ศรีตรังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jacaranda filicifolia D. Don. อยู่ในวงศ์ Bigoniaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงราว 10 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา กิ่งก้านค่อนข้างโปร่ง เปลือกมีสีน้ำตาลซีด
ศรีตรังมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศบราซิล นำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทย โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เมื่อราว 100 ปีมาแล้ว โดยปลูกครั้งแรกที่จังหวัดตรัง จึงได้รับการตั้งชื่อภายหลังว่า “ศรีตรัง” นับเป็นชื่อที่ไพเราะ และได้ความหมายเหมาะสมอย่างยิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia (Anderson) D.Don
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ : Jacaranda
ชื่ออื่น : แคฝอย (กรุงเทพฯ)
ศรีตรังมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกันคือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกสีน้ำตาลอมขาว แตกล่อนเป็นแผ่นบางตามยาวคล้ายกระดาษ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงตรงกันข้าม ใบย่อย 12-21 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปขอบขนานแกมรูปเหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาดเล็ก กว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบหลักยาว 7-11 ซม. ก้านใบประกอบยาว 4-8 มม. ไม่มีก้านใบย่อย ดอก สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 5-9 ซม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีม่วงเข้มปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2.5 ซม. ผลแห้งแตกเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.2-2.5 ซม. เมล็ดมีปีกจำนวนมาก
ศรีตรัง มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม-มีนาคม เป็นผลประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ
นิเวศวิทยา เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารและถนนหนทางต่างๆ เพราะยามออกดอกจะผลัดใบเกือบหมด ดอกบานพร้อมกันเป็นสีม่วงทั้งต้นแลดูสวยสดงดงาม
ศรีตรัง เป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ง่าย ชอบแดดกลางแจ้ง และขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ออกดอกปีละครั้ง ช่วงฤดูหนาว ต่อฤดูร้อน หากอากาศค่อนข้างแห้งแล้งจะทิ้งใบจนหมดมีแต่ดอกดูงดงามยิ่ง
สรรพคุณทางสมุนไพร
ประโยชน์อื่น ด้วยเหตุที่เนื้อไม้มีลักษณะบางเบา มีลายสวยงามและมีกลิ่นหอม จึงมักนำมาใช้ทำเป็นโครงของเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น พื้นปาร์เกต์ กีตาร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวอียิปต์โบราณยังใช้ไม้จากต้นศรีตรังเอาไปทำเปียโน ส่วนน้ำที่คั้นได้จากดอกยังมีสรรพคุณทางการแพทย์ ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคได้อีกด้วย
ป้ายคำ : ไม้ประดับ