สวนเกษตรผสมผสาน

24 พฤษภาคม 2021

จุดเริ่มต้นของความมั่นคง พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น โดยการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสานให้เหมาะแก่พื้นที่ สำหรับสวนหม่อนไม้ได้ประยุกต์นำเอาหลักการนี้มาใช้ ด้วยการทำบ่อปลา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักพื้นบ้าน ไม้ผล เพื่อไว้ใช้เป็นอาหารสำหรับคนในครอบครัว และแจกจ่ายแก่ญาติพี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย โดยการนำหลักการพึ่งพาอาศัยของพืช และสัตว์

เกษตรผสมผสาน คือ ระบบการเกษตรที่มีการทำกิจกรรมทางการเกษตรอย่างน้อย 2 กิจกรรมขึ้นไป เป็นกิจกรรมที่มีความสอดคล้อง เชื่อมโยง เกื้อกูลและต่อเนื่องกัน
จุดเริ่มต้นของความมั่นคง พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น ต้องการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสานให้เหมาะแก่พื้นที่ สำหรับสวนหม่อนไม้ได้ประยุกต์นำเอาหลักการนี้มาใช้ ด้วยการทำบ่อปลา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักพื้นบ้าน ไม้ผล เพื่อไว้ใช้เป็นอาหารสำหรับคนในครอบครัว และแจกจ่ายแก่ญาติพี่น้อง ญาติสนิทมิตรสหาย โดยการนำหลักการพึ่งพาอาศัยของพืช และสัตว์ ประกอบด้วย
1. การทำกสิกรรม ทำการปลูกพืชในระดับต่างๆ แบบพึ่งพาอาศัยกัน
– พืชบนน้ำ ได้แก่ ผักบุ้ง บัวสาย ผักกระเฉด ฯลฯ
– พืชหัว ได้แก่ ข่า ตะไคร้ ขมิ้น​ เผือก​ มันเทศ​ มันสำปะหลัง​ ฯลฯ
– พืชเลี่ยดิน ได้แก่ สมุนไพร ผักพื้นบ้าน เช่น บัวบก ผักชีลาว ฟ้าทลายโจร ฯลฯ
– พืชชั้นล่าง ได้แก่ ผักเหลียง ผักหวานป่า หม่อนกินผล มะเขือ พริก สับประรด ฝรั่ง มะนาว มะกรูด มะม่วงไม่รู้หาวฯ ชะอม มะละกอ​ ฯลฯ
– พืชไม้เลื้อย ให้เกาะบนต้นไม้ เช่น​ ​พริก​ไทย​ ตำลึง​ ฟักทอง​ ฟักแฟง​ บวบ​ ​อัญชัน​หรือเกาะบนค้างที่ทำไว้ เช่น​ แก้วมังกร
– พืชชั้นกลาง ได้แก่ ไผ่ หมาก เงาะ กล้วย ชมพู่ มะกอกน้ำ ขนุน ส้มโอ มะม่วง สละอินโด ฯลฯ
– ไม้ยืนต้น ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน กระท้อน ยางนา ตะเคียน มะพร้าว กระถินเทพา ฯลฯ
2. ประมง ขุดบ่อกักเก็บน้ำ และเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก และกุ้งฝอย
3. ปศุสัตว์ ด้วยการเลี้ยงไก่ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่แจ้ เลี้ยงปล่อยแบบไก่อารมณ์ดี

สวนเกษตรผสมผสานแห่งนี้ตั้งใจจะเป็นแหล่งเสบียงของครอบครัว และวันนี้พอเพียงจะเลี้ยงชีวิตให้อยู่อย่างมั่นคง เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่ง(อาหาร บุญทาน มิตรสหาย) และยั่งยืน สรุปว่ามีกินทั้งปี รวมทั้งสร้างรายได้จากการเลี้ยงปลา

– บ่อปลา เลี้ยงปลานิลเป็นหลัก มีปลาดุกบ้างในบ่อข้างๆ ถ้ามีน้ำพอ และยังเลี้ยงด้วยอาหารถุง แต่ตอนนี้เตรียมทำอาหารเองอยู่ครับ ปลูกกล้วย หญ้าเนเปียร์ รอไว้ในสวน รวมทั้งหาแหล่งวัตถุดิบทำอาหารสัตว์ไปก่อน ทำน้ำหมักหน่อกล้วยและพืชผักรสจืดไว้เทใส่น้ำในบ่อช่วยดูแลน้ำ และทำจุลินทรีย์บอลโยนลงไปบ้าง
– ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน กระท้อน เงาะ กล้วย ชมพู่ มะกอกน้ำ ขนุน ส้มโอ มะม่วง สละอินโด มะม่วงไม่รู้หาวฯ หม่อนกินผล ฯลฯ
– ไม้ยืนต้น ได้แก่ ไผ่ หมาก ยางนา ตะเคียน มะพร้าว กระถินเทพา
– พืชผัก สมุนไพร ได้แก่ ผักเหลียง ผักหวานป่า มะเขือ พริก สับประรด ฝรั่ง มะนาว มะกรูด ชะอม
– เลี้ยงไก่ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่แจ้ เลี้ยงปล่อยแบบไก่อารมณ์ดี พี่เล่นเดินหากินไปทั่ว ผักที่ปลูกไว้ต้องล้อมรั้วไว้เดี๋ยวไม่ได้กิน
– รังผึ้งโพรง เลี้ยงไว้ผสมเกษรไม้ผลและให้น้ำผึ้งหวานๆ
– ใช้โซล่าเซล ชาร์ทเข้าแบตเตอรี่เก่า สำหรับไฟล่อแมลงกลางคืน ตอนนี้แบตเสื่อมหมดแล้วยังไม่ได้ซ่อม เลยใช้ไฟบ้านไปก่อน
– ช่วงที่พอมีฟาง ผักตบชวาในบ่อ ก็นำมาใช้ในการห่มดิน
– ทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในสวน หมักไว้ข้างกอไผ่ เพื่อเรียกจุลินทรีย์ท้องถิ่นบริเวณกอไผ่มาช่วย

เกื้อกูลกันระหว่างพืช สัตว์ ประมง
เศษเหลือของพืชจากการบริโภคของมนุษย์ใช้เป็นอาหารสัตว์และปลา
พืชยืนต้นช่วยบังลม บังแดด บังฝน ให้กับสัตว์
พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคให้กับสัตว์
ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืช
ปลาช่วยให้อินทรีย์วัตถุกับพืช นำมาใช้เป็นปุ๋ยกับพืชได้
สัตว์ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น
มูลสัตว์ทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยกับพืช
ผึ้งช่วยผสมเกสรในการติดผลของพืช
แมลงที่เป็นประโยชน์อาศัยพืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัย
จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืชและสัตว์ให้เป็นปุ๋ย

homdin homdinn pasompasan pasompasanb pasompasanc pui

– ประมง ขุดบ่อกักเก็บน้ำ และเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลานิล ปลาดุก และกุ้งฝอย

borpla boopag pasompasana

– ปศุสัตว์ ด้วยการเลี้ยงไก่ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่แจ้

namkai

พอเพียงจะเลี้ยงชีวิตให้อยู่อย่างมั่นคง เพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่ง(อาหาร บุญทาน มิตรสหาย) และยั่งยืน