สลอด ยาถ่ายอย่างแรง

9 ธันวาคม 2557 สมุนไพร 0

สลอด หรือ สลอดต้น เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่ ปลายแหลม ฐานกลม ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบบาง มีต่อมที่ฐานใบสองต่อม ดอกเล็ก ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อที่ยอด ดอกมีขน ผลรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน แก่จัดจะแห้งและแตก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium L.
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : บะกั้ง (แพร่) มะข่าง มะคัง มะตอด หมากทาง หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู สลอดต้น หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน) กระดูก, ยายปลูก, ขนุนดง, ขอบนางนั่ง, ขัณฑสกร, ช้องรำพัน, ขันทองพยาบาท, น้ำขันทอง, มะดูก, หมายดูก, ข้าวตาก, ขุนทอง, คุณทอง, ดูกไทร, ดูกไม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม สูง 3-6 ม. ต้นเกลี้ยง ใบเดี่ยวรูปไข่ เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยัก แบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ดอกเล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นช่อที่ยอด ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขน ฐานดอกมีขน และมีต่อมจำนวนเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือถ้ามีก็เล็กมาก รังไข่มี 2-4 ช่อง ผลแก่จัดแห้งและแตก รูปขอบขนานหรือรี กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมนๆ เมล็ดรูปขอบขนานแกมรูปรี สีน้ำตาลอ่อน (ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530)

salodyodsalodbai salodpon

ในใบสลอด มี hydrocynaic acid, triperpinoid ส่วนในเมล็ด มีโปรตีนที่เป็นพิษ ๒ ชนิดคือ croton globulin และ croton albumin นอกจากนี้ก็มี น้ำตาล sucrose และ glycoside crotonosideให้น้ำมันสลอดที่ประกอบด้วย oleic, linoleic, arachidic, myristic, stearic, palmitic, acetic และ formic acid นอกจากนี้ยังมีกรด lauric, tiglic, valeric, butyric และ free amino acids อีกหลายตัว

การกระจายพันธุ์
พบทั่วไปในเขตร้อน จากอินเดีย ศรีลังกา จีนและมาเลเซีย ที่ระดับความสูง 600 ม. ขึ้นไป ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก

salodton

สรรพคุณ

  • ใบ – แก้ตะมอย แก้ไส้ด้าน ไส้ลาม (กามโรคที่เกิดเนื้อร้ายจากปลายองค์กำเนิดกินลามเข้าไปจนถึงต้นองค์กำเนิด)
  • ดอก – ฆ่าเชื้อโรคกลากเกลื้อน แก้คุดทะราด
  • ผล – แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเดโชธาตุ มีให้เจริญ
  • เมล็ด – เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ่ายร้อนคอ ปวดมวน ก่อนใช้ต้องทำการประสะก่อน (อันตราย)
  • เปลือกต้น – แก้เสมหะอันคั่งค้างอยู่ในอกและลำคอ
  • ราก – แก้โรคเรื้อน ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิตและลม

salodkla

วิธีการใช้

  • ส่วนใบ – ก่อนจะนำมาผสมยา ให้นึ่งเสียก่อน
  • เมล็ด – เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้

salodking
เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน

ที่มา
ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น

KetoSex - Xnxx Arab-xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene