โลกนี้ไม่มีวัชพืช

20 มกราคม 2556 สมุนไพร 0

วัชพืชคืออะไร ตามปกติคำนิยามที่ใช้อยู่ในทางเกษตรก็คือ พืชที่ขึ้นผิดที่ พืชที่ขึ้นอยู่ในที่ที่คนไม่ต้องการ พืชที่ยังหาประโยชน์ไม่พบ หรือพืชซึ่งมีผลกระทบต่อกิจกรรมหรือความต้องการของคน อย่างไรก็ตามคำนิยามเหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัด Sagar (1968) ให้คำนิยามว่า วัชพืชคือพืชอะไรก็ได้ซึ่งถ้ายอมให้ขึ้นอยู่ในระบบแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งดูแล้วก็น่าจะเป็นคำนิยามที่เหมาะสมที่สุด

จากความหมายเหล่านี้พืชแต่ละชนิดมีโอกาสกลายเป็นวัชพืชได้เป็นต้นว่า ข้าวที่งอกอยู่ในแปลงถั่วเหลืองก็ถูกจัดเป็นวัชพืชได้ หรือหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ที่ขึ้นอยู่ในนาข้าวก็เป็นวัชพืช แต่ถ้าปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ไม่เป็นวัชพืช เพราะฉะนั้นพืชของคนคนหนึ่งอาจเป็นวัชพืชของอีกคนหนึ่งได้ ในจำนวนพืชที่มีเมล็ดทั้งหมดประมาณ 250,000 ชนิด มีอยู่เพียง 250 ชนิดหรือประมาณ 0.1 เปอร์เซ็นต์ที่จัดเป็นวัชพืชสำคัญในพื้นที่ที่ทำการเกษตร และที่จัดเป็นวัชพืชร้ายแรงจริงๆ มีอยู่เพียง 25 ชนิด หรือประมาณ 0.01 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (Ross and Lembi, 1985)

วัชพืชบางอย่างในแปลงหนึ่ง ไม่เป็นวัชพืชในอีกแปลงหนึ่ง พอคนให้ความสำคัญเพราะเห็นประโยชน์ วัชพืชจึงกลายเป็นสมุนไพร เพราะแท้ที่จริงๆแล้วพืชทุกชนิดก็มีประโยชน์ของตนเองเสมอ ส่วนเราเองที่โง่เองรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่จะเข้าถึงปัญญาและคุณค่าของพืชเหล่านั้น จากนี้ไปไม่มีคำว่า วัชพืชในใจ เราอีกต่อไป ปรับเปลี่ยนเป็น สมุนไพรในใจ แทน ถามหากคุณไม่เห็นค่าแล้วคุณจะยังคิดว่าเป็นวัชพืชอยู่อีกหรือ ทำไมไม่ลองวิจัยศึกษาคุณประโยชน์ล่ะ

การถอนวัชพืชทิ้งบางทีเป็นหลักการทางตะวันตก เน้นการทำลายตัดออก มีอะไรก็ผ่าตัด เป็นเนื้องอกก็ผ่าตัด มองส่วนไหนที่ไร้ประโยชน์ก็เอาออก เห็นไส้ติ่งไร้ค่าก็ตัดออก ทำให้ผมนึกถึงกรณีหนึ่งเกี่ยวกับการรักษาแนวทางตะวันตกและตะวันออก ชายคนหนึ่งปวดท้องไส้ติ่งจะแตก อีกสามวันหมอนัดผ่า แต่เค้าไม่อยากผ่าตัดก็เลยไปหาหมอสมุนไพร และได้ยาดีไปพร้อมบอกว่าหากหายจะมาตอบแทนคุณ สรุปว่าในที่สุดเค้าผิดนัดหมอและไส้ติ่งก็หายไปเองไม่เจ็บอีกต่อไป ยาสมุนไพรมันมีไว้กินหรือทาเพื่อเข้าไปเจรจากับชิ้นส่วนภายในให้สมานฉันท์กัน นี่มันเป็นแนวคิดตะวันออกที่เค้าว่ากัน มันต่างจากแนวคิดตะวันตกที่เค้าว่าต้องให้ยา แล้วตามด้วยผ่าตัด หรือตัดมันออก

ในสมัยพุทธกาล การเรียนวิชาแพทย์ต้องเรียนจากสำนักอาจารย์ และเล่าเรียนเป็นเวลานาน ในการทดสอบขั้นสุดท้ายเพื่อให้ศิษย์จบการศึกษา มีตำนานเล่าไว้ว่า อาจารย์จะให้ผู้เป็นศิษย์เดินจากสำนักเรียน ไปในทิศทั้งสี่ ได้แก่ ทิศเหนือ ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตก เป็นระยะทางประมาณ 1 โยช น์ หากศิษย์เดินผ่านต้นไม้ชนิดใดแล้วไม่สามารถบอกถึงสรรพคุณของพืชชนิดนั้นได้ แสดงว่ายังเรียนไม่จบ นั่นแสดงให้เห็นถึงความรู้อันเป็นภูมิปัญญาในการใช้พืชเป็นยารักษา ป้องกัน บรรเทาโรค หรือที่เรียกว่าา สมุนไพร นั่นเอง

พืชที่คิดว่าเป็นวัชพืช อาจจะมีประโยน์ตัวอย่างเช่น

มัยราพ

maiyarapสมุนไมยราบ ไม้ล้มลุกสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ไมยราบหรือหญ้าปันยอดมักมองกันว่าเป็นวัชพืชไร้ค่า แต่รู้ไหมว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณ ไมยราบเป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มรอเลื้อย มีหนามตามลำต้นและข้อ ใบมีลักษณะแบบขนนก 2 ชั้น มีปฏิกิริยาไวต่อการสัมผัส ใบจะหุบลู่ลง พืชสกุลไมยราบมีอยู่ประมาณ 480 ชนิด มักมีถิ่นกำเนิด อยู่ในอเมริกาใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นเป็นวัชพืช 3 ชนิดคือ ไมยราบ ไมยราบขาว และไมยราบต้น นับว่าเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณ ทั้งต้นมีรสชุ่ม เย็นจัด แก้ไข นอนไม่หลับ สงบประสาท แก้เด็กเป็นตาลขโมย ตาบวมเจ็บ แผลฝี ผื่นคันและออกหัด รากรสขมเล็กน้อย ฝาด สุขขุม แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปวดตามข้อ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บำรุงกระเพาะอาหาร ระงับประสาท

หญ้าคา

yahkarหญ้าคาขึ้นชื่อว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคมะเร็งคอ แก้ลมพิษ ผื่นคัน
แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคริดสีดวง แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้โรคเบาหวาน เป็นต้น โดยส่วนต่างๆของหญ้าคามีคุณสมบัติ
ในการรักษาโรคได้หลายอย่าง ดังนี้
ในส่วนของ ราก มีประโยชน์ในแง่ใช้ปรุงเป็นยารับประทานเพื่อห้ามเลือด แก้ร้อนใน แก้ไอกระหายน้ำ แก้เลือดกำเดาไหล
แก้พิษอักเสบในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ในส่วนของ ใบ มีประโยชน์ในแง่ใช้ปรุงเป็นยาต้มอาบ แก้ลมพิษ ผื่นคัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น ในส่วนของ
ดอก มีประโยชน์ในแง่ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ปวด อุจจาระเป็นเลือด และยังสามารถนำมาตำเป็นยาพอกแผลอักเสบ บวม
ฝีมีหนอง เป็นต้น

สาบเสือ

sabbsearพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ นำเสนอผลการวิจัย สาขาการแพทย์ เรื่อง “การศึกษาประสิทธิผลการห้ามเลือดโดยใช้ใบสาบเสือแบบแห้งและก๊อซ”
ใช้ใบสาบเสือแห้งในการห้ามเลือด เริ่มจากการคัดเลือกใบสาบเสือชนิดสมบูรณ์ นำมาล้างทำความสะอาด หั่นฝอยตากแห้งโดยไม่ตากแดดโดยตรง นำมาบรรจุใส่ถุงชาเพื่อนึ่งฆ่าเชื้อแล้วนำใบสาบเสือแห้งห้ามเลือด ซึ่งแผลที่ใช้ใบสาบเสือห้ามเลือด เป็นแผลที่เกิดการฉีกขาดถึงระดับเส้นเลือดฝอย ไม่ได้ฉีกขาดถึงระดับเส้นเลือดแดงหรือเส้นเลือดดำ ข้อสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ การใช้ใบสาบเสือแบบแห้งสามารถห้ามเลือดใช้ระยะเวลาน้อยกว่าก๊อซ ผู้ป่วยบาดแผลที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป เป็นจุดที่ควรมีการพัฒนาต่อเพื่อแปรรูปสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้วงการแพทย์

แห้วหมู

hawmooตำรายาโบราณ ระบุว่า หัว แห้วหมู สด เอาเปลือกออกล้างน้ำให้สะอาดกินทุกวันตอนเช้า วันละ 23 หัว จะช่วยให้ดวงตาแข็งแรง ตาไม่มัว สามารถกินได้เรื่อยๆจะทำให้ตาไม่แก่ หมายถึงตาใสไม่ขุ่นมัวมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งสูตรดังกล่าวเป็นการกินป้องกันก่อนมีอาการตามัว เพราะถ้าเป็นแล้วต้องพบแพทย์อย่างเดียว สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย

วัชพืช คือ พืชที่ความดีของมันยังไม่ถูกคนพบ (ราล์ฟ อัลโด เอเมอร์ลิน)

สิ่งที่งอกขึ้นมาจากดินให้เรียกว่าปุ๋ยพืชสด ความเชื่อว่ามีวัชพืช คือพืชไร่ไม่ต้องการ คนก็เอายาพิษไปกำจัด ถ้าเรียกว่าปุ๋ยพืชสด เราจะหา ความรู้ ไปทำให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น วิชาคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว วิชาปรับสภาพดิน ปรับสภาพน้ำ การทำนาปาเป้า การทำสรรพสิ่งน้ำ สรรพสิ่งผง สรรพสิ่งก้อน การระเบิดดินให้ร่วน การทำให้ข้าวแตกกอ การทำให้ข้าวออกรวงใหญ่ ฯลฯ

ดังนั้นการปลูกพืชอย่างเข้าใจในระบบนิเวศน์พืช สังคมพืช การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนของพันธุ์พืชชนิดต่างๆ มีความสัมพันธ์กันระหว่างชนิดไม้เหล่านั้นกับปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในพื้นที่นั้นด้วย อาจรวมถึงกลุ่มพืชในจินตนาการ ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยรวมในแนวความคิดที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจได้โดยไม่ต้องเห็นภาพหรือสภาพพื้นที่จริง เช่น สังคมทุ่งหญ้า สังคมป่าดงดิบแล้ง สังคมป่าเต็งรัง สังคมป่าผสมผลัดใบ เป็นต้น ส่วนกลุ่มพืชที่กำหนดเจาะจง โดยถือลักษณะโครงสร้างและมีพื้นที่ที่แน่นอน ในทางนิเวศวิทยาป่าไม้ นิยมใช้คำว่า ‘ Association ‘ ซึ่งหมายถึง สังคมที่บอกถึงองค์ประกอบของชนิดไม้ในสังคมอย่างแน่นอนในระดับหนึ่ง ในแต่ละ Association ประกอบไปด้วยหมู่ไม้ ( Stand ) ต่างๆ ที่มีลักษณะเหมือนๆ กันมาประกอบกันเข้า สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่จริงและมีขอบเขต

หากเราสร้างสังคมพืช หรือให้ธรรมชาติสร้างขึ้นระบบที่พึ่งพาอาศัยกันจะเกิดขึ้น และปรับสมดุลไปในทิศทางที่เหมาะสมและเกื้อกูลกัน หากเราเป็นผู้จัดการระบบสังคมพืช จึงควรรู้ว่าพืชพึงพากันอย่างไร เรียนรู้จากธรรมชาติ ธรรมชาติจะสอนเราเอง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น