สาเหตุและปัญหาของการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่
สาเหตุและปัญหาการขาดแคลนน้ำทางการเกษตรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าฯ ได้ทรงพบปัญหาที่เกิดขึ้น 2 ประการ
1. ลักษณะนิสัยของคนไทยในการใช้น้ำ ซึ่งพระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริ ว่า
..ธรรมชาตินั้นได้ปรับตัวสร้างความสมดุลระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์อยู่แล้วจะเห็นได้ว่าสภาพภูมิประเทศได้ปรับตัวเองให้เป็นลักษณะ หนอง คลอง บึง เพื่อเก็บกักน้ำยามน้ำหลากในหน้าฝน ซึ่งทำให้มีน้ำใช้ในยามแล้ง แต่มนุษย์กลับละเลย ไม่ดูแลสมบัติธรรมชาติอันล้ำค่านี้ และนอกจากไม่ดูแลแล้วมนุษย์ยังมีความโลภ ที่ทำลายโครงสร้างธรรมชาตินี้ด้วย หนอง คลอง บึง จึงอยู่ในสภาพตื้นเขินจนใช้การไม่ได้ หลายส่วนถูกยึดครองโดยไม่ชอบธรรม และสุดท้ายความทุกข์ยากก็เกิดขึ้น ยามน้ำหลากน้ำก็ไหลบ่า เพราะไม่มีหนอง คลอง บึง คอยรองรับเพื่อผ่อนคลายความรุนแรงและพอพ้นหน้าแล้งก็เกิดภาวะแห้งแล้ง ไม่มีปริมาณน้ำเก็บกักไว้ใช้
2. ในพื้นที่การเกษตร ชาวบ้านได้รับความทุกข์ยากเนื่องจากไม่มีน้ำใช้ ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว เช่น ที่เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ประสบพบว่าชาวบ้านต้องเอาของแหลม ๆ ทิ่มลงในดินอันแห้งแกร่งเพื่อหยอดเมล็ดข้าว ซึ่งเติบโตขึ้นมาอย่างยากเย็นและแสนเข็ญ เพราะต้องอาศัยน้ำค้างอันน้อยนิดมาหล่อชีวิต ผลผลิตได้เมล็ดข้าวลักษณะลีบและเพียง 2 – 3 ถังต่อไร่ เพียงพอที่จะใช้ยาไส้เลี้ยงชีวิตชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเริ่มประเดิมกิจกรรมมูลนิธิชัยพัฒนาและพระราชดำริ การพัฒนาแบบใหม่ โดยได้มีพระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดซื้อที่ดินของวัดมงคล ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี จำนวน 16 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวาบริเวณริมถนนพหลโยธิน กม. 116-117 เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เป็นต้นแบบเพื่อสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรและเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง วัด ราษฎร รัฐ เผยแพร่อาชีพและจริยธรรมแก่ประชาชนและหากประสบความสำเร็จก็จะใช้เป็นแนวทางในที่อื่นต่อไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับเกษตรกรหรือชาวนาคือ ฝนแล้ง ความยากจน การเป็นหนี้สิน ทำอย่างไรจึงจะให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไป พอมีพอกิน ไม่อดอยาก
หลักการที่ใช้จัดหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่
การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่นั้นมีหลักการดังนี้
ที่ดิน 15 ไร่จะจัดแบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัวเพื่อให้เพียงพอบริโภคตลอดปี ในฤดูแล้งจะปลูกพืชราคาดีเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่ายเช่น การปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกหอมแดงและกระเทียม ปลูกข้าวโพด
ส่วนที่ 2 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ปลูกพืชยืนต้นหรือไม้ผล พืชไร่และพืชสมุนไพร (ภาพประกอบ 2.3) ตัวอย่างพืชประเภทต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 3 พื้นที่ 5 ไร่ (30%) ใช้ขุดสระเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำฝนในฤดูฝน มาใช้ปลูกพืชในฤดูแล้ง และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ น้ำอุปโภคและบริโภค ถ้ามีน้ำพอดีในปีไหนก็สามารถที่จะประกอบการเกษตรหรือปลูกข้าวนาปีได้ ถ้าต่อไปในฤดูแล้งน้ำมีน้อยก็สามารถที่จะใช้น้ำที่กักไว้ในสระเก็บกักน้ำของแต่ละแปลงมาทำการเพาะปลูก แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ ไม่ต้องไปเบียดเบียนชลประทานระบบใหญ่ เพราะมีน้ำใช้ของตัวเกษตรกรเอง และสามารถปลูกผักหรือเลี้ยงปลาหรือทำอะไรอื่น ๆ ก็ได้ หลักการที่ใช้ในการพิจารณาขุดสระเก็บกักน้ำมีดังนี้
ส่วนที่ 4 พื้นที่ 2 ไร่ (10%) ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ถนน คันดินและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น โรงเก็บวัสดุ โรงปุ๋ยหมัก โรงเห็ด ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้เสนอแนวทางปฏิบัติด้านการแบ่งสัดส่วน ดำเนินการ ไม่จำเป็นต้องเป็น 30:30:30:10 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพของพื้นที่และขนาดของแรงงานในครัวเรือน
ป้ายคำ : ทฤษฎีใหม่