ป่ายางวนเกษตร

31 พฤษภาคม 2021

การทำสวนยางพาราเพื่อพึ่งพาตนเอง และเพื่อการพื้นฟูธรรมชาติ และการปลูกยางพาราแบบยั่งยืน จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูธรรมชาติภายในระบบนิเวศน์สวนยางนั้นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลและเหมาะสม โดยมีหลักในการพิจารณาทั่วไป จะต้องเลือกปลูกพืชที่มีความสูงของเรือนยอดต่างๆ อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยแบ่งความสูงออกเป็นระดับ คือ

  • ประเภทต้นสูง เช่น ประดู่ ตะเคียน ยางนา พะยอม ไม้สัก สะตอ เนียง ทุเรียน ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวลราชินี ไผ่กิมซุง ไผ่บงใหญ่ ฯลฯ
  • ประเภทโตปานกลาง หรือไม้พุ่ม เช่น ผักหวาน ชะมวง เหลียง ไผ่รวก ไผ่บงหวาน กล้วย ฯลฯ
  • ประเภทพืชชั้นล่างที่ทนร่ม เช่น ขิง ข่า ดาหลา อ้อดิบ กระชาย ขมิ้น ชะพูล ผักกูด และเห็ด ฯลฯ


สวนหม่อนไม้ ส่วนการทำสวนยางพารารูปแบบป่ายางวนเกษตร วางแผนการปลูกเป็นระยะและช่วงเวลาการเจริญเติบโตของไม้ มีรายละเอียดังนี้

0. เริ่มต้น(ตุลาคม 2555) ด้วยการโค่นยางพาราที่หมดอายุ และเว้นไม้ใหญ่ในสวนไว้ทั้งหมด ได้แก่ ตะเคียน ยาง สะเดาเทียม เป็นต้น และปรับพื้นที่เท่าที่จำเป็น ทำร่องน้ำ วางเส้นทางคลองไส้ไก่ ทำการเตรียมดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำจุลินทรีย์ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เตรียมไว้ก่อน พร้อมกล้ายางพารา

yangkaw59-03

1. ปลูกยางพารา ทำแถวเป็น 7.5×3 เมตร พร้อมปลูกกล้วยระหว่างแถวยางห่างกันประมาณ 10 เมตร ที่สวนใช้กล้วยน้ำว้า เพราะหาง่าย ปลูกเป็นไม้พี่เลี้ยงและช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นแก่ดิน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ คลุมโคนต้นด้วยหญ้า แล้วปล่อยให้หญ้าขึ้นเพื่อห่มดินไว้

56-01
2. ช่วง 6 เดือนต่อมา ยางพาราและกล้วยเริ่มตั้งตัวได้ พร้อมเหล่าสหายก็คือหญ้า หญ้า และหญ้า จัดการด้วยการตัดหญ้า หมกไว้โคนยาง ทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ฉีดน้ำหมักชีวภาพ และทำการปลูกไม้ยืนต้น ได้แก่ ประดู่ ตะเคียน ยางนา พะยอม ไม้สัก ปลูกไว้ข้างกอกล้วยในแนวเดียวกันให้กล้วยช่วยเป็นพี่เลี้ยง ไม้ยืนต้นเหล่านี้เป็นไม้โตช้าจะไม่สามารถแย่งแสงจากยางได้ในระยะต้น แต่เป็นไม้ที่สูงกว่ายางในระยะยาว ไว้เป็นมรดกหรือไม้บำนาญชีวิต ปลูก และผักสวนครัว มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว ถั่วพลู เผือก ข้าวโพด ตะไคร้ กะเพรา โหระพา แมงลัก กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบแดง ฯลฯ ปลูกแฝกขอบแนวร่องน้ำกันดินทลาย

56-02
3. เมื่อไม้ยางพาราครบ 1 ปี เริ่มทำเป็นป่าด้วยการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลเพิ่มเติม ด้วยการปลูกไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล ไผ่กิมซุง ไผ่บงใหญ่ ไผ่รวก ไผ่บงหวาน ไผ่หว่ะโซว ระหว่างแถงยางพารา ในแนวเดียวกับกล้วย ปลูกสลับกับกล้วย ไผ่ส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นไผ่เพาะเมล็ด จะโตตามต้นยางขึ้นไป ทำการปลูกชั้นล่าง ขิง ข่า ดาหลา อ้อดิบ กระชาย ขมิ้น และผักสวนครัว มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว หญ้าเนเปียร์ ฯลฯ ไว้เก็บกิน

56-03
4. เมื่อผ่านไปปีครึ่ง ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผลเพิ่มเติม สะตอ เนียง ยางบง สะเดาเทียม กระถินเทพา ในแนวรอบสวนโดยห่างกันประมาณ 2 เมตรเพื่อเป็นไม้กำหนดเขตแดน และป้องกันสารเคมีต่างๆ ที่จะเข้ามาในสวน

59-02
5. ครบเวลา 2 ปีดูแลจัดการสวน รอให้ต้นไม้เติมโตตามธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ คืนชีวิตให้แผ่นดิน เรียกพนักงานพรวนดิน(ไส้ดือน) ให้กลับมา ตัดหญ้าตามกำลัง ในฤดูแล้งปล่อยหญ้าบางส่วนไว้คลุมดิน และตัดทำปุ๋ยตามความเหมาะสม ปลูกต้นไม้เสริมตามกำลังเพิ่มความหลากหลาย ได้แก่ ทุเรียน ผักหวาน ชะมวง อ้อดิบ สับประรด ฝาง กระถิน หญ้าเนเปียร์ อ้อย ฯลฯ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ

59-01
6. เข้าสู่ปีที่ 3 ต้นไม้เริ่มสูงใหญ่พอมีร่มเงา สามารถปลูกพืชที่ไม่ต้องการแสงมาก เริ่มปลูกเหลียง ในร่องยางพารา บางส่วนปลูกสละอินโดในระหว่างร่องยางพาราที่เว้นไว้ตามแผนผังที่ออกแบบสวน ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพปีละ 2-3 ครั้ง

59-14 59-13 59-10 59-08 59-06 59-05
7. ปีต่อๆ มา ต้นไม้ที่หลายหลายจะค่อยๆ เติบโต โดยผ่านการดูแลซึ่งกันและกัน บางชนิดอาจจะตายไปตามอายุ เช่นกล้วย จะได้แสงไม่พอก็จะไม่โตและตายไปในที่สุด ต้นไม้ที่หลากหลายก็จะพึ่งพากันเอง เป็นการพื้นฟูธรรมชาติ ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพปีละ 2 ครั้ง

59-09

การทำสวนยางพาราเพื่อพึ่งพาตนเอง ในแบบป่ายางวนเกษตร จึงเป็นความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนของชาวสวน