ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง

28 กรกฏาคม 2555 แหล่งเรียนรู้ 0

จุดเริ่มต้นมาจากการเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลสองสลึงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยเป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบอินทรีย์ สอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำหมัก และการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก โดยมีกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดระยอง และหน่วยงานเกษตรให้การสนับสนุนด้านข้อมูลและงบประมาณ และได้ขยายต่อมาเป็นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นศูนย์เครือข่ายของ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่จำนวน ๕๐ ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ ๓๒๒/๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ได้ให้บริการ ในการฝึกอบรมเผยแพร่ความให้กับประชาชนเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • การทำการเกษตรสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  • การพัฒนาที่ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน โดย สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดระยอง
  • การทำการเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดระยอง
  • การสร้างอาชีพเสริมของผู้ด้อยโอกาส ของ พัฒนาชุมชนอำแกลง จังหวัดระยอง
  • การสร้างผู้นำต้นแบบของการพึ่งตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  • การผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ปัจจัยการผลิตในการทำการเกษตรที่จำเป็นแบบง่าย ๆ
  • การสร้างกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร

สถานที่
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึงมีอาคารฝึกอบรม ๑ หลัง ,อาคารโรงนอนชาย ๑ หลัง ,อาคารโรงนอนหญิง ๑ หลัง ,เรือนพักวิทยากร ๑ หลัง และห้องน้ำ/ส้วม ๑๓ ห้อง
ฐานฝึกอบรม มีเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

หลักสูตรการฝึกอบรมของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทั่วประเทศ ตั้งอยู่บนฐาน ๙ ฐานเรียนรู้หลัก และปรับประยุกต์ให้เหมาะสมตามภูมิสังคม โดยแต่ละฐานมุ่งเน้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการพึ่งพาตนเอง พออยู่ พอกิน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ๙ ฐานเรียนรู้หลัก ได้แก่

๑. ฐานฅนรักษ์ป่า
๒. ฐานฅนรักษ์น้ำ
๓. ฐานฅนรักษ์แม่ธรณี
๔. ฐานฅนรักษ์สุขภาพ
๕. ฐานฅนเอาถ่าน
๖. ฐานฅนติดดิน
๗. ฐานฅนรักษ์แม่โพสพ
๘. ฐานฅนมีน้ำยา
๙. ฐานฅนมีไฟ

เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อ

ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ๐๘๑-๙๘๒-๒๔๐๔

นางสาววรรณิภา เครือวัลย์ ๐๘๔-๑๒๘-๔๔๕๙

ที่ผ่านมากการที่ภาครัฐพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลว ผลงานไม่ชัดเป็นรูปธรรมเพราะไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ของชาวบ้าน อย่างเช่นให้เกษตรกรไปอบรมในโรงแรมห้องแอร์ พอนั่งไม่กี่นาทีก็ง่วงแล้ว ไม่ได้รับความรู้จริงๆต่างจากการฝึกอบรมในสถานที่ปฏิบัติได้จริง เน้นการปฏิบัติจริง เรียนไปด้วยลงมือทำไปด้วย พบจุดอ่อนและข้อบกพร่องตรงไหน ก็ปรึกษากันได้ หลังการฝึกอบรมเสร็จเกษตรกรก็สามารถนำกลับไปใช้ที่ไร่นาของตนเองได้โดยการฝึกอบรม ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง เป็นศูนย์เรียนรู้ ที่น้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เป็นให้สัมผัส เข้าใจเข้าถึงและพัฒนา การรู้จักเท่าทันกระแสทุนนิยมและการรู้จักตนเองมากขึ้น น้อมนำพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น