนวดได้ด้วยตัวเอง
ลูกประคบผ้าขาวม้านี้ เป็นภูมิปัญญาที่คิดค้นขึ้นโดย ลุงจำรัส ตักเตือน แห่งตำบลวังน้ำคู้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ตอนนี้เป็นกรรมการกลุ่มคลังปัญญา ชมรมผู้สูงอายุ ตำบลวังน้ำคู้ ซึ่งตอนนี้ใครๆ ก็เริ่มรู้จักและเรียกขานว่า หมอนวดผ้าขาวม้า
ลุงจำรัส เล่าถึงที่มาของภูมิปัญญา ว่า ได้ความคิดมาจาก ลูกช่วง ซึ่งเป็นการละเล่นในเทศกาลสงกรานต์สมัยก่อน และมีอุปกรณ์สำคัญ คือ ลูกช่วง ซึ่งทำจากผ้าม้วนเป็นลูกกลมๆ
ลุงจำรัส ตักเตือน หนึ่งในกรรมการกลุ่มคลังปัญญา ชมรมผู้สูงอายุ ที่รูจักกันในนาม “หมอนวดผ้าขาวม้า” ตำบลวังน้ำคู้ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เจ้าของความคิดลูกประคบผ้าขาวม้า เล่าถึงที่มาของการทำลูกประคบด้วยผ้าขาวม้าว่า คนสมัยก่อนมักเล่นลูกช่วงในเทศกาลสงกรานต์ โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายให้เท่าๆ กัน แล้วเริ่มโยนลูกช่วง หากเขาขว้างมาโดนเรา เราก็ต้องไปเป็นทาสฝ่ายเขา หากฝ่ายไหนแพ้จะมีการลงโทษ อาจเป็นการรำวงหรือให้ทำอะไรก็ได้
ลุงมีความคิดนี้ตั้งแต่เมื่อปี 2549 หลังกลับมาจากกรุงเทพฯ เพราะไปทำงานแบกหามกว่า 20 ปี ทำให้ปวดเมื่อยแขนขามาตลอด พอนานๆ ไปแขนเริ่มยกไม่ขึ้น กลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบทั้ง 2 ข้าง ไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอก็ให้ยามากิน แต่กินเท่าไรก็ไม่หาย เลยลองเปลี่ยนไปหาหมอนวด เขาก็นวดแบบจับเส้น มันเจ็บจนน้ำตาไหลแต่ก็ยังไม่หาย ก็เลยมานึกถึงสมัยหนุ่มๆ ที่เคยเล่นลูกช่วง ซึ่งเป็นลูกกลมๆ มัดด้วยผ้าขาวม้า ก็ลองทำดู แล้วก็เอามาหนุนหลังนอน พอเอาส่วนที่ปวดเมื่อยมานอนทับแล้ว รู้สึกว่าบรรเทาอาการได้มาก ได้ผลดี ต่อมาก็เลยเอาความรู้มาเผยแพร่ โดยการทำลูกประคบมานวดให้กับคนที่ปวดเมื่อย แล้วก็เอาความรู้นี้มารวมอยู่ในคลังปัญญาในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลวังน้ำคู้
ลุงจำรัส เล่าถึงข้อดีของการใช้ลูกประคบผ้าขาวม้า ว่า เราสามารถกะน้ำหนักเองว่าสามารถกดจุดตรงนี้แรงได้ เบาได้ แต่หากถ้าเราไปนวดกับหมอนวด เขาไม่รู้จักน้ำหนักเรา เขาก็นวดเบา นวดแรง กะน้ำหนักไม่ได้ เราอาจได้รับความเจ็บปวด ข้อดีอีกข้อหนึ่งคือไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะทำเอง ใช้เอง
ลุงจำรัส เปิดเผยวิธีการทำลูกประคบผ้าขาวม้าว่า
เราต้องเอาผ้าขาวม้ามามัดเข้ากับมือข้างที่ถนัดและมัด ม้วน เข้าด้วยกัน เหลือปลายผ้าขาวม้าไว้ประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพื่อผูกปมด้านบน แล้วดึงให้สุดปลายผ้า ม้วนพับเก็บอีกครั้ง เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ส่วนผ้าที่ใช้ต้องเป็นผ้าขาวม้าอย่างเดียวเพราะใช้ผ้าอื่น มันจะมัดไม่สะดวก หรือตอนที่กำลังใช้ลูกประคบอาจทำให้ลื่น เกิดอันตรายได้
