ว่านนางกวักเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เป็นพืชที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้าเหมือนเผือกบอน ใบเหมือนใบโพธิ์มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ ก้านใบกลมคล้ายใบบอน ปลายใบแหลมกวักลง เส้นใบนูนเด่นชัด ว่านตัวนี้คล้ายกับหว่านเศรษฐีมหาโพธิ์ ว่านส่วนที่ติดกับหัวมีลักษณะเป็นกาบ ก้านใบและใบสีเขียว หัวเป็นแท่งกลมสีน้ำตาล เมื่อมีอายุมาก ๆ จึงจะเห็นหัวโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ดอกคล้ายดอกจำปีตูม ว่านนางกวักจะออกดอกยากมาก ดอกจะมี 4 ดอก มีความเชื่อกันว่านนางกวักเป็นว่านทางเมตตามหานิยม หรือ สิริมงคล นิยมปลูกไว้หน้าร้านค้า หน้าบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alocasia cucullata (Lour.) G. Don
วงศ์ Araceae
ชื่ออื่น ๆ ว่านทรหด ว่านนกคุ่ม Chinese taro
ลักษณะของพืช
ไม้ประดับ ที่มีก้านตั้งตรงจากลำต้นหนา 3-6 เซนติเมตร ก้านใบยาวตั้งแต่ 20-85 เซนติเมตร ใบลักษณะคล้ายใบโพธิ์ขนาดกว้าง 8-30 x 6-35 เซนติเมตร มีก้านใบเชื่อมถึงกัน สีเขียวแกมน้ำเงิน ใบด้านบนเป็นมัน เห็นเส้นใบโค้งตามรูปใบชัดเจน มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ส่วนที่เป็นพิษ ก้านใบ ใบ ผล
สารพิษที่พบ ผลึกแคลเซียมออกซาเลท (ก้านใบ ใบ) cyanogenic glycoside (ผล)
อาการพิษ ผลึกแคลเซียมออกซาเลท จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีอาการคัน ปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบ บวม และพองเป็นตุ่มน้ำใส หากถูกตาจะทำลายเยื่อบุตา ถ้ารับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อปากและคอ เสียงแหบ น้ำลายไหล อาเจียน แสบร้อนผิวหนังที่สัมผัส เยื่อบุกระพุ้งแก้ม ลิ้น และเพดานปากบวม พอง บางรายอาจพูดลำบาก ไม่มีเสียง อาการที่รุนแรงมากคือ กลืนลำบากถึงกลืนไม่ได้ อาจทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบรุนแรงได้
ตัวอย่างผู้ป่วย
การรักษา
การขยายพันธุ์
การแยกหน่อ
การปลูกและการดูแล
ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกบำรุงดินเป็นประจำเพื่อให้ลำต้นสมบูรณ์สวยงาม
บรรณานุกรม
– นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. พืชพิษ (Poisonous Plants). ใน รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ (บรรณาธิการ). สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ๊งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.
– ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จำกัด, 2544.
– วีณา จิรัจฉริยากูล (บรรณาธิการ). ผู้อ่านถึงผู้อ่าน. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2542;17(1):19-21.
ป้ายคำ : ว่าน