ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนป่ารักษ์น้ำ

28 มกราคม 2556 แหล่งเรียนรู้ 0

ศูนย์์ป่ารักษ์น้ำแหล่งเรียนรู้ชุมชนทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิต ที่เป็นจริงกับระบบ เศรษฐกิจ พอเพียงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะ วิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพออยู่พอกินตามแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวม ข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้อง การเรียนรู้ของชุมชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการ เปลี่ยน แปลงของสังคมก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้และ พัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นศูนย์ฯของประชาชน ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อ ประชาชนที่จะก่อ ให้เกิด ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน

เมื่อปี พศ.2545 สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จ ณ โรงเรียนบ้านหนองหินตั้ง ต.นาเหล่า อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรที่บ้านหนองหินตั้งและหมู่ บ้านใกล้เคียง ปี พศ.2545 ท่านทรงมีพระเมตตากับราษฎรบ้านหนองหินตั้ง ทรงได้มีโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริก่อสร้างทำนบดิน ขุดลอกห้วยซำปาคาด ณ บริเวณพื้นที่ ไร่คุณเหรียญ (ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ) ความจุ 40,000 ลูกบาศก์เมตร มอบให้ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พศ.2545 โดยกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ มีประชาชนในหมู่บ้านรวมทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาใช้น้ำและหาปลาเพื่อยัง ชีพ และ ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นวันลอยกระทง ฯลฯ นางเหรียญ ศรีวังแจ ก็ยังได้พัฒนาสวนและเดินตาม แนว พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน แนวทางเศรษกิจพอเพียง โดยทำเกษตรผสมผสาน และพึ่งตนเองแบบพอเพียง โดยทำมาเป็นเวลานาน จนถึง ณ ปัจจุบัน พศ. 2552 เดือนมกราคม จากสวน เกษตร (ไร่คุณเหรียญ) ได้พัฒนามาเป็น แหล่งเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งตนเองเพื่อเป็น ศูนย์กลางอบรม แหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน และเผยแพร่การสอนการทำเกษตร แบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีชื่อว่า ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ

paraknamlean

ความหมายของ ศูนย์ป่ารักษ์น้ำ มีน้ำ มีป่าชีวิตก็เพียงพอ
เพื่อให้ การดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนองค์กรเอกชน ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิด ประ สิทธิผลต่อการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์เพื่อ ให้บรรลุ เป้าหมายตาม แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตฉบับที่ 10 ในการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มิคุณ ค่าและคุณภาพในด้านต่างๆนั้น จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชากรของประเทศ ให้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ มีคุณธรรมในการบริหารตนเองชุมชน & องค์กรฯ ประเทศชาติทั้งใน ด้านผู้นำและผู้ตาม อย่างถูก ต้อง จึงจะส่งผลให้สังคมประเทศชาติมีเสถียรภาพ มีความสงบสุข อย่างยั่งยืน และถาวร จากหลักฐานในเบื้องต้น ชุมชน ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรม แหล่งเรียนรู้ทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบ เศรษฐกิจ สังคมให้มากที่สุด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะการ บริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดหนองบัวลำภู ภายใต้ วิสัยทัศน์ หนองบัวลำภูเมืองน่าอยู่ เคียงคู้รู้ค่าธรรมชาติ ชาญ ฉลาดทำกิน ดินแดนสันติสุข ในการนำวิสัยทัศน์ข้างต้นของจังหวัดมา ดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จนั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้อง สร้างคน ในชุมชน ให้เข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อเรียนรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแลก เปลี่ยนประสบการณ์ การสร้าง ภาคีเครือข่าย เชื่อมโยง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง จึงมีการจัดตั้งศูนย์ฯแห่งนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์ของศูนย์ป่ารักษ์น้ำ

  • เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์ถ่ายทอดต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นแหล่งอนุรักษ์และ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในท้องถิ่นให้มีความรู้ มีทักษะประสบการณ์ มีจิตสำนึกจิตคิด วิเคราะห์ในทางที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
  • เพื่อให้ผู้เข้าศูนย์ได้เกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ทักษะ สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริงอย่างมีความสุข
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดภาคี / เครือข่าย เชื่อมโยง ช่วยเหลือเกื้อกูล และเอื้ออาทรต่อกัน

