เทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

12 กุมภาพันธ์ 2556 ภูมิปัญญา 2

นวัตกรรมเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน คือการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นเทคโนโลยีสร้างพฤติกรรมจุลินทรีย์ใหม่ ที่สามารถขยายพันธุ์ด้วยตนเองโดยการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ เพื่อให้จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ให้ได้มากที่สุด เกิดตายสะสมกันอย่างมากมาย จุลินทรีย์เหล่านั้นก็กลายเป็นอาหารพืช สัตว์ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโนมาใช้นี้ จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร ให้สามารถลดต้นทุนให้ต่ำลงกว่าครึ่งหนึ่ง เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นกว่าเดิม 2-4 เท่า และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่แปลงนาให้เกิดสมดุลตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

จุลินทรีย์พลังสรรพสิ่ง หรือพลังง้วนดิน (อะตอมมิคนาโน) คือการคัดสายพันธุ์หรือพัฒนาสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประโยชน์ เพื่อนำมาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วขยายหรือเพิ่มปริมาณโดยการหมักตามธรรมชาติ เกิดการสร้างกรดอะมิโน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่ง่ายต่อการดูดซึมของพืช องค์ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมิคนาโน ได้แก่
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria) พบทั่วไปในธรรมชาติ เป็นแบคที่เรียที่สามารถใช้แสงเป็นแหล่งพลังงาน และออกซิไดซ์ สารประกอบอินทรีย์โดยเฉพาะกรดอินทรีย์หลายชนิดในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนแต่มีแสงได้ จึงมีคุณประโยชน์ในการเกษตร และ ปศุสัตว์ รวมถึง อุตสาหกรรมทางเคมี และปิโตเลียม เป็นต้น
พลังง้วนดินธรรมชาติ (แบคทีเรียสังเคราะห์แสง) สามารถนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้โดยการแบ่งอนุภาคอะตอมเดียว แบคทีเรียสังเคราะห์แสงบรรจุไว้ใน “อะตอมมิค” ซึ่งเป็นซากสัตว์สองเซลล์ที่มีรูพรุน มีขนาดโมเลกุลขนาดเล็ก ด้วยสารเคมีสูตรเข้มข้นโดยวิธีการหมัก สังเคราะห์ จะทำให้มีกลิ่นหอม สร้างกรดอะมีโน วิตามิน และน้ำตาลมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์
พลังแอนตี้ออกซิแดนท์ เกิดจากการที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดสนามคลื่นสั่นสะเทือนเท่ากัน ก่อให้เกิดความสมดุล คามกลมกลืน ผลผลิต พืชและสัตว์โตสม่ำเสมอ
จุลินทรีย์ที่เกิดจากพลังงานง้วนดิน(อะตอมมิคนาโน) เป็นแบคทีเรีย ประเภทที่ตรึงไนโตรเจนอิสระประเภทต้องการออกซิเจน (O2) น้อยอยู่ในตระกูลเอ็นเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacter) รวมกันอยู่ทั้ง 2 สกุล และเป็นชนิด เคล็บซิล่าวาริอิโคลา (Klebsilla cariicola) อยู่รวมกับเอ็นเทอโรแบคเตอร์โควานิอิ (Enterobacter) เป็นสายพันธุ์แบคที่เรียที่ตรึงไนโตรเจนที่พบใหม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในไร่นาเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้

atommicnam

จุลินทรีย์ท้องถิ่น…หัวใจสำคัญ
จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้าน ได้แก่ จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่อยู่ในดินตามธรรมชาติ โดยเฉพาะดินดีที่ไม่เคยผ่านการใช้สารเคมีหรือดินดีจากป่าไม้ที่อยู่ภายในท้องถิ่น จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์นํ้าหมักอีเอ็มสูตรต่างๆ เพราะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโต มีความทนทานได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ

จุลินทรีย์ พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ คืออะไร
จุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เซลล์เดียวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดเล็กกว่ากล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะมองเห็นได้เช่น แบคทีเรียต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จะเห็นได้เมื่อมีการเพิ่มจำนวนเป็นกลุ่มที่เรียกว่า โคโลนี มักเป็นวงจรชีวิตเริ่มต้น หลังจากมีการแบ่งเซลล์ จะแยกออกเป็นเซลล์เดียวๆก็ได้ เช่น สัตว์เซลล์เดียวพวกโปรโตซัว
จุลินทรีย์ ที่มีโครงสร้างของเซล์ไม่ซับซ้อน เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตเริ่มแรก จะมีโครงสร้างเซลล์ง่ายๆ ไม่มีเยื่อหุ้มสารพันธุกรรม เรียกเซลล์แบบนี้ว่า โปรคารีโอต(Prokaryot) จุลินทรีย์อีกกลุ่มหนึ่ง จะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส แยกสารพันธุกรรมออกจากไซโทรพลาสซึม โครงสร้างเซลล์แบบนี้เรียกว่า ยูคารีโอต(Eukaryot)
การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ในวิถีชีวิตของคน มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากการค้นพบพฤติกรรมของนกเมื่อดื่มน้ำจากโพรงไม้ที่มีผลไม้ตกมารวมกัน ถูกยีสต์ในธรรมชาติย่อยกลายเป็นแอลกอฮอล์ ทำให้คนนำมาผลิตเหล้าในปัจจุบัน
การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรก็เช่นเดียวกัน เริ่มต้นจากการนำจุลินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เมื่อวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นมีการค้นหาจุลินทรีย์มาช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุรวมทั้งแร่ธาตุในดิน โดยเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายแร๋ธาตุเช่น ย่อยฟอสเฟต ย่อยซากพืชในสภาพเป็นซากพืชซากสัตว์ สภาพเป็นน้ำ
ในระยะ 30 กว่าปี ได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์มีประโยชน์ จำนวนประมาณ 80 สายพันธุ์มาเลี้ยงในสภาพพิเศษ ที่เรียกว่า เข้าเกราะ (phage)บรรจุลงในอาหารเหลวเข้มข้น รู้จักกันในนาม จุลินทรีย์มีประสิทธิ์ภาพสูง หรือ อีเอ็ม(EM) มีการใช้กันแพร่หลายและยอมรับในการนำมาใช้ในการเกษตรและประยุกต์ใช้งาน
ในการพัฒนาประสิทธิภาพของอีเอ็ม ผ่านการเผยแพร่และวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพบวกกับความตระหนักถึงความสำคัญของจุลินทรีย์ท้องถิ่น ที่พัฒนามาพร้อมกับโลกกว่า 3 ล้านปี
โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตกว่า 3 ล้านปีอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุณหภูมิ แสงแดด และความชื้น

