ว่านมหาเสน่ห์ ว่านดอกทอง

7 กุมภาพันธ์ 2558 ไม้ใต้ดิน 0

ว่านมหาเสน่ห์ จัดเป็นว่านโบราณหายากและใกล้จะศูนย์พันธุ์แล้ว ในปัจจุบันว่านดอกทองแท้นั้นหายากยิ่ง ผู้รู้มักไม่เปิดเผย เพราะเกรงว่าจะมีผู้นำไปใช้ในทางไม่ดี โดยอาจสามารถพบว่านชนิดได้ทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ อย่างเช่นในจังหวัดกาญจนบุรี ลำปาง และตาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp.
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ ว่านดอกทอง ว่านมหาเสน่ห์ (รากราคะ, ว่านรากราคะ), ว่านมหาเสน่ห์ดอกทอง, ว่านดอกทอง, ว่านดอกทองแท้, ว่านดอกทองตัวผู้, ว่านดอกทองตัวเมีย (ว่านดินสอฤาษี), ว่านดอกทองกระเจา เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะเป็นว่านมีหัว รากเป็นเส้นใหญ่ไม่แตกรากฝอย ลำต้นและใบเหมือนขมิ้น ลำต้นประกอบด้วยกาบของก้านใบหลายกาบซ้อนกัน ใบรูปใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบติดก้านใบ พื้นใบสีเขียว เส้นกลางใบสีแดงเข้มหรือแดงเลือดหมู ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดินสีแดงเข้มเช่นกัน ลำต้นส่วนที่ฝังอยู่ในดินและหัวเป็นสีขาวหรือขาวอมเขียว รากเป็นสีน้ำตาล ช่อดอกเป็นกาบเรียวซ้อนสับขวางกันหลายๆ กาบ กาบใบแต่ละกาบมีดอกสีเหลืองทองขนาดเล็ก กลิ่นหอมเย็น

wanmahasanaea wanmahasanaedok wanmahasanaes

ว่านมหาเสน่ห์ หรือว่านดอกทอง นั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ว่านดอกทองตัวผู้ และว่านดอกทองตัวเมีย (ว่านดินสอฤาษี) ซึ่งจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น สีของใบ และสีเนื้อของหัวว่าน โดยว่านดอกทองตัวเมียนั้นจะมีฤทธิ์แรงกว่าตัวผู้ ลักษณะว่านดอกทอง ว่านมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม และแตกแขนงเป็นไหลขนาดเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 5-10 นิ้วส่วนรากเป็นเส้นใหญ่ ไม่แตกเป็นรากฝอย มีความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต เนื้อในหัวของว่านดอกทองตัวผู้จะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในหัวของว่านดอกทองตัวเมียจะมีสีขาว ส่วนของลำต้นและใบจะมีลักษณะคล้ายกับขมิ้น มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบบน หากเป็นว่านดอกทองตัวผู้เส้นกลางใบและกาบใบจะมีสีแดงเรื่อ ว่านดอกทองตัวเมีย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ว่านดินสอฤาษี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน ส่วนใบมีลักษณะเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ มีลำต้นและใบเป็นสีเขียว ไม่มีสีแดงเจือปนเหมือน ว่านดอกทองตัวผู้ (ว่านดอกทอง) โดยหัวของดอกทองตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกับดินสอ จึงเป็นที่มาของชื่อ ว่านดินสอฤาษี เมื่อนำมาหักหรือผ่าดูจะมีกลิ่นคาว เช่นเดียวกับว่านดอกทอง (ว่านดอกทองตัวผู้) แต่กลิ่นของว่านดอกทองตัวเมียจะมีกลิ่นที่แรงกว่า นอกจากนี้ยังมี ดอกทองกระเจา ซึ่งดอกจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีกลิ่นคาวเหมือนกัน แต่จะไม่รุนแรงเท่าว่านดอกทองตัวเมีย ว่านรากราคะ รากราคะ ต้นว่านดอกทอง จะมีดอกที่แทงขึ้นมาจากเหง้าหลักที่อยู่ใต้ดินก่อนการงอกของใบ โดยว่านดอกทองตัวเมีย ดอกจะเป็นสีขาว กลีบปากดอกสีขาวมีแถบกลางเป็นสีเหลือง (แต้มด้วยสีเหลือง) แต่ถ้าเป็นว่านดอกทองตัวผู้ ดอกจะเป็นสีเหลือง โดยจะออกดอกในช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนของทุกปี และกลิ่นของดอกว่านทั้งสองนั้นจะมีกลิ่นหอมเย็นและคาวคล้ายกับกลิ่นของ อสุจิ และเชื่อว่าหากใครได้สูดกลิ่นของดอกว่านนี้ จะกระตุ้นความต้องการทางเพศขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล ซึ่งในสมัยโบราณนั้นเชื่อถือกันมาก สำหรับผู้ที่ปลูกว่านชนิดนี้ มักจะเก็บดอกก่อนที่จะบาน (จะไม่นิยมให้มีดอกติดต้นจนบาน) เพราะเชื่อว่าหากผู้ใดได้กลิ่นได้สัมผัสดอกว่านแล้วจะเกิดกามราคะ ทำให้เกิดพลังทางเพศที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีเพศ จึงเป็นที่มาของชื่อว่านว่า ว่านดอกทอง

ประโยชน์/สรรพคุณ
ปลูกไว้กับว่านเป็นเมตตามหานิยม และใช้ในทางเสน่ห์เจ้าชู้ ใช้โขลกให้ละเอียดแล้วผสมสีผึ้งทาปาก เจรจาค้าขายดี
เมื่อดอกออกแล้วให้เอาดอกไปแช่ในน้ำมันจันทน์พร้อมทั้งเนื้อว่าน ก่อนจะออกไปพบปะใครให้เอาทาหน้าทาปากจะเกิดคุณทันที

การปลูก
ควรปลูกว่านด้วยดินปนทรายรดน้ำมากๆ แต่ระวังอย่าให้ดินแฉะ ควรจัดวางให้ได้รับแสงแดดรำไรบ้างพอสมควร

wanmahasanaekla

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล
สรรพคุณใช้ทางเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้ปลูก แต่ไม่นิยมให้มีดอกติดต้นถึงบาน มักจะเก็บดอกเสียก่อนก่อนที่ดอกจะบาน เพราะเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้กลิ่นดอกว่านต้นนี้แล้วกามราคะในจิตจะกำเริบรุนแรงโดยเฉพาะสตรีเพศ จึงมีชื่อเรียกว่านต้นนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ว่านดอกทอง ดอกของว่านคนหนุ่มสมัยโบราณจึงเสาะแสวงหาเก็บสะสมไว้หุงกับน้ำมันจันทน์ หรือบดรวมกับสีผึ้งสีปาก ใช้น้ำมันทาตัว หรือใช้สีผึ้งสีปาก เมื่อถึงคราวจะต้องไปพบหญิงสาว สตรีใดต่อคารมด้วย พอได้กลิ่นว่านในน้ำมันหรือสีผึ้ง มักใจอ่อนคล้อยตามได้ง่ายนับเป็นว่านที่เป็นเสน่ห์มหานิยมที่รุนแรงมาก

ที่มา
ฐานข้อมูลว่านและสมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข.สกลนคร

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ใต้ดิน

แสดงความคิดเห็น