สับปะรด ผลไม้ยอดนิยม

9 พฤศจิกายน 2557 ไม้พุ่มเตี้ย 0

สับปะรด เป็นผลไม้ธรรมดาๆ ที่เราสามารถหาซื้อรับประทานได้ง่าย เนื่องจากออกผลตลอดทั้งปีไม่ต้องรอตามฤดูกาล หากรับประทานสดๆ ก็ทำให้เย็นฉ่ำดับร้อนได้ หรือคุณแม่บ้านบางคนนิยมนำไปปรุงอาหารก็ให้รสชาติที่ดีทีเดียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.
ชื่อสามัญ : Pineapple
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่ออื่น : แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่) เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร) มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลสบปร สูง 90-100 ซม. ลำต้นใต้ดิน ปล้องสั้น ไม่แตกกิ่งก้านมีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนถี่ ไม่มีก้านใบ ใบเรียวยาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ปลายแหลม ขอบใบมีหนาม แผ่นใบสีเขียวเข้มและเป็นทางสีแดง ด้านล่างมีนวลแป้งสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเรียงอัดกันแน่นรอบแกนช่อดอก ก้านช่อใหญ่แข็งแรง กลีบดอก 3 กลีบ ด้านบนสีชมพูอมม่วง ด้านล่างสีขาว เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียบกัน 2 ชั้น ผล เป็นผลรวมรูปรี โคนกว้าง ปลายสอบ มีใบสั้นเป็นกระจุกที่ปลายผล เรียกว่าตะเกียง ผลสุกสีเหลืองสดและฉ่ำน้ำ

sabparodtonsabparodrai

ส่วนที่ใช้ : ราก หนาม ใบสด ผลดิบ ผลสุก ไส้กลางสับปะรด เปลือก จุก แขนง ยอดอ่อนสับปะรด
สรรพคุณ :

  • ราก – แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี แก้หนองใน แก้มุตกิดระดูขาว แก้ขัดข้อ
  • หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน ไข้พา ไข้กาฬ
  • ใบสด – เป็นยาถ่าย ฆ่าพยาธิในท้อง ยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ผลดิบ – ใช้ห้ามโลหิต แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ฆ่าพยาธิ และขับระดู
  • ผลสุก – ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน มุตกิด กัดเสมหะในลำคอ
  • ไส้กลางสับปะรด – แก้ขัดเบา
  • เปลือก – ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • จุก – ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้หนองใน มุตกิดระดูขาว
  • แขนง – แก้โรคนิ่ว
  • ยอดอ่อนสับปะรด – แก้นิ่ว

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าสดหรือแห้งวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200-250 กรัม แห้งหนัก 90-100 กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
คุณค่าด้านอาหาร : สับปะรด รับประทานเป็นผลไม้ มีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

สารเคมี :

  • เหง้า มี Protein
  • ลำต้น มี Bromelain, Peroxidase, Amylase, Proteinase
  • ใบ มี Hemicellulose, Bromelain, Campestanol
  • ผล มี Acetaldehyde, Ethyl acetate, Acetone
  • น้ำมันหอมระเหย มี Isobutanol.

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม
  • น้ำตาล 9.85 กรัม
  • เส้นใย 1.4 กรัม
  • ไขมัน 0.12 กรัม
  • โปรตีน 0.54 กรัม
  • วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี5 0.213 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี9 18 ไมโครกรัม 5%
  • โคลีน 5.5 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม 58%
  • ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม 44%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

การรับประทานสับปะรดแนะนำให้ทานสดๆ ไม่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารหรือผ่านความร้อนเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน โดยสับปะรดที่เริ่มนิ่มแล้วและมีน้ำเหนียวๆไหลออกมา แสดงว่าเริ่มเน่าหรือสุกมากจนเกินไป จึงไม่ควรรับประทาน