ที่มาของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
นักวิจัยคนไทยคนหนึ่ง ได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้งานจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับคิวเซกว่า 8 ปี ได้เข้าใจระบบนิเวศของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ไม่ใช่อยู่อย่างอิสระ โดดเด่นเฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง แต่มีจุุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์ตัวอื่นๆ จุลินทรีย์สำคัญที่สุดนั้นคือ คือ จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง และเช่นเดียวกันจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆก็ต้องวิวัฒนาการตัวเอง เพื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆได้
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จะมีสารสีสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ หลากหลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ A B C D และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนที่เป็นสารประกอบในโครงสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์แต่ละชนิด
ซึ่งแตกต่างจากพืชทั่วไปจะมี คลอโรฟิลล์ A หรือคลอโรฟิลล์ B จึงมีกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบในโครงสร้างไม่หลากหลายเหมือนกับจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เราทราบอยู่แล้วว่า กรดอะมิโนสำคัญมี 20 ชนิดจะก่อให้เกิดโปรตีนและอนุพันธุ์ของโปรตีนอีกมากมาย ที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์
จุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีวงจรชิวิตสั้นและสามารถใช้แหล่งพลังงานธรรมชาติได้หลากหลาย จึงเป็นผู็ผลิตที่สำคัญในระบบนิเวศ ถ้าเรามีวิธีการสร้างจุลินทรีย์กลุ่มนี้มากๆ ก็จะช่วยให้การถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
กรอบคิดของคนปัจจุบัน ติดอยู่กับชนิดของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ชนิดใดจะมีประสิทธิภาพสูง และเพิ่มจำนวนมากๆ ได้ จึงค้นหาจุลินทรีย์สังเคราะห์มาเลี้ยงโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศของจุลินทรีย์ จึงเป็นทางตันของการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั้งยืนได้ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์พลังง้วนดิน เป็นจุดจุดเริ่มต้น ที่แตกต่างในการนำจุลินทรีย์กลุ่มสังเคราะห์แสงมาใช้ประโยชน์ ในปัจจุบัน
ในธรรมชาติมีจุลินทรีย์จำนวนมากหมายมหาศาล แต่จะเป็นกลุ่มสังเคราะห์แสงเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ ที่เหลือเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามาารถอื่นๆ แนวคิดหรือทฤษฎีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์จึงถึงทางตัน ไม่สามารถลดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนได้ เพราะไม่เข้าใจพฤติกรรมการเจริญเติบโตและกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์นั้นเอง
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ทำอย่างไรจะชักนำให้จุลินทรีย์ที่ไม่สังเคราะห์แสง สามารถสังเคราะห์แสงมากขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง จึงเป็นวิธีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน

ทฤษฎีการทำปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน
จุลินทรีย์ชนิดที่มีโครงสร้างง่ายๆ เรียกว่า โปรคารีโอต กลุ่มสังเคราะห์แสง 2 ชนิด คือ Klebsilla variicola และ Enterobacter cowanii มีบทบาทสำคัญต่อจุลินทรีย์อื่นๆ จึงเรียกว่า พญาจุลินทรีย์ มีอิทธิพลต่อจุลินทรีย์ชนิดอื่น เพราะมีคุณสมบัติที่พิเศษสำคัญ 2 อย่าง คือ

  1. มีคลอโรฟิลล์หรือสังเคราะห์ด้วยแสงได้ สร้างกรดอะมิโนได้หลากหลาย
  2. เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มโปรคารีโอต สามารถทำให้เข้าเกราะ(phage)ได้

สภาวะเข้าเกราะ (phage) หมายถึง การนำจุลินทรีย์มาเลี้ยงด้วยเทคนิคพิเศษ เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมในรูปของอณูชีวภาพ ที่มีสารพันธุกรรมหุ้มด้วยเกราะโปรตีนฟอลิเปปไตด์ มีลักษณะคล้ายสปอร์ของพืชชั้นต่ำ
อาหารของจุลินทรีย์ ต้องการสารอาหารเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ น้ำตาล กรดอะมิโนและสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรืออินทรีย์สาร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ อุณหภูมิ ความชื้นและสารต้านอนุมูลอิสระ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นให้สารต้านอนุมูลอิสระช่วยตัดสายพันธะของสารพันธุกรรม ช่วยในการตัดต่อสารพันธุกรรมในธรรมชาตินั้นเอง
แหล่งอาหารของจุลินทรีย์ ได้แก่ น้ำตาล นมที่ผ่านการย่อยให้เล็กลง(นมเปรียง) เพื่อให้จุลินทรีย์นำไปใช้ได้ รำอ่อน เป็นแหล่งอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระที่สกัดจากน้ำหมักผลไม้ต่างๆ
ความเข้าใจการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และการกลายพันธุ์ในธรรมชาติ นำมาผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์พลังง้วนดิน จึงเป็นวัตกรรมใหม่สำหรับคนไทยอย่างแท้จริง ที่จะช่วยพัฒนาการเกษตรกรรมหลักของสังคมไทย ที่สอดคล้องกับความสมบูรณ์ของประเทศไทย ความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเฉพาะความหลากหลายของจุลินทรีย์นั้นเอง
การเจริญเติบโตที่น่าสนใจของจุลินทรีย์กลุ่มโปรคารีโอต คือ สามารถเข้าเกราะ(phage) phage จะเจริญเติบโตได้ในผู้อาศัย (host)อาจเป็นจุลินทรีย์ชนิดเดียวกันหรือชนิดอื่นก็ได้ และสามารถเข้าไปอาศัยในhostที่เป็นจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆได้ ทั้งแบคทีเรีย อาร์เคีย และโปรโทซัว เราเรียกว่า Bacteriophage
Bacteriophage จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ คือ