ลูกประคบผ้าขาวม้านี้ใช้ได้ดีกับอาการเมื่อยจากการนั่งเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยเอาลูกประคบสอดไว้บริเวณที่ปวดเมื่อย แล้วกดลงตรงจุดที่ปวดเมื่อยประมาณ 10-15 นาที ทำทุกวันประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก็หายดีเป็นปกติ เคยมีคนจากตำบลอื่นที่เขามาศึกษาดูงาน เขาเล่าให้ฟังว่า เขาเป็นหมอนวดแพทย์แผนไทย ที่ตำบลมีคนเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ไม่สามารถลุกนั่งหรือเดินไปไหนได้ เราจึงแนะนำการทำการใช้ลูกประคบผ้าขาวม้าให้เขาไป เมื่อเขากลับมาศึกษาดูงานอีกครั้ง เขาก็บอกว่าคนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตสามารถลุกขึ้นนั่งได้แล้ว ทำให้เราทราบว่านอกจากบรรเทาอาการปวดเมื่อยแล้ว ยังสามารถบำบัดโรคสำหรับผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ด้วย ลุงจำรัส กล่าว
วิธีการทำลูกประคบผ้าขาวม้านั้น “ต้องนำผ้าขาวม้ามามัดเข้ากับมือข้างที่ถนัดและมัด ม้วน เข้ากันเหลือปลายผ้าขาวม้าไว้ประมาณ 1 ไม้บรรทัดเพื่อผูกปมด้านบน แล้วดึงให้สุดปลายผ้า ม้วนพับเก็บอีกครั้งส่วนผ้าที่ใช้ต้องเป็นผ้าขาวม้าอย่างเดียวเพราะใช้ผ้าอื่นไม่ได้ อาจมัดไม่สะดวก หรือขณะที่ใช้ลูกประคบอาจทำให้ลื่นเป็นอันตรายได้”
นอกจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาผ่อนคลายความปวดเมื่อยให้กับตนเองแล้ว ลุงจำรัสยังเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทุกชุมชนในตำบล เพื่อนำความรู้ไปปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ลุงจำรัสบอกถึงว่า ลูกประคบผ้าขาวม้านี้สามารถใช้ได้ดีกับอาการเมื่อย หลังจากนั่งรถมาเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยเอาลูกประคบสอดใส่ไว้บริเวณที่ปวดเมื่อย แล้วกดลงตรงจุดที่ปวดเมื่อยประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็หายดีเป็นปกติ
การใช้ลูกประคบผ้าขาวม้าบำบัดอาการปวดเมื่อย ทำง่าย ได้ผลดี มีการเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำคู้ ได้เห็นความสำคัญและสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ จึงเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้กลุ่มคลังปัญญาผู้สูงอายุ
จากอุปกรณ์การละเล่นในอดีต เปลี่ยนหน้าที่มาเป็นอุปกรณ์บำบัดอาการปวดเมื่อยด้วยผ้าขาวม้า นี่จึงนับเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านแท้ๆ ที่ต่อยอดจากภูมิปัญญาในอดีต เป็นรูปแบบเดิมในหน้าที่ใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้มีอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี
ที่มา: หนังสือนิตยสารหมอชาวบ้าน “เรื่องน่ารู้”
ป้ายคำ : สุขภาพพึ่งตน