สารจับใบ ยึดเกาะพื้นผิว

9 พฤศจิกายน 2558 วิชาเกษตรพึ่งตน 0

สารจับใบ ช่วย ในการยึดเกาะพื้นผิว ทำให้น้ำยาแผ่กว้าง จับใบแล้วดูดซึมเข้าใบหรือลำต้นได้ดี และเร็วขึ้น ทำให้ละอองน้ำยามีขนาดเล็ก กระจายทั่วต้นได้ดี และแห้งเร็วกว่าปกติ เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ย และยา ลดการสูญเสียของสารอินทรีย์ทากการเกษตร เนื่องการการชะล้างของฝนหรือน้ำ ช่วยรักษาอุปกรณ์พ่นยา ป้องกันการอุดตันของหัวฉีด

สารจับใบจะช่วย

  1. ลดการสูญเสียของสารละลายที่ฉีดพ่นจากการชะล้างของฝน และ ลดการปลิวไปกับลมจาก คุณสมบัติ แผ่กระจาย ของสารเสริมประสิทธิภาพ จะทำให้น้ำที่มีส่วนผสมของสารเคมีเกษตรเปียกทั่วใบของพืช ทำให้เพิ่มพื้นที่สัมผัสของสารเคมีเกษตรกับใบหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชมากขึ้น และจากคุณสมบัติของ การจับติด จึงช่วยลดการชะล้างของฝนที่ตกภายหลังการพ่นสารเคมีแล้ว โดยเฉพาะการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึมบางชนิดที่ต้องการระยะเวลาปลอดฝน 6 8 ชั่วโมง
  2. ลดการสูญเสียของสารเคมีที่เกิดจากการฉีดพ่นซ้ำ ๆ ที่เดิม จำเป็นที่จะต้องฉีดพ่นสารเคมีเกษตรจนใบของพืชเปียกโชก เพราะสารเคมีเกษตร ส่วนที่เกินความจำเป็นจะรวมกันเป็นหยดแล้วไหลตกลงสู่ดิน อันเป็นการสูญเปล่าอย่างมากมาย และเมื่อเกษตรกรนำไปฉีดพ่นลงบนใบพืชแล้วจะสามารถสังเกตเห็นการจับติดใบพืช ของละอองสารเคมีเกษตรบนใบพืชได้ด้วยตาเปล่า
  3. ลดการสูญเสียของละอองสารเคมีเกษตรที่ไม่สามารถจับติดใบพืช และตัวแมลง ละออง สารเคมีเกษตรที่ฉีดพ่นไปนั้น ไม่สามารถจับติดผิวใบพืชบางชนิดได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากใบพืชนั้นมีขน เช่น หญ้าคา หญ้าขน ฯลฯ จะช่วยลดแรงตึงผิวของละอองน้ำ ทำให้สารเคมีเกษตรที่ฉีดพ่นแนบติดกับพื้นผิวพืชได้ดีขึ้น เปียกทั่วใบพืชอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ จึงสามารถเปียกตัวแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่น แมลงปีกแข็ง และหนอนต่าง ๆ ที่มีผิวมันหรือที่มีขน และยังช่วยเสริมให้ปุ๋ยทางใบและสารอาหารเสริมของพืชสามารถจับติดใบพืช และถูกดูดซึมเข้าสู่พืชได้เพิ่มมากขึ้น

วิธีการทำสารจับใบไว้ใช้เอง
ปุ๋ยหรือสารเสริมต่างๆทางการเกษตรหลายตัว เราสามารถทำเองได้ และต้นทุนจะต่ำกว่าที่มีขายตามท้องตลาดประมาณ 50 เท่าตัวขึ้นไป และคุณภาพก็ไม่ต่างกัน เผลอๆที่เราทำเองอาจมีคุณภาพดีกว่า เพราะ สินค้ากลุ่มนี้ที่มีในท้องตลาด ส่วนใหญ่”ไม่มีทะเบียน””ไม่บอกวันหมดอายุ”เราจะรู้ได้อย่างไรว่าของในขวดมี คุณภาพเหมือนที่บอกไว้ในฉลาก วันนี้ขอเอาสูตรสารจับใบแบบทำเองมาฝาก