  1. เข้าไปจำลองตัวเอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ในเซลล์ผู้อาศัย ที่เราเรียกว่า การเกิดไวรัส
  2. เข้าไปต่อกับสารพันธุกรรมของhost ทำให้ผู้อาศัยกลายพันธุ์หรือถูกตัดต่อพันธุกรรม

การทำปุ๋ยจุลินทรีย์อตอมมิคนาโน หรือจุลินทรีย์พลังง้วนดิน นี้ จะใช้ประโยชน์จาก ปรากฏการณ์ bacteriophage ขั้นตอนการเกิดไวรัส ในการผลิตหัวเชื้อ น้ำหมักจุลินทรีย์ และขั้นตอนที่ 2 การกลายพันธุ์ของจุลินทรีย์ที่เป็นโฮสต์ ให้สามารถสังเคราะห์แสงได้ เพื่อสร้างกรดอะมิโน เป็นอาหารของพืชนำไปสร้างเม็ดคลอโรฟิลล์ได้โดยตรงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)
วัตถุดิบ

  • รำอ่อน (ต้องเป็นรำอ่อนจากข้าวอินทรีย์เท่านั้น) จำนวน 5 ขีด
  • หัวเชื้อจุลินทรีย์ผงง้วนดิน จำนวน 5 ขีด
  • เกลือสะตุ (ฟองเกลือที่ผ่านการต้มหรือฟองเกลือจากนาเกลือ) จำนวน 3 ขีด
  • กากน้ำตาล จำนวน 5 ขีด
  • จุลินทรีย์ง้วนดินชนิดน้ำ จำนวน 5 ขีด
  • ง้วนดิน (ดินโป่ง ดินดีสำหรับใช้เลี้ยงจุลินทรีย์) จำนวน 5 ขีด
  • สาหร่าย จำนวน 5 ขีด
  • สารแอนตี้ (กลั่นจากปุ๋ยจุลินทรีย์ง้วนดิน 1 ตัน กลั่นได้ 40 ซีซี) จำนวน 1 ขีด
  • ผงฟอสซิลสำหรับเคลือบลูกกอล์ฟ

atommica1 atommica2
ส่วนผสมในการทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ)

วิธีการ

  • นำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาผสมคลุกเคล้ากันหมักไว้ในที่ร่มนาน 45 วันแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกกอล์ฟ แล้วคลุกเคลือบด้วยผงฟอสซิล
  • ถ้ายังไม่ได้ใช้งานให้นำไปเก็บไว้ในที่ร่มจนกว่าจะนำออกมาใช้ประโยชน์

atommica3
จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ) ที่ปั้นก้อนเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้งาน

การใช้ประโยชน์

  • ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
  • ใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับทำปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน
  • หากทำเป็นก้อนจุลินทรีย์ง้วนดิน จะสามารถรักษาน้ำหนักและคงประสิทธิภาพสถานภาพของจุลินทรีย์ได้นาน

การทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ
วัตถุดิบ

  • น้ำสะอาด(น้ำคลอง น้ำบ่อ หรือถ้าใช้น้ำประปาต้องค้างคืนทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน) จำนวน 200 ลิตร
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแบบก้อน(ลูกกอล์ฟ) จำนวน 5 ลูก
  • นมเปรือง (นมเน่าที่ผ่านการหมัก) จำนวน 20 ลิตร
  • กากน้ำตาล จำนวน 20 ลิตร
  • รำอ่อนจำนวน 20 กิโลกรัม
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม

วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ (ปุ๋ยนาโนน้ำ)

atommicb1
วิธีการ

  • นำส่วนผสมทุกอย่างมาหมักรวมกันในถังหมักขนาด 200 ลิตรใช้เวลาหมักนาน 3 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

atommicb2
การนำไปใช้

  • ใช้ผสมทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ง้วนดินได้ 1 ตัน / น้ำจุลินทรีย์ง้วนดิน 200 ลิตร
  • ใช้เจือจางฉีดพ่นบำรุงพืชผักและสลายตอซังในนาข้าวได้ในอัตราส่วน น้ำหมัก 1 ลิตร +น้ำเปล่า 20 ลิตร

การทำปุ๋ยผงจุลินทรีย์ง้วนดิน
วัตถุดิบ

  • ปุ๋ยคอก จำนวน 250 กิโลกรัม
  • ขี้ไก่ จำนวน 250 กิโลกรัม
  • ขี้หมู จำนวน 250 กิโลกรัม
  • จุลินทรีย์ง้วนดินแบบน้ำ จำนวน 200 ลิตร
  • รำผสม (รำอ่อน 1 กระสอบ + รำแก่ 2 กระสอบ) จำนวน 3 กระสอบ
  • สารแอนตี้ (น้ำกลั่นจุลิทรีย์ง้วนดินจากปุ๋ยผงซื้อมาราคาลิตรละ 1,000 บาท) จำนวน 40 ซีซี

atommicc1
วัสดุที่ใช้ทำจุลินทรีย์ง้วนดินแบบแห้ง (ปุ๋ยผง)

วิธีการ

  • นำปุ๋ยคอก ขี้ไก่ขี้หมู และ รำผสมมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อยๆราดน้ำหมักจุลินทรีย์ง้วนดินลงไปและ เทสารแอนตี้ลงไปด้วย จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยต้องผสมอยู่ในพื้นราบเมื่อผสมเสร็จแล้วก็ใช้กระสอบป่านคลุมปิดเก็บความ ชื้นไว้ 5-7 วันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

atommicc2

  • หากต้องการเลี้ยงจุลินทรีย์ง้วนดินก็ใช้วัตถุดิบส่วนผสมเดียวกันแล้วตักใส่ ลังผลไม้ที่มีรูระบายอากาศตั้งหมักไว้ในที่ร่ม นาน 45 วันก็สามารถนำไปใช้ได้ จะมีลักษณะเป็นผงแห้งละเอียด

atommicc3
การนำไปใช้

  • ใช้เป็นปุ๋ยหลักในการทำนาอินทรีย์
  • ประโยชน์หลักเพื่อบำรุงดิน ให้มีความร่วนซุยโปร่ง และบำรุงรากข้าวให้งอกยาวและดูดซึมอาหารได้ลึกกว่าปุ๋ยทั่วไป

เอกสารประกอบ : การทำนาด้วยเทคโนโลยีสรรพสิ่งอะตอมมิคนาโน

ภูมิปัญญาจาก : คุณเสถียร ทองสวัสดิ์ บ้านนาเจริญ หมู่ 16 ต.ดอนจิก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

ป้ายคำ : , ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

2 ความคิดเห็น

  1. Nasay-jo55
    บันทึก มีนาคม 30, 2556 ใน 12:31

    สามารถติดต่อได้ที่ไหนบ้าง? ?
    จากมะมาเซ ? หะยีเต๊ะ ? 086-350-51-05 ? อยู่ ? กทม ?เขตสวนหลวง?

  2. วัชรินทร์
    บันทึก กรกฏาคม 17, 2556 ใน 09:33

    ส่วนผสมต่าง ๆ หาซื้อได้ที่ไหน

    รบกวนแนะนำด้วยครับ

    วัชรินทร์ 086-8699314

แสดงความคิดเห็น