นายดาบตำรวจวิชัย สุริยุทธ ผู้บังคับงานหมู่สอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษที่อุทิศเวลาในชีวิตร่วม ๒๐ ปี ก้มหน้าก้มตาปลูกต้นไม้ทุกวันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
นายตำรวจผู้ใช้เวลาว่างจากงานราชการ ออกปลูกต้นไม้ทุกวันตามที่รกร้างว่างเปล่า ไหล่ถนน ที่ดินสาธารณะ ฯลฯ ปลูกโดยที่ไม่มีนายสั่ง ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ จะมีบ้างก็เสียงหัวเราะลอยลมของเด็กๆ และชาวบ้านที่คิดว่าเขาเป็นบ้าเวลาผ่านไปเกือบ ๒๐ ปี อำเภอปรางค์กู่ซึ่งเคยเป็นอำเภอที่แห้งแล้งยากจนที่สุดในประเทศ กลับร่มรื่นเขียวขจีไปด้วยต้นไม้นานาชนิด โดยเฉพาะต้นตาลที่นับได้ไม่ต่ำกว่า ๒ ล้านต้น ไม่รวมไม้ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าต้นยางนา ต้นคูน ต้นสะเดา ต้นขี้เหล็ก ฯลฯ
วิชัย สุริยุทธิ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรคนที่สาม ในจำนวนทั้งหมดหกคน บิดามารดามีอาชีพชาวนา ฐานะทางบ้านจึงยากจน ขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มารดาก็เสียชีวิต บิดาเขาจึงต้องทำนาคนเดียว และเขาจึงต้องรับจ้างทำงานสารพัด ไม่ว่าจะเป็นกรรมกรก่อสร้าง, จับกัง กระทั่งได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนอุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษวิทยาลัย รับราชการตำรวจ
หลังจบโรงเรียนพลตำรวจ 3 จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2511 ก็ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ประจำสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ ต่อมาในปี พ. ศ.2513 ย้ายมาประจำ สถานีตำรวจภูธรอำเภอปรางค์กู่[1] จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ในปี พ.ศ. 2549 ขณะดำรงตำแหน่งผู้บังคับหมู่งานป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรอำเภอปรางค์กู่
พ.ศ. 2548 ดาบตำรวจวิชัย สุริยุทธ ได้รับพระราชทานยศเป็นกรณีพิเศษ เป็น ร้อยตำรวจตรี จากการอุทิศตนต่อประเทศชาติ
ปลูกต้นไม้
พ.ศ. 2520 จากข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ปรางกู่เป็นอำเภอที่ยากจนที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย มีการปล้นชิงลักขโมยเป็นคดีความมากมาย ดาบวิชัยในฐานะผู้เติบโตมาในพื้นที่และเจ้าพนักงานสอบสวนรับรู้ถึงปัญหามาตลอด จึงเกิดความคิดที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ให้ดีขึ้น จากความคิดของเขา ทำให้เขาตัดสินใจปลูกต้นไม้ เนื่องจากเห็นว่าจะผลที่จะตามมาจะเป็นผลที่ยั่งยืน เป็นประโยชน์ไปถึงคนรุ่นลูกรุ่นหลาน
พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ทุกเช้าและหลังเลิกงานของวัน ดาบวิชัยจะขับจักรยานยนต์ ตระเวนปลูกต้นไม้ไปตามพื้นที่ต่างๆ ในอำเภอปรางค์กู่ โดยในระยะแรก ในสายตาชาวบ้าน เขาถูกมองว่าเป็นคนบ้า แม้ว่าจะถูกสังคมมองไปในทางเช่นนั้น เขาก็ยังคงปลูกต้นไม้อยู่เรื่อยไป
พ.ศ. 2541 เป็นต้นมาสังคมเริ่มเห็นผลจากการปลูกต้นไม้ของเขา เกิดโครงการปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะเพื่อส่วนรวมเกิดขึ้น ได้แก่ รณรงค์ปลูกต้นยางนา เพื่อเอาไว้สร้างบ้านเรือน รณรงค์ปลูกต้นตาล ซึ่งเป็นพืชสารพัดประโยชน์ รณรงค์ปลูกต้นคูน ต้นไม้ประจำภาคอีสานและประจำชาติไทย และ รณรงค์ให้เปลี่ยนการทำนาปีเป็นไร่นาสวนผสม[3] จนอำเภอปรางค์กู่กลายเป็นอำเภอที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งต้นไม้ที่เขาปลูกนั้นสามารถสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในอำเภอได้
พ.ศ.2543 ประชาคมอำเภอปรางค์กู่ทั้ง 10 ตำบล ได้พร้อมใจกันลงมติให้ใช้ 4 โครงการรณรงค์ดังกล่าวเป็นคำขวัญของ อำเภอปรางค์กู่ ที่ว่า ปรางค์กู่อยู่ในป่ายางกลางดงตาล บานสะพรั่งดอกคูน บริบูรณ์ไร่นาสวนผสม
วัยเด็ก
ผมเกิดที่บ้านนาโนน (หมู่บ้านที่มีที่นาอยู่ในที่สูง) ไม่มีห้วยหนองคลองบึง และ ป่าละเมาะ มีแต่ความแห้งแล้ง สมัยนั้นยังเป็นตำบลสำโรง แต่ปัจจุบันเป็นตำบล หนองไฮ อำเภออุทุมพร-พิสัย จังหวัดศรีสะเกษ พ่อแม่ทำนา ฐานะทางบ้านยากจน แม่เสียตั้งแต่ผมยังเด็กผมจึงต้องรับจ้างทำงานสารพัดอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกรรมกร ก่อสร้าง จับกัง แม้กระทั่งนักมวยก็เป็นมาแล้ว ผมเรียนที่โรงเรียนอุทุมพรพิสัย ศรีสะเกษวิทยาลัย และจบโรงเรียนพลตำรวจ ๒ จังหวัดนครราชสีมา
รับราชการ
ครั้งแรกในตำแหน่งพนักงานวิทยุอำเภอปรางค์กู่ แต่ถูกเพื่อนร่วมงานเอารัดเอาเปรียบ จึงเปลี่ยนงานใหม่เป็นตำรวจอาชีพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ประจำ สภ.อ. เมืองศรีสะเกษ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ย้ายมาประจำ สภ.อ.ปรางค์กู่ ตำแหน่งธุรการงานสอบสวน จนถึงปัจจุบัน
จากตำรวจสู่คนปลูกต้นไม้
ผมได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ที่เน้นเรื่องความสงบสุขของชาวบ้าน และเศรษฐกิจพอเพียง ในการอบรมเขาให้ดูวีดิทัศน์ เรื่อง ครูบ้านนอก เกาหลี ยอดหญิงนักพัฒนา ยอดชายขาด้วน ซึ่งนำมาเผยแพร่และให้เสียงภาษาไทยโดย อ.ภาณุ พินเนียม เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในเกาหลี ชื่อโครงการ ชุมชนชีวิตใหม่ เน้นเชิดชูคนดีที่เสียสละเวลาเพื่อส่วนรวม โดยเริ่มต้นที่ตัวเอง ไม่เรียกร้องความช่วยเหลือจากใคร ผมดูแล้วได้แง่คิดมาก เขาสอนว่า “เราต้องขยันอย่างฉลาด และต้องปราศจากอบายมุข” “เราจะต้องพึ่งตนเองให้ได้อย่างมีศักดิ์ศรีโดยไม่เบียดเบียนใคร” “ความทุกข์ของเพื่อนบ้านคือภารกิจที่เราต้องร่วมกันแก้ไข เมื่อเรามีเพื่อนบ้านดีก็ไม่ต้องมีรั้วบ้าน” “การทำงานหนักคือดอกไม้ของชีวิต” (วีดิทัศน์และวีซีดีเรื่องยอดหญิงนักพัฒนามีจำหน่ายที่แผนกธรรมโสต พุทธสถานสันติอโศก และร้านธรรมทัศน์สมาคม ขอแนะนำให้ดูเพื่อให้เกิดพลังในการทำความดีโดยไม่ย่อท้อ)
นอกจากนี้ผมยังได้ฟังเพลงครูจันทร์แรม ศิริคำฟู แห่งแม่สาย แต่งโดยคุณหินชนวน อโศกตระกูล ทำให้ผมฉุกคิดว่า ผู้หญิงตัวเล็กๆ อายุน้อยนิด ความรู้ก็ไม่มาก แต่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ถึง ๔ อย่าง ครูไม่อยากเห็นคนไม่รู้หนังสือ ครูไม่อยากเห็นคนคือสินค้า ครูไม่อยากเห็นคนต้องติดยา ครูไม่อยากเห็นคนเป็นโสเภณี ผมเองก็ควรทำอะไรให้สังคมบ้าง
เนื่องจากปรางค์กู่เป็นอำเภอที่ยากจนที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ ผืนดินมีแต่ความแห้งแล้ง ผมจึงคิดว่า น่าจะปลูกต้นไม้ในที่สาธารณะเพื่อส่วนรวม ผมจึงคิดโครงการขึ้น ๔ โครงการ ดังนี้
ผมได้รณรงค์ชาวปรางค์กู่ด้วยโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ จนปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบันนี้ และเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ประชาคม อ.ปรางค์กู่ ทั้ง ๑๐ ตำบล ได้พร้อมใจกันลงมติให้ใช้ ๔ โครงการนี้เป็นคำขวัญของ อ.ปรางค์กู่ที่ว่า “ปรางค์กู่อยู่ในป่ายางกลางดงตาล บานสะพรั่งดอกคูน บริบูรณ์ไร่นาสวนผสม” ผมได้แต่งเพลงรำวงโครงสร้างเมืองปรางค์กู่ เพื่อปลุกระดมชาวบ้านไว้ดังนี้
เลือกปลูกที่ไหน อย่างไร
ถ้ารู้ว่าที่ไหนลอกคลอง ขุดบึงถมที่ ผมจะไปทันที เพราะการขุดคลองต้องล้วงดินขึ้นมา ดินมันจะโปร่ง ผมก็แค่เอาเมล็ดไปหยอด แล้วมันก็ขึ้น ผมปลูกทุกแห่งในที่สาธารณะ ตามถนนหนทาง ป่าช้า วัดวา ไร่นา โดยไม่สนใจว่าใครจะคิดจะว่าอย่างไร แม้คนเขาหาว่าผมบ้าเพราะทุกเช้าผมจะออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้ากว่าๆ เอาเมล็ดตาล เมล็ดพันธุ์ใส่ถุงปุ๋ย ใส่ท้ายมอเตอร์ไซค์ตระเวนไปเรื่อยๆ แม้ฝนตกผมก็ยังไป หลังเลิกงานก็ไปอีก ทำเป็นกิจวัตรมาตลอดเวลา ๑๕ ปี ไม่มีใครสั่งไม่มีใครบังคับ วันไหนไม่ได้ปลูกต้นไม้ก็เหมือนพระไม่ได้ออกบิณฑบาต จนถึงบัดนี้ ผมปลูกต้นตาลได้ประมาณ ๒ ล้านต้น
อุปสรรค
ชาวบ้านไม่ค่อยรู้เรื่อง เผาฟาง หรือจุดไฟเพื่อจับหนูนากิน ทำให้เกิดปัญหาไฟลามทุ่ง จนทำให้ต้นไม้ที่ผมปลูกไว้ต้องตาย นอกจากนั้น ชาวบ้านบางคนคิดว่าผมปลูกต้นตาลใกล้ที่เขามากไป เลยไปหายูคาลิปตัสมาปลูกทับ ต้นตาลมันเลยไม่ขึ้น ผมก็เจ็บใจอยู่บ้างแต่ไม่เคยท้อ และจะปลูกต่อไปเพราะผมมั่นใจว่า พอตาลโตขึ้น ชาวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์ เดี๋ยวนี้ก็เห็นกันแล้ว ชาวบ้านเอาตาลที่ผมปลูก ไปทำรั้วบ้าน คอกเป็ดคอกไก่ ทำไม้กวาดขาย ทั้งลูกตาล ขนมตาล สารพัดจะขายได้ ก็เริ่มต้นจากคนบ้าอย่างผมนี่แหละ
