ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก

19 มีนาคม 2558 แหล่งเรียนรู้ 0

หลักกสิกรรมธรรมชาติ เลี้ยงดิน ให้ดิน เลี้ยงพืช (feed the soil and let the soil feed the plant) ในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมด และพยายามหาพื้นที่ชดเชยด้วยการอพยพโยกย้ายเข้าไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น เพราะการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวัง และไม่มีการบำรุงรักษา ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรม มนุษย์เราจะใช้ที่ดินเพื่อสนองความต้องการของตนตลอดเวลา และนับวันจะถูกใช้หนักขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้สภาพความสมดุลของดินในหลายพื้นที่ของโลกได้เปลี่ยนแปลงไป การใช้ที่ดินผิดประเภท การทำลายผิวดินในรูปแบบต่างๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การใช้ปุ๋ยเคมี ล้วนส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ในระบบนิเวศ ด้วยการทำการเกษตรของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน มีการ ปอกเปลือกเปลือยดิน การเผา การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นวิธีการที่ผิดธรรมชาติและทำลายธรรมชาติซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา

agthaidenmark

การเกษตรที่ไม่ทำลายธรรมชาติไม่ปอกเปลือกเปลือยดิน ไม่เผา ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม อันเป็นแนวทางของหลักกสิกรรมธรรมชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นอันดับแรก และถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะถือว่าดินเป็นต้นกำเนิดของชีวิต สังคมไทยในอดีตให้ความสำคัญของดินด้วยความเคารพบูชาดินเสมือน แม่ เรียก พระแม่ธรณี การให้ความรักและเอาใจใส่พระแม่ธรณี โดยการ ห่มดิน หรือการคลุมดินไม่เปลือยดิน โดยใช้ฟาง เศษหญ้า หรือเศษพืชผลทางการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการปรุงอาหารเลี้ยงดินโดยการใส่สารอินทรีย์ชีวภาพลงไปเพื่อให้เป็นอาหารของดิน แล้วดินจะปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืช โดยกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เรียกหลักการนี้ว่า

เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช (feed the soil and let the soil feed the plant)

การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ดินกลับมามีชีวิตพืชที่ปลูกก็จะเจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตดี ต้นทุนในการผลิตลดลง รวมถึงการที่ผู้ผลิตและผู้บริโภค มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี จึงมีการให้นิยามของการปฏิบัติเช่นนี้ว่า คืนชีวิตให้แผ่นดิน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ของ ลูก (มนุษย์) ที่มีต่อ แม่(ธรณี)

กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา”ทฤษฎีใหม่ New Theory เป็นภาคปฏิบัติของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเป็น สหวิชาการต่างๆ ดังนี้