เป้าหมายของศูนย์ป่ารักษ์น้ำ
เป็นศูนย์ต้นแบบเพื่อถ่ายทอดวิธีการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมา ใช้ให้เกิดความเหมาะสมในพื้นที่และเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ทักษะ ประสบการณ์และสามารถนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตของตนเองได้ รวมทั้งเป็นสื่อกลาง ให้เกิดการสร้างความ สามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน เพื่อพัฒนาชุมชนให้ เข็มแข็งและเข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้การดำเนินการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ รัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนองค์กรเอกชนต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนของมนุษย์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต ฉบับที่ 10 ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าและคุณภาพใน ด้านต่างๆนั้น จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ ประชากรของประเทศให้มีความรู้ มีประสบการณ์ มีทักษะ มีคุณธรรม ในการบริหารตนเองชุมชน & องค์กรฯประเทศชาติทั้งในด้านผู้นำและ ผู้ตามอย่างถูกต้องจึงจะส่งผลให้สังคมประเทศชาติมีเสถียรภาพมี ความสงบสุขอย่างยั่งยืนและถาวรจากหลักฐานในเบื้องต้นชุมชน ท้องถิ่นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรม แหล่งเรีย รู้ทีมีสภาพใกล้เคียงหรือสภาพตามวิถีชีวิตที่เป็นจริงกับระบบ เศรษฐกิจ สังคมให้มากที่สุด สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะวิถีชีวิตที่พอเพียง ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ขององค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสร้างคนใน ชุมชนให้เข้าใจวิถีเศรษฐกิจพอเพียงจึงจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อ เรียนรู้ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้าง ภาคีเครือข่ายเชื่อมโยง และสามารถนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้จริง

หลักการสำคัญของศูนย์ป่ารักษ์น้ำ แหล่งเรียนรู้ พออยู่ พอกินตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

  • เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการทำเกษตรอินทรีย์ สามารถปฏิบัติจริงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
  • เป็นศูนย์กลางที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งการพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างความ เข้าใจ ความสามัคคี ความร่วมมือในการพัฒนาตนเองและชุมชน
  • เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิตแบบเพียงพอ โดยประชาชนและเพื่อ ประชาชน

กิจกรรมของศูนย์

  1. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
    เป็นศูนย์ฯที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีปราชญ์ชาวบ้านได้ดำเนินการเป็นตัวอย่าง โดยเริ่มจากครอบครัวซึ่งเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นพื้นฐาน มีความพอเพียงในการดำรงชีวิต ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น ไม่มีหนี้สิน เมื่อครอบครัวมีความพร้อมด้านปัจจัย 4 แล้วจึงขยายผลไปสู่ชุมชน สามารถให้บุคคลอื่นยึดถือเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต
  2. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ให้บริการทางวิชาการ
    ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ฝึกอาชีพ สาธิต จัดนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ องค์ความรู้ฯลฯ ระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน (วิทยากร) กับประชาชนในชุมชน (ผู้เรียน) เป็นต้น
  3. ศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาชีพ
    เป็นศูนย์ฯ ที่ดำเนินการกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่างๆเช่นการประชุมคณะกรรมการประชุมสมาชิกกลุ่มการบริหารการจัดการของกลุ่ม การฝึกอบรม พัฒนาทักษะ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาด้านการ ตลาด ฯลฯ
  4. ห้องสมุดประชาชน
    เป็นสถานที่ที่ให้บริการสื่อประเภทต่างๆเช่น หนังสือ เอกสาร โสตทัศนูปกรณ์โทรทัศน์โดยมุ่งเสริมให้ประชาชน เกิดการศึกษาตามอัธยาศัยและใช้บริการเป็นประจำเป็นการ สร้างนิสัย การเรียนรู้ การเสริมความรู้เพิ่มเติมและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
  5. ศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน
    เป็นส่วนที่แสดงถึงความสำเร็จจากประสบการณ์การดำเนินชีวิต ทำงานของปราชญ์ชาวบ้านที่มีวิถีการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับตนเอง และหรือชุมชน โดยผ่านกระบวนการ ปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากชีวิตการลองผิดลองถูก เรียนรู้ด้วยตนเอง ท่ามกลางปัญหาที่หลากหลายมีการทอดบทเรียนการเรียนรู้สามารถตกผลึกจนกลาย เป็นภูมิปัญญา ซึ่งหลักคิดและ วิถีชีวิตของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นสิ่งที่คนสมัยนี้ ควรได้เรียนรู้และนำไปเป็นแบบ อย่างในการดำรงชีวิต
  6. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
    เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านซึ่งได้มาจากประสบการณ์และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความ รู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีคนปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนเกิดเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งภูมิปัญญาดังกล่าว เป็นความรู้เกี่ยวกับวิถีการดำรงชีวิตและการทำมาหากินเช่น การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การจักสาน นอกจากนี้ยังมีศิลปะ ดนตรี การละเล่น ประเพณีต่างๆ รวมทั้งการดูแลสุขภาพ อนามัยและการรักษาโรคด้วยสมุนไพร ฯลฯ
  7. ประเพณี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน
    เป็นการเรียนรู้ผ่านการแสดงหรือการละเล่นที่แฝงไว้ด้วยวัฒนธรรมของชาวบ้านที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตที่ไม่ได้ มีเป้าหมายเพื่อการบันเทิง ความสนุกสนานเท่านั้น สื่อพื้นบ้าน มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ ความเป็นเอกลักษณ์ ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ได้แก่ เพลงลูกทุ่ง หมอลำ โปงลาง สาระพันญะ กีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น

paraknamhom

ที่อยู่

55 หมู่ที่ 10 บ้านหนองหินตั้ง ตำบลนาเหล่าอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 39170

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น