สาบแร้งสาบกา พบได้ตามป่ารกร้างทั่วไป หากนำมาขยี้เล่นทั้งใบ ดอก ต้น จะมีกลิ่นสาบและฉุนเฉพาะตัว มีสรรพคุณทางยาด้วย รากแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะ ใบตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้อักเสบจากพิษงู ตะขาบ เป็นต้น
ชื่อสามัญ : Goat Weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ageratum conyzoides Linn.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่ออื่น ๆ : เทียนแม่ฮาง (เลย), หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี),ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี), เซ้งอั้งโซว (จีน-แต้จิ๋ว)
ลักษณะ
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดซึ่งจัดเป็นวัชชพืชชนิดหนึ่งขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบ และราก
สรรพคุณ
ทั้งต้น แก้ไข้ ขับระดู แก้บิด แก้ลม และแก้ช่องทวารหนักหย่อนยาน
ใบ พอกแก้คัน แก้แผลเรื้อรังที่เยื่อเมือก ห้ามเลือด ทาภายนอกแก้ปวดบวม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ น้ำต้มกินแก้ไข้น้ำคั้นใช้หยอดตาแก้ตาเจ็บ เป็นยาทำให้อาเจียน
ราก ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว แก้ไข้
การใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น : ต้นของสาบแร้งสาบกา แก้ไข้ ขับระดู แก้บิด แก้ลม และแก้ช่องทวารหนักหย่อนยาน ใบ พอกแก้คัน แก้แผลเรื้อรัง ห้ามเลือด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นใช้หยอดตาแก้ตาเจ็บ เป็นยาทำให้อาเจียน ราก ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว แก้ไข้
ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอใช้ รากและใบ เคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร แก้ไข้ ปวดศีรษะ ตำพอกหรือคั้นน้ำทา รักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด แก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่องหรือแมลง ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ขับระดู ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ใบ คั้นน้ำดื่ม ช่วยให้อาเจียน ตำพอกแก้คัน หยอดตาแก้เจ็บ การทดลองในสัตว์ พบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์ และน้ำต้มทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ ระงับความปวดมีความแรงเท่ากับมอร์ฟีน ควรมีการวิจัยต่อไป
ถิ่นที่อยู่ : เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน ปัจจุบันขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่า
ตำรับ ยา :
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา : สารที่สกัดจากต้นนั้นจะมีฤทธิ์ในการยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อStaphylococcus Aureus
สารเคมีที่พบ : ทั้งต้นมีสารพวก น้ำมันระเหย โปแตสเซียมคลอไรด์ มีกรดอินทรีย์ กรดอมิโนอัลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ coumarin, B-sitosterol, friedelin และ stigmasterol
ป้ายคำ : สมุนไพร