บ้านดอนมัน มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะหมู่บ้านพัฒนาตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหมู่บ้านต้นแบบของการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง รณรงค์การเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้า ปลอดอบายมุข สมานฉันท์ ฯลฯ จนสถาบันต่างๆ ก้าวเข้ามาเชิดชูเกียรติอย่างหลากหลาย ซึ่งในแต่ละวัน มักมีผู้คน หน่วยงานสัญจรเข้าออกศึกษาดูงานอยู่อย่างเนืองๆ
แนวคิดของศูนย์
ดำรงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งตนเองอย่างยั่งยืน
แรงบันดาลใจ
ต้องการช่วยเหลือให้คนในชุมชน สังคม อยู่อย่างเป็นสุข มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นคนดีของสังคม และช่วยเหลือตนเองได้
การเรียนรู้
เรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้วิถีชีวิต หลักแนวคิด และการปฏิบัติในการประกอบอาชีพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ทางศูนย์ถนัดเช่น การพึ่งตนเอง การลดรายจ่ายการเกื้อกูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรชุมชนร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาและพัฒนา
บ้านดอนมัน หมู่ที่ 13 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาหมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมๆกันในทุกๆด้าน อย่างเป็นระบบจึงได้กำหนดนโยบายในการทำงานไว้ ดังนี้
กิจกรรมแต่ละครัวเรือน
โรงสีข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ
โรงสีข้าวกล้องเพื่อสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เกิดในชุมชนและศูนย์เรียนรู้การถ่ายทอดภูมิปัญญาและเทคโนโลยีเพื่อให้ชุมชนได้ศึกษาและเรียนรู้ และการบริการด้านข้าวกล้องซึ่งถือว่ามีคุณประโยชน์ด้านโภชนาการสูง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริการ และเป็นการเผยแพร่กิจกรรมโรงสีข้าวกล้องให้แก่ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและใช้ประโยชน์ร่วมกัน
แก๊สชีวภาพ
เป็นกิจกรรมที่นำเอาภูมิปัญญาด้านการใช้พืชสีเขียวโดยผ่านการย่อยสลายจากสัตว์ คือ วัว โดยการใช้มูลวัวมาหมักในถุงลมอย่างหนาและเกิดแก๊สภายใน 20 วัน เริ่มแรกจากนั้นใช้แก๊สหุงต้มอาหารได้ตลอดสามารถที่จะใช้แก๊สในการปรุงอาหารได้ 1 วัน/ 5 ก.ก. ของมูลวัวที่เติมแต่ละวัว แก๊สไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่อันตรายและใช้ได้ง่ายอย่างปลอดภัยเป็นการใช้พลังงานอีกทางหนึ่งโดยเป็นการลงทุนที่น้อยและผลตอบแทนคุ้มค่าประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้เดือนละ 300 400 บาท
การเพาะเห็ด
กลุ่มเพาะเห็ดเริ่มเมื่อปี 2544 มีสมาชิกครั้งแรก 23 คน มีเงินทุนครั้งแรกจำนวน 33,000 บาท และมีเงินสมทบจากสมาชิกเพิ่มเติม 50,000 บาท หุ้นแรกเข้าจำนวน 100 บาท/หุ้นการดำเนินงานเป็นรูปกระบวนการกลุ่มมีคณะกรมการ มีการปันผลตามหุ้น ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียน 100,346.50 บาทมีสมาชิกทั้งหมด25คน การดำเนินกิจกรรมกรเพาะเห็ดได้นำความรู้ ภูมิปัญญาสนับสนุน กิจกรรมเพื่อให้เกิดอาชีพเสริม และเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกและประชาชนในชุมชนให้มีรายได้
กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ
จัดตั้งกลุ่มปี พ.ศ. 2549 มีสมาชิก คน มีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยและลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาทำเป็นปุ๋ย เช่น เศษใบไม้ มูลวัว มูลสุกร มูลไก่ มาเป็นวัตถุดิบ และมีการใช้ปุ๋ยน้ำขยายเอง คือ ปุ๋ยจุลินทรีย์น้ำ EM ใช้ในการย่อยสลายเศษพืช และอื่นๆ ที่ย่อยสลายง่าย และนำไปใช้ได้ในการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ค่าขจัดมลพิษน้ำเน่าเสียทำในสิ่งแวดล้อมที่ดี
บ้านดอนมัน หมู่ที่ 13 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ป้ายคำ : ศูนย์เรียนรู้