sabparod

ประโยชน์ของสับปะรดทางกายภาพ
คุณรู้หรือไม่ว่า ในสับปะรด 1 ต้นนั้น นอกจากการรับประทานเนื้อสับปะรดแล้วส่วนอื่นๆ ของสับปะรดให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง มาทำความรู้จักกับเรื่องที่เป็นสับปะรดกันเลยค่ะสับปะรดเป็นไม้ผลลำต้นเตี้ย เจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศร้อนแห้งแล้ง ดินปนทราย ผลมีขนาดใหญ่กว่าลำต้น ใบเรียวยาวและแข็งแรงใช้ในการเก็บกักน้ำ มีเส้นใยเหนียวมาก ผลมีเปลือกแข็งหุ้มโดยรอบ และมีตา ปรากฏอยู่รอบๆ เปลือก เนื้อสับปะรดมีรสหวานอมเปรี้ยวชุ่มน้ำ บางพันธุ์มีรสหวานฉ่ำ นิยมปลูกทั้งพันธุ์ปัตตาเวีย และพันธุ์ภูเก็ต
ผลสับปะรด ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อและน้ำนั้น มีประโยชน์มากมาย ตั้งแต่การบริโภคผลสด รวมถึงเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้ยังนำส่วนเนื้อสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ สับปะรดกวน, สับปะรดอบแห้ง, สับปะรดในน้ำเชื่อม(บรรจุกระป๋อง)และแยมสับปะรด เป็นต้น ในส่วนน้ำสับปะรดที่คั้นได้ก็สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำสับปะรด,ไวน์ และน้ำส้มสายชู เป็นต้น

  • จุกและหน่อสับปะรดหน่อสับปะรด คือส่วนที่แตกขยายออกจากลำต้นเดิมจุกสับปะรด คือส่วนที่อยู่บนยอดผลสับปะรดทั้งหน่อและจุกสับปะรด สามารถใช้ประโยชน์ในการขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกัน ชาวไร่สับปะรดส่วนใหญ่นิยมใช้หน่อพันธุ์ เนื่องจากต้นโตไว ได้ผลผลิตเร็วกว่าการใช้จุกขยายพันธุ์ ลำต้นหรือเหง้า สับปะรด คืออีกส่วนหนึ่งที่มีมูลค่า ไม่น้อยไปกว่าผลสับปะรด เนื่องจากเหง้าสับปะรดสามารถนำมาสกัดสารโบรมิเลน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมทั้งนำมาเข้าเครื่องยาสมุนไพรเพื่อทำยารักษาโรคได้
  • ใบสับปะรด ปกติชาวไร่สับปะรดจะฟันใบสับปะรดในช่วงก่อนบังคับ การออกดอก ซึ่งเศษใบที่ฟันนั้นมีประโยชน์ในการคลุมหน้าดินและย่อยสลายเป็นปุ๋ยในแปลงสับปะรดต่อไป นอกจากนี้แล้วปัจจุบันใบสับปะรดเป็นเศษวัสดุที่มีมูลค่าเนื่องจากมีการนำ ใบสับปะรดมาแปรรูปเป็นผ้าใยสับปะรดเป็นผ้าพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ และกระดาษใบสับปะรด ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ได้อีกมากมาย
  • เปลือกสับปะรด ที่เหลือจากโรงงานแปรรูปฯ ยังมีประโยชน์อีกด้วย เนื่องจากส่วนตาสับปะรดที่เปลือกนั้นอุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า จึงมีการนำเปลือกสับปะรดมาเป็นอาหารของโค และสามารถ อบแห้งเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์อื่นๆ ได้อีก นอกจากนี้ยังนำมาหมักเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพได้อย่างดี
  • แกนสับปะรด คือส่วนที่อยู่กลางผลต่อจากก้าน ปกติไม่นิยมนำมารับประทานสด เพราะเนื้อสัมผัสแข็งกระด้าง จึงได้นำมาแปรรูปเป็นแกนสับปะรดอบแห้ง และแกนสับปะรดหยี เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกส่วนหนึ่ง สรุปแล้ว ทุกส่วนในสับปะรด 1ต้น สามารถให้ประโยชน์กับมนุษย์อย่างคุ้มค่าถ้าหากเรานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลองคิดดูว่าเพียงสับปะรด 1 ต้น สามารถเพิ่มมูลค่าในตัวมันเองได้มากมาย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น