  1. กสิกรรมธรรมชาติ มีศาสตร์เกี่ยวกับดิน ในรูปของพระแม่พระธรณี จุลินทรีย์ ศาสตร์ที่เกี่ยวการหมักดอง ซึ่งนำไปสู่เทคนิคการเตรียมดินแบบใหม่ ที่ไม่ต้องใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ทำให้เกษตรกรสามารถลดการพึ่งพาจากภายนอก ศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิธีการคืนชีวิตให้แผ่นดินจึงถูกคิดค้นขึ้นมากว่า ๒๐ ปี ซึ่งรวมไปถึงการทำปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และเทคนิคการผลิตใหม่ที่ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เช่น การเตรียมดิน การไม่เผาตอซัง การไม่ปอกเปลือกเปลือยดิน ให้ห่มดิน ใช้หญ้าแฝก การบริหารจัดการแมลงโดยระบบนิเวศ การใช้สมุนไพร เป็นต้น
  2. การชลประทานแนวใหม่
  3. ระบบการผลิตใหม่ ที่มีความหลากหลายตาม ภูมิ สังคม ปฏิเสธการผลิตแบบเชิงเดี่ยวพึ่งพาภายนอก
  4. การตลาดแบบใหม่ ที่เป็นตลาดเฉพาะ ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นซื้อไม่ต้องขายไกล
  5. การกำหนดราคาแบบใหม่
  6. เกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตและคุณภาพสินค้า
  7. เป็นทฤษฎีที่มีความเป็นองค์รวม เชื่อมต่อตั้งแต่ระดับของปรัญชา ที่เป็นตัวกำกับแนวทาง เช่น ความพอ ความไม่โลภอย่างยิ่ง นำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่พึ่งตนเอง ที่เน้นการปฏิบัติการมากกว่าแค่แนวคิดทฤษฎีแบบตะวันตก และนำไปสู่ผลทางสังคมที่พอเพียงแบ่งปัน นำไปสู่ความสุข ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ให้ความหมายของความสุขไว้ว่า ความปรารถนาดีต่อกัน อนุเคราะห์กันและกัน คือความสุข
  8. ยังมีทฤษฏีใหม่ด้านต่าง ๆ หรือศาสตร์ของพระราชาอีกหลายด้าน
  9. เป็นทฤษฎีที่มีการมองกระบวนการ การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ใน
    ขั้นที่ ๒ และสามารถแข่งขันได้ในขั้นที่ ๓
  10. หลักการของทฤษฎีใหม่ ในส่วนของเกษตรกร ในการแบ่งพื้นที่สี่ส่วน สามารถยืดหยุ่นได้(Tentative) เพื่อ
    ๑.เกษตรกรมีปัญญาในการวางแผนการผลิตของตนเอง
    ๒.ระบบการผลิต ระบบการผลิตจึงเป็นระบบผสมผสาน ทั้ง
    ระบบพืชและสัตว์ตามภูมิ-สังคม
    ๓.ใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะสม การนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    ที่ง่ายในการปฏิบัติ พึ่งพาธรรมชาติ ระบบนิเวศ
    ๔.เน้นการพึ่งพาตนเอง
    ๕.ต้องคำนึงถึงการอุปโภคบริโภค เป็นอันดับแรก ขายทีหลัง
  11. ด้านการแปรรูปและการตลาด
  12. หลักการตลาดใหม่ตามแนวคิด เพราะรัก จึงอยากให้ แบ่งปันความรู้ อุ้มชูกันและกัน

agthaidenmarkdin agthaidenmarkpui agthaidenmarkpug agthaidenmarkna

ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวคิดของการผสมผสานการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกิดการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศได้อย่างแยบคาย จากการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ตระหนักและเห็นคุณค่าจากการได้ใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ปลูก สามารถแจกแจงตามการใช้ประโยชน์ให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้
ประโยชน์เพื่อให้พออยู่คือการปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยาวนานซึ่งจะเน้นประโยชน์ในเนื้อไม้เพื่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน และถือได้ว่าเป็นการออมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคตต้นไม้กลุ่มนี้เช่น ตะเคียนทองยางนา แดง สัก พะยูง พยอม เป็นต้น

  • ประโยชน์เพื่อให้ พอกินคือการปลูกต้นไม้ที่กินได้รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แฮ่ม กล้วย ฟักข้าว เป็นต้น
  • ประโยชน์เพื่อให้ พอใช้คือการปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืนเผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควายหวาย ไผ่ หมีเหม็น เป็นต้น
  • ประโยชน์เพื่อให้ พอร่มเย็นคือประโยชน์อย่างที่ 4 ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง พอร่มเย็นคือป่าทั้ง 3 อย่างจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำ ให้กลับอุดมสมบูรณ์ร่มรื่นและฉ่ำเย็นขึ้นมา

 

agthaidenmarkpah agthaidenmarkpa

วิธีการคือ ปลูกต้นไม้ให้เป็นป่า โดยปลูกต้นไม้หลายระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง เช่น ยางนา ไม้ระดับกลาง เช่น ตะเคียน สัก ประดู่ ไม้กินผล มะม่วง ชมพู่ มะเม่า มะกรูด ไม้ระดับต่ำ ได้แก่สมุนไพรต่างๆ ผักหวานบ้าน ผักเด็ดใบยืนต้น ไม้ระดับเตี้ย เรี่ยดิน ได้แก่ พริก ตะไคร้ ย่านาง เบญจรงค์ และไม้ระดับใต้ดิน เช่น ขิง ข่า เผือก มัน กลอย

agthaidenmarkmap

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น