สนแผง เป็นไม้พรรณยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขามากมาย และลำต้นจะบิดเป็นเกลียว เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมแดง ลำต้นจะสูงเต็มที่ ประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นใบไม้ร่วม แตกออกเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงติดกันแน่นกับกิ่ง ซึ่งอยู่ลักษณะเป็นแผง มีสีเขียวสดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เปลือกต้น นำมาฝนเป็นยากวาดทวารเบา ทำให้ระดูขาวแห้ง ใบ แก้ปวดตามข้อ ลดไข้ ช่วยห้ามเลือด ริดสีดวงทวาร ตกเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Biota orinentalis (Linn.) Endl.
วงศ์ CUPRESSACEAE
ชื่ออื่น สนหางสิงห์ สนเทศ เจ้กแป้ะ เช่อไป่เย่ ไป่จื่อเหยิน(จีนกลาง)
ลักษณะ
สนแผงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๒๐ เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นเกล็ดมีสีน้ำตาลอมแดง ลำต้น และกิ่งก้านบิดเป็นเกลียว ใบประกอบแบบขนนกหลายชั้น เรียงเป็นแผง ใบย่อยเรียงสลับเป็นเกล็ดมีขนาดเล็ก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวที่ง่ามใบ ดอกมีลักษณะกลมรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน ดอกตัวผู้และตัวเมีย แยกดอกกัน ดอกตัวเมียไม่มีก้าน ดอกตัวผู้จะมีก้านสั้นๆ ผลรูปกลมตั้งตรง ผลอ่อนฉ่ำน้ำ สีเขียวอมน้ำเงิน มีผงสีขาวปกคลุม เมื่อแก่เป็นผลแห้ง มีสีน้ำตาลอมแดง จะแตกออกเป็น๘แฉก ภายในมีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด เมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลเข้มและมีสัน ภาษาจีนกลางเรียกเมล็ดสนแผงว่า “ไป่จื่อเหยิน”
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
เปลือกต้น นำมาฝนเป็นยากวาดทวารเบา ทำให้ระดูขาวแห้ง
ใบแก้ปวดตามข้อ ลดไข้ ช่วยห้ามเลือด ริดสีดวงทวาร ตกเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บิดไม่มีตัว แผลผุพองจากน้ำร้อน ไฟไหม้ คางทูม
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา : มีการกระจายพันธุ์ในพม่า จีนภาคใต้ ลาว ไต้หวัน และเวียดนาม
ประเทศไทยพบทางภาคตะวันอกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดเลย ในป่าดิบเขา ความสูงจากระดับทะเล 800-1,300 ม.
ที่มา
ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม โดยกองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สารานุกรมสมุนไพร โดยนายวุฒิ วุฒิธรรมเวช
ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณยาเทศและยาไทย รวบรวมและเรียบเรียงโดย หมอเสงี่ยม พงษ์บุญรอด
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม Ph.D.,LL .B.
สารานุกรม สมุนไพรไทยจีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย โดนนาย วิทยาบุญวรพัฒน์
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง