ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน

29 พฤษภาคม 2556 แหล่งเรียนรู้ 0

ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ตั้งอยู่ในบ้านราษฎร์สามัคคีหมู่ที่ 8 ตําบลเมืองจัง กิ่งอําเภอภูเพียง เป็นูนย์กลางของการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรคนในชุมชน และเป็นพื้นที่ที่เด็กเยาวชนให้ความสนใจเข้ามาใช้พื้นที่ในูนย์ทํากิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลาว่างการก่อเกิดและพัฒนาการศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ มาจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตน่าน ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตล้านนาตะวันออกน่าน ครั้งนั้นมีนายสํารวยผัดผลเป็นประธานกลุ่มต่อมาได้ขยายและตั้งเป็นชมรมอนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้าน จ.น่าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์พืชพื้นบ้านเน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกร

ในปีพ.ศ.2536เกษตรกรเผชิญวิกฤตทางการเกษตรระบบเกษตรกรรมในจังหวัดน่านเป็นระบบเกษตรเชิงเดี่ยวหรือเน้นการปลูกพืชชนิดเดี่ยวในพื้นที่และปริมาณมากกระแสการผลิตดังกล่าวภายใต้วลีที่ว่า ผลผลิตสูงและราคาดี จึงกลายมาเป็นแนวทางสําคัญที่ทําให้เกษตรกรพยายามขยายพื้นที่ การเพาะปลูกและใช้เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงเมล็ดพันธุ์ลูกผสมถูกนํามาโฆษณา ให้เกษตรกรได้เห็นถึงคุณภาพที่เหนือกว่าพันธุ์พื้นเมืองหรือแม้แต่พันธุ์ที่เกษตรกรคัดเลือกเอง ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผลจากการที่เกษตรกรหันมาใช้พันธุ์ลูกผสมทําให้เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ทุกฤดูปลูก เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ลูกผสมไม่สามารถสืบเชื้อหรือเก็บพันธุ์ปลูกต่อได้ทําให้รายจ่ายในการเกษตรกรของเกษตรกรสูงขึ้นหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชพื้นเมือง ลดจํานวนลงทั้งพันธุ์ข้าว และพืชผักพื้นเมือง

jokotrain

จากวิกฤติดังกล่าวเกษตรกรบางส่วนได้รวมกลุ่มกันรวมทั้งนักพัฒนาเอกชนนักวิชาการท้องถิ่นที่ตระหนักกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบุคคลเหล่านี้ได้ก่อรูปเป็นหน่วยปฏิบัติการโดยจากเวทีหารือได้ยกประเด็นเรื่องเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาเป็นประเด็นขับเคลื่อนหลักโดยมีชมรมอนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้าน จ.น่าน เป็นหน่วยประสานงานหลังจากปี 2536 เป็นต้นมาทางเครือข่ายมุ่งเสริมศักยภาพเกษตรกรและเสริมองค์ ความรู้ด้านเทคนิคเกษตรเพื่อให้เกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้ในแปลงของเกษตรกรได้ทั้งนี้อยู่บนหลักการของเกษตรกรรมยั่งยืนในปี 2538 ทางชมรมอนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้านได้ทําการสํารวจความหลากหลายพันธุ์กรรมพืชในจังหวัดน่าน ได้แก่ พันธุ์ข้าวพันธุ์พืชผักต่างๆ กระบวนการเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรในช่วงนี้เน้นอยู่ที่ด้านเทคนิคและเครือข่ายเป็นหลัก ได้แก่ กระบวนการการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์อย่างมีส่วนร่วมกิจกรรมหลักเป็นรูปแบบของการเสริมศักยภาพ เกษตรกรแต่ละรายเวทีสัญจรและการประชุมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนมากขึ้น ในปี พ.ศ.2545 ทางชมรมอนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้านจ.น่านได้ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นูนย์การเรียนรู้โจ้โก้เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้เครือข่ายเกษตรกรและชุมชนใกล้เคียงได้เข้ามาใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันโดยตั้งอยู่ณบ้านราษฎร์สามัคคี ตําบลเมืองจั งกิ่งอ.ภูเพียงจ.น่าน
ปัจจุบันเครือข่ายเกษตรขยายพื้นที่การเรียนรู้โดยอิงตามเขตปกครององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 24 อําเภอใน 14 อําเภอและ 1 กิ่งอําเภอของจังหวัดน่าน ทั้งนี้เป้าหมายของเครือข่ายเพื่อสร้างเสริมสิทธิเกษตรกรด้านการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชโดยผ่านการเสริมศักยภาพเกษตรกรด้าน เกษตรกรรมยั่งยืนโดยมีกรอบการทํางาน3ประเด็นใหญ่

  • กรอบการทํางานที่ 1 การขับเคลื่อนเชิงนโยบายโดยชุมชน โดยผ่านการสร้างพื้นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยหนุนชุมชนในการปรับเปลี่ยนเชิงนโยบายและเชิงสถาบันองค์กร
  • กรอบการทํางานที่ 2 หนุนเสริมชุมชนด้านกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชนในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและการดํารงชีวิต
  • กรอบการทํางานที่ 3 หนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายหนุนเสริมศักยภาพโดยเชื่อมประสานผู้เชี่ยวชาญสถาบันท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนชุมชนในการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืช

กรอบการทํางานทั้ง3 กรอบเน้นกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและผสมผสานโดยปัจจุบัน เครือข่ายให้ความสําคัญกับการจัดการความรู้โดยเกษตรกรและเครือข่ายหลังจากที่ได้สั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้มาจนถึงปัจจุบันอย่างไรก็ตามทางเครือข่าย ได้วางแผนการดําเนินงานจากกรอบการทํางาน และเป้าหมายของเครือข่ายโดยวางไว้ในระยะ5ปีข้างหน้าให้มีทิศทางดังตารางต่อไปนี้

ตารางการทํางานเครือข่ายในระยะ5ปี(2549-2553)

  • การจัดการความรู้+กระบวนการเรียนรู้แบบ
  • ผสมผสานอย่างมีส่วน ร่วม(Knowledge Managementand ParticipatoryIntegration Learning)
  • ยกระดับสิทธิเกษตรกรและการอนุรักษ์พัฒนาารใช้ประโยชน์ในด้าน พันธุกรรมพืชเข้าสู่แผนขององค์กรท้องถิ่นและระดับชาติ
  • สร้างโมเดลเชิงนโยบายท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์ พันธุกรรมพืชในชุมชน หนุนเสริมและเสริมศักยภาพชาวนาและครอบครัวชาวนา
  • การสื่อสารเพื่อารเปลี่ยนแปลงนําไปสู่ารปรับเปลี่ยนทัศนคติและนโยบายด้านการอนุรักษ์การพัฒนา และการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชและสิทธิเกษตรร(เอกสารและสื่อต่างๆ)

“ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้” เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่นิ่งเฉยดูดาย กับพลวัตรทางสังคม
“ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้” เดิมชื่อว่า “ศูนย์อนุรักษ์พรรณพืชพื้นบ้าน”

ปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ออกเป็น ๔ ฐานการเรียนรู้หลัก ได้แก่

  • ฐานที่ ๑ จุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นการเรียนรู้เรื่องการเก็บและการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ การขยายเชื้อจุลินทรีย์ และการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น จุลินทรีย์บอล จุลินทรีย์น้ำ เพื่อนำไปใช้ในนาไร่ ปศุสัตว์ และครัวเรือน
    jokobio
  • ฐานที่ ๒ การเลี้ยงหมูหลุม เป็นการเรียนรู้ตั้งแต่การทำโรงเรือน วัสดุที่ใช้ทำคอก การเลี้ยงและวิธีการเลี้ยง การให้น้ำให้อาหาร และการดูรักษาโรงเรือน การเลี้ยงหมูหลุมนอกจากเป็นการสร้างรายได้จากขายหมูแล้ว มูลหมูก็นำไปใช้ในการเกษตร ในไร่นา ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี น้ำจุลินทรีย์ก็นำมาใช้ราดพื้นคอกหมูเพื่อลดกลิ่นเหม็น
    jokomoo
  • ฐานที่ ๓ การคัดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้อง เป็นการเรียนรู้เรื่องเทคนิคคัดเลือกพันธุ์ข้าว เทคนิคการเพาะเมล็ดข้าวกล้อง วัสดุเพาะ และการดูแลรักษา
    jokorice
  • ฐานที่ ๔ การคัดเลือกจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน เป็นการเรียนรู้เรื่องการแยกกลุ่มพันธุ์พืชที่จะจัดเก็บเมล็ด หลักและวิธีการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และเทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์ เช่น มะเขือ พริก บวบ แตง มะเขือเทศ ถั่ว ถั่วฝักยาว ฝัก น้ำเต้า ฯลฯ
    jokomaled

การเรียนรู้ทั้ง ๔ หลักสูตรสามารถเรียนรู้แบบเร่งด่วนได้ภายใน ๑ วัน แต่หากจะลงลึกและปฏิบัติการจริงจนสามารถทำได้เอง ก็ต้องใช้เวลาหลายวัน ในแต่ละหลักสูตร แต่ไม่ว่าจะกี่วัน สำคัญคือการมุ่งมั่นสนใจในการเรียนรู้ และนำไปทดลองปฏิบัติใช้จริงในพื้นที่นาไร่ของตนเอง

กระบวนการเรียนรู้หลากหลายประสบการณ์ จากหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์กันและกัน ได้ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้ต่อในพื้นที่ เรียกว่าทั้งสนุกสนานและได้ความรู้ไปด้วย ท่ามกลางธรรมชาติและบรรยากาศที่ดี

jokologo

ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้
253 หมู่ 8 บ้านราษฏร์สามัคคี ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000
โทรศัพท์ : 0-5478-3262
โทรสาร : 0-5478-3262
เว็บไซต์ : http://www.jokonan.org
อีเมล : cbdcnan@yahoo.com

ป้ายคำ : , ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น