ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ถือเป็นโครงการหลวงขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ไม่ไกลนักจาก โครงการหลวงอินทนนท์ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งใจกลางหุบเขาสูง จึงมีความงดงามของสภาพพื้นที่ ซึ่งปกคลุมด้วยสภาพ อากาศหนาวเย็น ตลอดทั้งปี มาที่นี่นอกจากเราจะ ได้ชม แปลงพืชผักไม้ผลเมืองหนาวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาลี่ พลัม ท้อ แนคตารีน หรือสตรอเบอร์รี่ หากมาในช่วงต้นถึงปลายเดือนธ.ค. – ม.ค. ของทุกปี จะได้ชมดอกพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยซึ่งเป็นไฮไลต์ของที่นี่จะบานสะพรั่งเป็นสีชมพูสวยงามตลอดริมทาง
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) อยู่ในวงล้อมของแนวเทือกเขาอินทนนย์ ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ภายในพื้นที่ 450 ไร่ ประกอบไปด้วยแปลงไม้ผลเมืองหนาวหลากหลายชนิด เช่น สาลี่ พลัม ท้อ เนกทารีน ฯลฯ และยังเป็นสถานที่ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระดอย ที่สวยเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย โดยช่วงที่แนะนำให้มาเที่ยวคือระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ที่ดอกนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกสีชมพูสว่างไสวเต็มต้น เหมือนมีพรมสีชมพูปูไว้ทั่วทั้งดอยขุนวาง
ประวัติการจัดตั้ง
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ครั้งนั้น พระบาท สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวางเป็นครั้งแรก ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังคงมีการปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น อยู่เป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่น จึงรับสั่งให้หน่วยงาน ในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งในครั้งนั้นเอกอัครราชทูตอเมริกาได้รับสนองนโยบาย โดยให้การสนับสนุนงาน ประมาณสมทบ จากนั้นศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จังได้เริ่มต้นดำเนินงานอย่างจริงจังในปีพ.ศ. 2528 สภาพพื้นที่ ของ โครงการ ส่วนใหญ่ถูกโอบล้อมด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน มีแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาเพียงเล็กน้อย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราว 1,300 1,400 เมตร มีแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านคือ แม่น้ำขุนวางขวา และแม่น้ำขุนวางซ้าย ประชากรในพื้นที่เป็นชาวเขา เผ่ากระเหรี่ยง และม้ง รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ ทั้งสิ้นราว 29,304.90 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ในการดำเนินการของโครงการประมาณ 30 ไร่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวาง เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มาก ควรจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่นจึงรับสั่งให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณา ปรับปรุงและพัฒนา มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้านคือ บ้านขุนวาง บ้านป่ากล้วย บ้านโป่งลมแรง บ้านโป่งน้อยเก่า บ้านห้วยยาว และบ้านขุนแม่วาก
โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านไม้ผลเป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านไม้ดอก งานพัฒนาและส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบันศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 499 ไร่ ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ประชากรที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม จำนวน 380 ครัวเรือน 2,005 คน กิจกรรมที่ทำการส่งเสริมเกษตรกรที่ดังนี้
ศูนย์ฯ ขุนวาง ได้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ จนสามารถลดพื้นที่การบุกรุกป่าจากอดีตซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ส่วนมากจะปลูกกะหล่ำปลีใช้พื้นที่กว่า 333 ไร่ เมื่อทางศูนย์ฯ ขุนวางได้ส่งเสริมเกษตรกร โดยเปลี่ยนมาปลูกผักในโรงเรือนทำให้สามารถลดพื้นที่เพาะปลูกได้ถึงร้อยละ 80% สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้นจนสามารถเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้
นอกจากนี้ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางมีบ้านพัก แคมป์ไฟ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้ให้บริการสำหรับผู้ที่จะเดินทางมารับการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิถีชีวิตชนเผ่า และเยี่ยมชมธรรมชาติในพื้นที่
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) แบ่งขอบเขตการทำงานออกเป็น งานวิจัยไม้ดอก ไม้ผลและพันธุ์ไม้ เช่น คาร์เนชั่น องุ่น สตอเบอร์รี่ เฟินและลินิน ผสมผสานไปกับงานพัฒนาด้านการเกษตรในเรื่องการปลูกกาแฟ เพื่อเพิ่มผลผลิตมากที่สุดนอกจากนี้ยังมีการทำ แปลงสาธิต เพื่อรวม สายพันธุ์ชนิดต่างๆ ทั้งไม้ดอก ไม้ผล ผักและชาจีน ตลอดจนงานขยายพันธุ์คาร์เนชั่น ลิอะทริส หน้าวัว แวกซ์ฟลาวเวอร์ แคลลี่ลิลี่ อัลสโตรมีเรีย และเฟิน
งานส่งเสริมพืชผักเมืองหนาว ให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกและขายกะหล่ำปลี กะหล่ำดาว การปลูกหอมญี่ปุ่น และกระเทียมต้น วิธีการบำรุงรักษาต้นไว้ไม่เก็บเกี่ยวในขณะที่มีราคาต่ำ การปลูกผักกาดหอมห่อ แตงกวายาว ซุกินี และฟักทอง ญี่ปุ่น ถั่วลันเตา ผักกาดหอมใบแดง และพริกยักษ์เขียว เหลือ แดง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมไม้ผลเมืองหนาว โดยได้รับการ สนับสนุนจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันได้แก่ ท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ บ๊วย พลับ พลัม และเสาวรส งานหลักที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง คือการส่งเสริมงานหัตถกรรมพื้นบ้าน จากเส้นใยกัญชา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขาในชุมชน
จุดชมดอกนางพญาเสือโคร่งภายในสถานีเกษตรที่สูงขุนวางที่น่าสนใจมี 2 จุด คือ
กิจกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่แบ่งออกเป็นสามส่วน
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
มีแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อินทนนท์เป็นหลัก อ่างกาหลวง ยอดอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ นอกจากนี้ยัง มีกิจกรรมศึกษา เช่น เดินป่าเที่ยวน้ำตกผาดำ ห่างจากศูนย์ประมาณ 2.5 กิโลเมตร กิจกรรมดูนก กิจกรรมศึกษาพันธุ์ไม้และ สมุนไพร
การเดินทางไปขุนวาง
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ก่อนถึงอำเภอจอมทอง มีทางแยกขวามือขึ้น ดอยอินทนนท์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ราวหลักกิโลเมตรท ี่30-31 มีสามแยกตรงหมู่บ้านขุนกลาง ก็เลี้ยวขวาไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านขุนวาง เลยหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานนีเกษตรฯ ขุนวาง ถนนเป็นถนนลาดยาง อาจจะมีหลุมบาง
2. โดยรถสาธารณะ
หากต้องการเดินทางวางโดยไม่มีรถส่วนตัว ต้องอาศัยเช่ารถสองแถวสีเหลือง โดยสามารถเช่าได้ตรงอำเภอจองทอง ตรงคิว รถสองแถวขึ้นดอยอินทนนท์ตรงวัดพระธาตุศรีจอมทอง
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) สำนักงานตั้งอยู่ที่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
โทร. (053) 114133-6
ป้ายคำ : ศูนย์เรียนรู้