สนิท ทิพย์นางรอง นักพัฒนาแห่งบ้านลิ่มทอง

ปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น เพราะชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้อย่างเคย ทำให้นางสนิท ทิพย์นางรอง หรือน้าน้อย แห่งชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มศึกษาหาแนวทางแก้ปัญหาเรื่องดินและน้ำอย่างบูรณาการ จนทำให้ครอบครัว รวมทั้งเกษตรกรในชุมชน สามารถวางแผนทำเกษตรกรรมเลี้ยงตัวเองได้ตลอดทั้งปี

ก่อนที่ฤดูกาลทำนาจะเวียนมาถึงอีกครั้งในช่วง 1 2 เดือนข้างหน้านี้ นางสนิท ทิพย์นางรอง หรือน้าน้อย เกษตรกรชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เลือกใช้ประโยชน์จากผืนนาของตัวเอง ด้วยการเพาะเห็ดฟาง ซึ่งเพาะเลี้ยงและดูแลง่าย อีกทั้งยังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเห็ดฟาง เป็นทางเลือกที่สร้างรายได้ให้เธอไม่น้อยกว่า 300 500 บาทต่อวัน นอกจากนี้ หมูและเป็ดที่เลี้ยงไว้ในบริเวณรอบๆบ้าน ยังช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ แกลบจากเล้าหมูก็ยังสามารถนำไปเป็นส่วนผสมเพื่อใช้สำหรับการบำรุงหน้าดินได้ด้วย

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

น้าน้อย เล่าว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนแห่งนี้ ต่างเผชิญปัญหาภาระหนี้สินรุมเร้า เนื่องจากต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อนำมาใช้เป็นเงินลงทุนในการทำนา แต่ผลผลิตที่ได้รับกลับ ไม่เพียงพอที่จะปลดหนี้หรือแม้แต่เลี้ยงครอบครัวได้ จึงทำให้เธอได้เรียนรู้ที่จะวางแผนการทำการเกษตรตลอดทั้งปี เพื่อสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัวและชุมชน

sanitsoon

สภาพปัญหาของชุมชนบ้านลิ่มทองพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดบุรีรัมย์ มักประสบกับปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้า จนถึงกับมีคำกล่าวว่า บุรีรัมย์ตานากินเพราะไม่มีน้าเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และทาการเกษตร อ่างเก็บน้ำของกรมชลประทานที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นน้าจากลำมาศไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มากพอที่จะผลักดันให้น้ำไหลผ่านหมู่บ้านลาห้วยที่เคยส่งน้ำเข้าถึงชุมชนก็หมดสภาพใช้การไม่ได้ลำคลองธรรมชาติตื้นเขินไม่สามารถส่งน้ำได้สะดวก พื้นที่การเกษตรของชุมชนบ้านลิ่มทอง กว่า ๓,๘๐๐ ไร่ ต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ชาวบ้านซึ่งมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ต้องเจอกับปัญหาฝนทิ้งช่วง ไม่มีแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งเป็น ไม่มีคลองสาขาในการส่งน้าใช้อุปโภคบริโภค และทำการเกษตรจุดเริ่มต้นและแนวคิดการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นขึ้นจากการเรียนรู้ของแกนนาชุมชนที่พยายามจะแก้ปัญหาการดำรงชีพ และหนี้สินของครัวเรือน โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา มีการเก็บข้อมูลน้ำในชุมชน เพื่อปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน ด้วยการสร้างถังเก็บน้ำ ระบบบำบัดประปาน้ำใส และระบบส่งน้ำที่สามารถกระจายน้ำได้ทั่วชุมชน การฟื้นฟูสภาพอ่างเก็บน้ำและขุดบ่อเก็บสำรองน้ำเพิ่มเติม รวมทั้งการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาตลิ่งและเพิ่มความชุ่มชื้นของดิน

นอกจากนั้น “น้าน้อย” ยังได้ร่วมกับชาวบ้านขุดแหล่งกักเก็บน้ำ หรือโครงการแก้มลิง ไว้ใช้ภายในหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการทำธนาคารขยะชุมชน อีกด้วย

ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่น้าน้อยลงมือพัฒนาและถ่ายทอดความรู้เรื่องการทำการเกษตรอย่างบูรณาการ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนดีขึ้น และรู้จักวิธีการคิดอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุนี้ ทำให้เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา เธอได้รับ ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ซึ่งได้สร้างความรู้สึกปราบปลื้อมให้แก่ตัวเองและครอบครัวเป็นอย่างมาก

ตลอดเส้นทางการสู้ชีวิตมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะผู้นำครอบครัวและผู้นำของชุมชน น้าน้อย บอกว่า ในวันนี้ เธอได้เดินตามทางฝันของตัวเองได้สำเร็จแล้ว และรู้สึกดีใจที่สามารถปลดหนี้ให้แก่ครอบครัว และยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขลงบนผืนนาในชุมชนบ้านลิ่มทองแห่งนี้ให้มีความยั่งยืนตลอดไป

การบริหารจัดการน้ำ
มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาใช้เก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ของชุมชน ทั้งในเรื่องปริมาณน้ำฝน ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นมีการประชุมร่วมของชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ และจัดตั้งคณะกรรมการน้ำเพื่อดูแลจัดการน้ำสาหรับการอุปโภคและบริโภคภายในชุมชน และ การขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชนใกล้เคียง

sanitbo

แนวทางการดำเนินงานในการจัดการตนเอง
ชุมชนดำเนินงานตามแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยน้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้เป็นแนวทางการดาเนินงาน ดังพระราชดารัสที่ว่า นาคือชีวิต การลงพื้นที่ดูงานจากเครือข่ายชุมชนที่ประสบความสาเร็จโดยไม่ต้องรอให้ใครมาช่วย การระดมความคิด ศึกษาข้อมูลและปัญหาต่างๆ ของชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนให้มีจิตอาสา และ การสร้างแหล่งน้ำด้วยการขุดคลอง

sanitprinya

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น