ส่วนผสม

  1. N 70 1 กิโลกรัม
  2. เกลือป่น 1 กิโลกรัม
  3. น้ำสะอาด 13 ลิตร

วิธีทำ

  1. ผสมเกลือ 1 กก. น้ำ 3 ลิตรคนให้ละลาย
  2. กวน N70 อย่างน้อย 5 นาทีจนขึ้นนวล
  3. เติมน้ำเกลือที่เตรียมไว้ 1 ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ 2 ลิตร
  4. เติมน้ำสะอาดครั้งละ 1 ลิตร กวนให้เข้าก้นจนครบ 10 ลิตร กวนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
  5. เติมน้ำเกลือส่วนที่เหลือ 1 ลิตร เพื่อปรับสภาพ

sarnjabbain70

วิธีใช้ ผสมสารจับใบที่ได้ 5-10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

  • N70 คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ เป็นสารชำระล้างราคาถูกที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างแทบทุกชนิด ตั้งแต่สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน ไปจนถึงน้ำยาล้างห้องน้ำ ด้วยคุณสมบัติที่ว่านี้จึงนิยมนำมาเป็นสารลดแรงตึงผิวหรือสารจับใบ

สารจับ ใบที่ใช้ในภาคเกษตร เป็นสารที่ช่วยลดแรงตึงผิวของใบพืช เมื่อผสมสารจับใบแล้ว ส่วนผสมของสารอินทรีย์ เกษตรกรที่มีสารจับใบอยู่ด้วยจะไม่เกาะตัวเป็นหยดน้ำ และไหลหล่นจากใบพืช แต่สารเคมีเหล่านี้จะกระจายไปทั่วทั้งใบ ทำให้มีประสิทธิภาพในการแทกซึมเข้าไปในใบพืชมากขึ้น

sarnjabbaisa sarnjabbais

ในท้องตลาดจะมีขายอยู่ 2 ประเภทคือสารจับใจ กับสารเปียกใบ สารเปียกใบก็คือสารจับใบที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เข้าใจคือใช้ลดแรงตึงผิวของสารที่จะใช้ฉีดพ่น ซึ่งจะมีคุณสมบัติเดียวกับน้ำยาล้างจาน ในฉลากข้างขวดจะใช้คำว่าสารเปียกใบ แต่ถ้าฉลากข้างขวดเขียนว่าสารจับใจ จะมีคุณสมบัติแตกต่างสารเปียกใบคือมันจะมีสารอื่นเพิ่มเติมเพื่อทำให้การดูดซึมของยาที่ฉีดพ่นเข้าต้นและใบได้ดีกว่าสารเปียกใบ บางยื่ห้อจะลดขนาดโมเลกุลของสารที่พ่น บางชนิดจะขยายปากใบ บางชนิดจะลดประจุบวกของสารที่พ่น และที่ต้องมีแน่นอนอีกอย่างคือจะต้องมีสารกันการชะล้างของฝน บอกแค่นี้ก็คงจะรู้แล้วนะว่าสารจับใจจะมีราคาแพงกว่าสารเปียกใบประมาณเท่าตัวเป็นอย่างน้อย ในการฉีดพ่นสารให้พืช ถ้าสารที่ใช้มีราคาแพงเราจำเป็นจะต้องใช้สารจับใบครับ ไม่เช่นนั้นเราจะใช้สารได้ไม่คุ้ม

ในน้ำยาล้างจานจะส่วนใหญ่จะมีความเป็นด่างสูง ซึ่งน้ำยาเปียกใบกับยาจับใบส่วนใหญ่จะมีค่าค่อนข้างเป็นกลาง ในสารที่ฉีดพ่นบางตัวถ้ามีสภาพความเป็นกรดอยู่ การใส่ด่างเข้าไปอาจจะเป็นการลดประสิทธิภาพของสารที่ฉีดพ่นบางตัว โดยเฉพาะยาฆ๋าหญ้า ดังนั้นในการใข้สารที่จะฉีดพ่น นอกจากจะดูราคาแล้ว ควรดูคำแนะนำการใช้ข้างขวดด้วยก็จะดี อันนี้จะเป็นการใช้สารได้อย่างถูกต้องและได้ผลคุ้มค่า

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น