สมอไทย สมุนไพรต้านอนุมูลอิสระ

11 เมษายน 2558 สมุนไพร 0

สมอไทยมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุของความเสื่อมของร่างกายและโรคเรื้อรัง ลดโอกาสการแพ้ที่เกิดจากสารเคมี สมอไทย นับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีผลเป็นลูกป้อมๆ รีๆ มีขนาดเล็กประมาณหัวแม่มือ ผิวเกลี้ยงไม่มีขน เมื่อแก่จะมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนเรื่องของรสชาตินั้นค่อนข้างทรมานใจเด็กและผู้ใหญ่หลายคน เพราะมีทั้งฝาดทั้งขม แต่เมื่อกินไปสักพักจะกลายเป็นความหวานชุ่มคอ

samorthaimed

เนื่องจากมีสารพวกแทนนิน (tannin) จึงใช้เป็นยาสมาน แก้ลมจุกเสียด ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง เป็นยาชงอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย ใช้ภายนอกบดเป็นผงละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกเป็นแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้พิษร้อนภายใน แก้ลมป่วง ระบายลม รู้ถ่ายรู้ปิดเอง คุมธาตุในตัวเสร็จ ถ่ายพิษไข้ สารสกัดจากสมอไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด ในขณะเดียวกันยังสามารถบำรุงสุขภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ในประเทศอินเดีย สารสกัดจากสมอไทยใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร อาการอาหารไม่ย่อย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ อาการไข้เป็นระยะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก แผลในทางเดินอาหาร อาเจียน อาการเจ็บปวดในลำไส้ และริดสีดวงทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส รวมทั้งเชื้อ HIV และแบคทีเรียบางชนิด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยการทำงานของตับในการกำจัดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกายได้อีกด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อท้องถิ่น : สมออัพยา มะนะ (ภาคเหนือ) ม่าแน่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่

ลักษณะ :
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 – 25 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด เป็นพุ่มกลม เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลค่อนข้างดำ เปลือกใน สีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 10 – 13 ซม. ยาว 18 – 28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2 – 2.5 ซม.

  • ใบอ่อน ขอบใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เรียงเป็นระเบียบ ใบแก่หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ท้องใบสีจางกว่า มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม เมื่อใบแก่ ขนทั้ง 2 ด้านจะหลุดร่วงหมดไป
  • ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4 – 7 ช่อ ปลายช่อจะห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 – 4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมี
  • ผล เป็นพวกผลสด รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปกระสวย หรือรูปรักบี้ ยาว 3 – 4 ซม. กว้าง 2 – 3 ซม. ผิวเรียบมี 5 เหลี่ยมหรือพู จำนวนเมล็ด มี 1 เมล็ด มีเนื้อเยื่อหนาหุ้ม ผลแก่ สีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อแห้งจะออกสีดำ

samorthaiking samorthaiton samorthaidok samorthaibi samorthaipol

สรรพคุณ :
ดอก รสฝาด ต้มดื่มแก้บิด ลูกแก่ รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี ถ่ายอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ลมป่วง แก้พิษร้อน ภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุ แก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ดีพลุ่ง แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย แก้นอนสะดุ้งผวา ดองกับน้ำมูตรโค ดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อ่อนเพลีย บดเป็นผงโรยแผลเรื้อรัง
เนื้อลูกสมอ รสฝาดเปรี้ยว แก้บิด แก้ท้องผูก แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมส แก้ตับ ม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง
ลูกอ่อน รสเปรี้ยว ถ่ายอุจจาระ แก้โลหิตในท้อง แก้น้ำดี แก้เสมหะ เปลือกต้น รสฝาดเมา ต้มดื่ม บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ

samorthaibai

สมอไทยมักได้รับการยอมรับว่าเป็น ราชาสมุนไพร เนื่องจากฤทธิ์ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายและบำบัดโรคหลายชนิด โดยสรรพคุณเด่นอีกข้อของสมอไทยที่ต้องชวนกันมาขยายต่อก็คือ ประโยชน์ในการแก้โรคท้องผูก ซึ่งยาทั่วไปอาจจะช่วยถ่ายท้องได้ แต่แก้โรคท้องผูกไม่ได้ แถมถ้าหยุดยาก็อาจกลับมาทำให้ท้องผูกหนักขึ้น โดยคนที่ท้องผูกเรื้อรังมักจะมีอาการร้อนใน ปากเปื่อย ตาไม่มีประกาย แม้จะกินผักผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ หรือแม้ว่าออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว แต่ก็ยังไม่หายท้องผูก ซึ่งการกินสมอไทยสามารถช่วยรักษาโรคท้องผูกเรื้อรังได้ เพราะสมุนไพรที่ว่านี้ไม่เพียงเป็นแค่ยาถ่ายเท่านั้น แต่ยังช่วยชำระล้างลำไส้ให้สะอาด มีสมรรถภาพในการบีบตัว ขับถ่ายได้คล่องตัว โดยให้กินสมอไทยวันละ 3-5 ลูกทุกวัน จนกว่าอาการท้องผูกหายไปแล้วจึงหยุดกินยา

สมอไทยนอกจากจะนำมาเป็นยาสมุนไพรแล้ว เรายังนำมาเป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวมได้อีกด้วย โดยนำเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อนำมาปั่นร่วมกับผลไม้อื่น แคลเซียมในสมอไทยช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินเอช่วยในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ และวิตามินซีสร้างแรงยืดหยุ่นให้ผิวหน้า ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด

samorthaikla

ที่มา
ฐานข้อมูลเครื่องยาไทยอีสาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene