ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร

21 มิถุนายน 2556 ศาสตร์พระราชา 0

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็น แบบจำลองของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นพื้นที่ ส่วนย่อ ที่สอดค้องกับการแก้ปัญหา และศึกษาวิธีการพัฒนาของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม

เมื่อวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคแรกอย่างทั่วถึงจึงเป็นที่ปลาบปลื้มปิติยินดีของมวลพสกนิกรทั้งหลายยิ่งนักในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ทำให้พระองค์ทรงประสบปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรภาคอิสานว่าแร้นแค้นยิ่งนัก

อีกทั้งการคมนาคมหลายแห่งทุรกันดารยิ่งและถือได้ว่าการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้นทำให้ทรงได้รับรู้ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญด้านการพัฒนา และเป็นรากฐานสู่การพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริจุดกำเนิดศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมากพระราชดำริ

จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นเหตุปัญหาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพะราชดำริ จากเอกสาร ส่วนพระองค์ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแก่สำนักงานกปร. (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีความตอนหนึ่งว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เดิมเป็นป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการการเกษตรกรรม ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมาก จึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝน ทำให้มีการชะล้าง (Erosion) หน้าดิน (Top Soil) บางลง และเกลือที่อยู่ข้างใต้จะขึ้นเป็นหย่อมๆ” พร้อมกันนี้ ได้พระราชทานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของดินบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ว่า
“…เป็นดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ…”

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ องคมนตรี และนายสุนทร เรืองเล็กอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายเล็ก จินดาสงวน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดาได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นครั้งแรก โดยทรงให้พิจารณาวางโครงการจัดหา น้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานตามพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลอง งานพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ อันได้แก่ การพัฒนาป่าไม้ การเกษตรต่างๆ ตามความเหมาะสม รวมทั้งการดำเนินงานด้านเกษตรอุตสาหกรรม สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองได้ ต่อไป และได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่ ที่พิกัด 48 QUD 961-909 แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระวาง 5843 III เพื่อจัดหาน้ำสนับสนุนศูนย์ฯ พื้นที่โครงการประมาณ 1,800 ไร่ ให้สามารถ ส่งน้ำใช้ทำการศึกษาและทดลองได้ตลอดทั้งปี

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เป็นสถานศึกษา ทดลอง ด้านการพัฒนาทุกรูปแบบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีแผนใหม่ให้แก่เกษตรกร
  2. เพื่อส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาและพัฒนาป่าไม่ในเขตปริฆณฑลของศูนย์ฯ ภูพาน ด้วยระบบชลประทาน
  3. เพื่อการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจและนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นสินค้าเกษตรกรรม
  4. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรต่างๆ เช่น กสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ เป็นต้น

แปลงทดลองการเกษตร
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไดเสด็จทอดพระเนตรตรวจสภาพพื้นที่บริเวณ บ้านนานกเค้า และเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปถึงพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่มาสนับสนุนพื้นที่ เกษตรกรบริเวณบ้านนานกเค้า และทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ ณ บริเวณบ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นพื้นที่ ตัวแทนของภูมิภาคทั้งหมด ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติแวดล้อม และวงจรชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไป ของภาคอิสาน

pupanpor

pupanloa
ดังนั้น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นแบบจำลองของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นพื้นที่ ส่วนย่อ ที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา และศึกษาวิธีการพัฒนาของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม

pupanox

ในปี พ.ศ. 2527 ได้ดำเนินการก่อตั้งที่ทำการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

  1. พื้นที่สาธิตเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม จำนวน 2,300 ไร่
  2. พื้นที่พัฒนาป่าไม้ จำนวน 1,1000 ไร่ พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ ฯ 22 หมู่บ้าน จำนวน 11,000 ไร่

กิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ครอบคลุมทุกด้านที่มีผลต่อการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอันเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ได้แก่

pupanbor

pupanpag

pupancave

  1. งานชลประทาน สร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยตาดไฮใหญ่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก ฝายกักเก็บน้ำจากต้นน้ำลำธาร แนะนำการจัดระบบส่งน้ำและการใช้น้ำแก่เกษตรกร
  2. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศึกษาทดลองวิธีการที่ได้ผลในการเพิ่มผลผลิตและรายได้ เช่น ศึกษาทดสอบเลือกสายพันธุ์ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้นว่า เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า หม่อนไหม ยางพารา เห็ด การจัดระบบการทำฟาร์ม การศึกษาวิธีแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
  3. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่ทรุดโทรม ปลูกและบำรุงป่าธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน ส่งเสริมการปลูกหวายดง ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงครั่ง ควบคุมและป้องกันไฟป่า
  4. งานส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง ศึกษาทดลองและพัฒนาการประมงน้ำจืด ส่งเสริมการเลี้ยงปลาบ่อ และในกระชังในอ่างเก็บน้ำ
  5. งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ศึกษาและทดลองการเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ เช่น ส่งเสริมการปลูกกระถินเป็นรั้วบ้าน ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาด้า การจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ และวิธีแก้ปัญหา เช่น การป้องกันและกำจัดโรคของสัตว์
  6. งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน อนุรักษ์ดินและน้ำวิจัยทดสอบ ถ่ายทอดความรู้แก่ราษฎรเพื่อให้พัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์
  7. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน แนะนำฝึกอบรม ส่งเสริมความรู้ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การตีเหล็ก ผลิตมีด และเครื่องมือเกษตร ฝึกอบรมย้อมสีด้าย ทอผ้า เพื่อให้ราษฎรทำเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นการประหยัด หรือเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้
  8. งานส่งเสริมการเกษตร นำความรู้ด้านเกษตรที่ศึกษาทดลองได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว เผยแพร่แก่เกษตรกรให้นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง
  9. งานศึกษาและพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง จัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน จัดตั้งและพัฒนาองค์กรประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์
  10. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ และราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้นำความรู้ไปพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่ตั้ง ณ หมู่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร 04-274-7458-9 โทรสาร 04-274-7460
http://puparn.rid.go.th/puparn/

pupanmap

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น