ในส่วนของครอบครัวก็ไม่ว่าอะไร แต่สั่งว่าต้องกลับบ้านก่อนตะวันตกดิน เพราะเขาเป็นห่วง เรื่องอุบัติเหตุ ลูกๆ เมื่อตอนยังเด็ก เขาก็ไม่เข้าใจ บางทีผมไปปลูกต้นไม้หน้าโรงเรียน เพื่อนๆ เขาก็ล้อเอา เขาอายก็มาต่อว่าพ่อ ผมก็ได้แต่บอกเขาว่า “ลูกยังเด็ก วันนี้พูดอย่างไรก็คงไม่เข้าใจ ไว้โตขึ้นก็จะรู้เอง” เมื่อเขาโตขึ้นเห็นต้นไม้แทบทั้งปรางค์กู่ที่ปลูก โดยพ่อของเขา เขาก็เข้าใจและภูมิใจ
อุดมการณ์
ผมยึดหลัก ทำเพื่อความสุขของผู้อื่น ทำให้คนที่ไม่รู้ ทำให้คนที่เสียโอกาส ผมจะปลูกต้นไม้ ไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ผมไม่ได้ปลูกแต่ต้นยางนา คูน ตาล เท่านั้น ผมปลูกขี้เหล็ก สะเดา กระถิน ตะไคร้ โตแล้วให้ดอกออกผลก็เป็นของชาวบ้าน ใครจะกินก็มาเก็บเอา บางคนเก็บไปขาย ส่งลูกเรียน ผมเห็นแล้วก็ชื่นใจ ผมมีความสุขทุกขั้นตอน ตั้งแต่เอาเมล็ดพันธุ์ใส่ถุง แบกจอบ หิ้วขึ้นมอเตอร์ไซค์ ขี่ไปปลูกจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ผมจึงตั้งใจปลูกต้นไม้ไปเรื่อยๆ จนกว่าชีวิตจะหาไม่
ความภาคภูมิใจ
ของขวัญวันปีใหม่
โรคทรัพย์จางยังมีทางรักษาด้วยการเลิกอบายมุข
การเป็นโรค-การเป็นทุกข์-การเป็นหนี้-เกิดจากอบายมุข
การไม่เป็นโรค-การไม่เป็นทุกข์-การไม่เป็นหนี้-เป็นลาภอันประเสริฐ
อุดมคติของพวกเรา
“การสร้างฐานะตนเอง คือการสร้างฐานะของชาติ”
เป็นเวลากว่า 25 ปีที่ดาบตำรวจวิชัย(ยศในขณะนั้น)ได้ลงมือปลูกต้นไม้ด้วยหวังว่าจะพลิกฟื้นให้แผ่นดินบ้านเกิด ให้มีความอุดมสมบรูณ์ไม่แห้งแล้งเช่นเดิม จากความมุ่งมั่นนี้ทำให้ดาบวิชัยถูกคนขนานนามว่าเป็นคนบ้า เป็นตำรวจบ้า ที่ปลูกต้นไม้โดยที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน
ดาบวิชัยได้ลงแรงปลูกต้นไม้ไปกว่า 3 ล้านต้น ทำให้อำเภอปรางค์กู่ซึ่งเคยถูกขนานนามว่าเป็นอำเภอที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย กลับกลายเป็นอำเภอที่ไม่ยากจนที่สุดและชาวบ้านที่เคยกล่าวหาว่าดาบวิชัยบ้าวันนี้ชาวบ้านก็ได้ยกย่องให้ดาบวิชัยเป็นคนที่มีความสำคัญต่ออำเภอปรางค์กู่และความเพียรที่มีต่อชุมชนทำให้ดาบวิชัยได้เป็นส่วนหนึ่งของเด็กๆเยาวชนที่เห็นดาบวิชัยเป็นแรงบัลดาลใจในการทำงานเพื่อสังคมและการรณรงค์ปลูกต้นไม้ ปัจจุบันอำเภอปรางกู่ก็เป็นอำเภอที่อุดมไปด้วยต้นไม้กินได้ที่ทุกคนในชุมชนสามารถเก็บผักผลไม้ไปกินได้ในครัวเรือน
ป้ายคำ : ปราชญ์