สถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นสถานีวิจัยหนึ่งในสี่ของมูลนิธิโครงการหลวง เป็นศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผล ให้กับผู้ที่สนใจตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาศึกษาดูงาน และฝึกงานของนักศึกษา พร้อมกับการใช้พื้นที่อย่างถูกต้องบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 45 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 50 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
เมื่อได้พันธุ์พืชที่เหมาะสมจากงานวิจัยทดสอบแล้ว งานสำคัญต่อมาของมูลนิธิโครงการหลวง ก็คือการขยายพันธุ์พืชชนิดนั้น ๆ ให้มีจำนวนมากพอสำหรับการส่งเสริมในระยะแรกพบว่ามีไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิดขยายพันธุ์ได้ดีเกือบตลอดทั้งปีบนพื้นที่ที่ไม่หนาวเย็นหรือร้อนมากเกินไป ในปี พ.ศ. 2522 มูลนิธิโครงการหลวง จึงได้เลือกพื้นที่ส่วนหนึ่งของสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาว สะเมิง สังกัดกรมวิชาการเกษตร ที่หมู่บ้านปางดะ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งการขยายพันธุ์พืช ต่อมาเมื่อปริมาณความต้องการกล้าพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้น สถานที่ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงพิจารณาสถานที่แห่งใหม่ ติดกับอ่างเก็บน้ำโครงการตามพระราชดำริห้วยปลาก้าง ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2526 อยู่ไม่ไกลจากบริเวณเดิมมากนักโดยดำเนินการภายใต้ชื่อ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง 12 กุมภาพันธ์ 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรกิจการของศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง แห่งนี้เป็นครั้งแรก พร้อมกันนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า สถานีเกษตรหลวงปางดะ
สถานที่ตั้งและลักษณะทั่วไป
สถานีเกษตรหลวงปางดะ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะเป็นพื้นที่ลาดชัน ตั้งอยู่ในแอ่งหุบเขา มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีแหล่งน้ำสายหลักคือ ห้วยปลาก้าง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 720 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากตั้งอยู่ในแอ่งหุบเขาและมีระดับความสูงที่ปานกลาง อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 23.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35.00 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำสุด 9.5 องศาเซลเซียสในเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนทั้งปี 1,863.20 มิลลิเมตร
ประชากรที่อยู่อาศัย
สถานีเกษตรหลวงปางดะ มีพื้นที่รับผิดชอบ 13 หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเมืองและไทลื้อ
ปี พ.ศ.2522 มูลนิธิโครงการหลวงได้เลือกพื้นที่ในสถานีทดลองข้าวไร่ และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง ของกรมวิชาการเกษตรหมู่บ้านปางดะ เป็นแหล่งทำการขยายพันธุ์พืช เมื่อปริมาณความต้องการด้านพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลิตต้นพันธุ์ได้ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงเปิดสถานที่แห่งใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2526 บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ติดอ่างเก็บน้ำโครงการพระราชดำริห้วยปลาก้าง ซึ่งไม่ไกลจากบริเวณเดิมมากนัก
ต่อมาในปี พ.ศ.2528-2529 จึงซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 65 ไร่ ขยายพื้นที่สำหรับการขยายพันธุ์พืชอย่างถาวร โดยดำเนินงานภายใต้ชื่อ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง จนเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเยี่ยมศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวงเป็นครั้งแรก โดยทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ และในโอกาสนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า สถานีเกษตรหลวงปางดะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาพระราชทานให้ใช้ชื่อนี้ พร้อมกับได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมรวม 150 ไร่ ในปีเดียวกัน
สถานีเกษตรหลวงปางดะ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,232 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการทำแปลงศึกษาวิจัยรวม 804 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะคงสภาพป่าไม้เพื่อให้เป็นป่าต้นน้ำลำธารและพื้นที่บริเวณสถานี รวมถึงในบริเวณใกล้เคียงมีสภาพพื้นที่ที่มีความลาดชัน มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น การส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านที่อยู่ในที่นี้ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและไม่บุกรุกป่าไม้
ในส่วนงานด้านการผลิตและขยายพันธุ์ไม้ผลก็มีอย่างหลากหลาย เช่น พลับ มะเฟือง อะโวคาโด มะละกอ ส้ม เลมอน เสาวรส แก้วมังกร มะม่วง และลิ้นจี่ สำหรับพืชผักและสมุนไพรก็มีกุยช่ายดอก กุยช่ายขาว ถั่วแขก พริกหวาน อาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง พืชผักสมุนไพรและเมล็ดพืชผักชนิดต่างๆ ขณะที่ไม้ดอก จะเน้นหน้าวัวลูกผสม กระเจียว บัวชั้นและเฮลิโคเนีย สำหรับไม้โตเร็วและไผ่ต่างถิ่น เช่น การบูร จันทร์ทอง พอโลเนีย ไผ่หวานอ่างขาว และไผ่หยก นอกจากนี้ยังงานผลิตและขยายพันธุ์แฝกอีกด้วย
นอกจากนี้ ทางสถานียังได้ร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดินในการจัดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อแบ่งแยกพื้นที่ทำกินกับพื้นที่ป่าไม้ให้ชัดเจน โดยจัดทำเป็น โมเดลต้นแบบ คือ พื้นที่สูงให้คงไว้เป็นป่าต้นน้ำ ถัดลงมาที่มีความลาดชันให้ปลูกไม้ผล ส่วนพื้นที่ราบให้ปลูกพืชไร่ พืชผัก ซึ่งในส่วนของแปลงไม้ผลที่อยู่ในพื้นที่ลาดชัน กรมพัฒนาที่ดินได้เข้ามาส่งเสริมการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ ทำขั้นบันไดดิน และปลูกแฝก ขวางทางลาดเท เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
งานหลักจะเน้นงานวิจัยการขยายพันธุ์พืชและการขยายผลสู่เกษตรกร ที่นี่อากาศไม่หนาวมาก เมื่อเทียบกับอ่างขาง ฉะนั้นพวกพืชผักและไม้ผลจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า อย่างเสาวรส ถือเป็นจุดเด่นของที่นี่ เมื่อก่อนรับประทานสดไม่ได้ แต่เราวิจัยจนสามารถนำมารับประทานสดได้เลย แล้วยังมีข้าวโพดหวานสองสี กุยช่ายขาว โดยผลผลิตทั้งหมดจะส่งให้แก่โครงการหลวง
ผลจากการศึกษาวิจัยของสถานีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น สามารถพัฒนาพันธุ์พืช ไม้ผลเมืองหนาวที่สามารถนำมาปลูกในพื้นที่เขตร้อนได้สำเร็จเป็นแห่งแรก โดยเฉพาะกีวีฟรุต ที่มีการปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ใหม่ที่ปลูกได้ในเขตร้อนหรือพื้นที่ที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อุณหภูมิบนพื้นที่สูงอาจจะร้อนขึ้น
ปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงปางดะได้ขยายขอบเขตการปฏิบัติงาน เป็นสถานีวิจัยขยายพันธุ์พืชหลายชนิด นอกจากไม้ผลเมืองหนาว ไม้ดอกเมืองหนาว ไม้ผลเมืองร้อนและกึ่งร้อน ถั่วแขกและไม้ป่าไม้โตเร็ว
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
จุดชมวิวอำเภอสะเมิง ชมทิวทัศน์ที่สวยงามของชั้น ถ้าวันที่ฟ้าเปิดจะสามารถมองเห็นวิวได้ไกลถึงยอดดอยอินทนนท์
ของฝากของที่ระลึก
ผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล เช่น มะเดื่อ ฝรั่ง ข้าวโพดหวานสองสี ผักอินทรีย์ ฯลฯ
ที่พัก-ร้านอาหาร
บ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ ขนาด 4 ห้องนอน รองรับได้ 10-15 คน มีสถานที่กางเต็นท์ และบริการเช่าเต็นท์พร้อมถุงนอน นักท่องเที่ยวสามารถสั่งรายการอาหารล้วงหน้าได้ก่อนการเดินทางในกรณีมาเป็นหมู่คณะ
การเดินทาง
เส้นทางที่ 1 จากเชียงใหม่ไปทางหางดง เมื่อเจอแยกไป อ.สะเมิงให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 1269 อีก 39 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 จากเชียงใหม่ไปทาง อ.แม่ริม เมื่อเจอแยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง 1096 จนกระทั่งเจอสามแยกไปสะเมิง ให้เลี้ยวขวา (ทางหลวงหมายเลข 1269) อีกครั้ง รวมระยะทาง 33 กิโลเมตร
http://www.royalprojectthailand.com
สถานีเกษตรหลวงปางดะ 192 หมู่ 10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ 50250
โทร 053-378-046, 053-318-322
ป้ายคำ : ศูนย์เรียนรู้