สาหร่ายทะเล เป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล และเป็นอาหารที่นิยมบริโภคในต่างประเทศมาเป็นเวลานานแล้ว ประเทศที่นิยมบริโภคสาหร่ายทะเลได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และฟิลิปปินส์ โดยสาหร่ายที่เราเห็นกันอยู่ในภาพนี้ มีชื่อว่า สาหร่ายพวงองุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Caulerpa lentillifera J. Agardh เป็นสาหร่ายทะเลสีเขียวที่มีใบ (รามูลัส) เป็นเม็ด ทรงกลม ใส สีเขียว มีแขนงตั้งตรงลักษณะคล้ายพวงองุ่นแตกออกมาจากส่วนที่เลื้อยไปตามพื้นผิว ส่วนปลายของแขนงย่อยเป็นทรงกลม ซึ่งแตกปกคลุมหนาแน่นเกือบตลอดความยาวแขนง มีรอยคอดชัดเจนระหว่างปลายแขนงย่อยที่เป็นทรงกลมกับส่วนก้านสั้น
ด้วยความที่หน้าตามันมีลักษณะเป็นพวง เม็ดกลมเป็นช่อ คล้ายเหมือนกับองุ่น หรือไข่ปลาคาเวียร์สีเขียว มันจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Sea grapes” หรือ “Green caviar” ส่วนชาวญี่ปุ่นจะเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า “Umi budo” ซึ่งแปลว่า องุ่นแห่งท้องทะเล
นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับสาหร่ายพวงองุ่นชนิดนี้มาก นั่นก็คือ สาหร่ายช่อพริกไทย ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลที่ใกล้เคียงกับสาหร่ายพวงองุ่น แต่มีน้ำหนักเบากว่า เนื่องจากมีลักษณะของเม็ดที่เล็กกว่า คล้ายกับเม็ดพริกไทย จึงถูกเรียกว่า “สาหร่ายช่อพริกไทย” นั่นเอง
สาหร่ายพวงองุ่นจัดเป็นหนึ่งในสาหร่ายที่รับประทานได้ และยังมีรสชาติดีอีกด้วย โดยเราอาจพบสาหร่ายชนิดนี้เจริญอยู่บนโขดหิน ก้อนกรวด และพื้นทราย ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงเขตน้ำลงต่ำสุดบริเวณชายฝั่งที่มีคลื่นไม่รุนแรง โดยอาจอยู่รวมตัวกันเป็นกระจุกหรือปะปนกับสาหร่ายชนิดอื่นตามซอกหินหรือปะการัง ปัจจุบันสามารถพบสาหร่ายพวงองุ่นได้ในเขตประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังแพร่กระจายไปในเขตร้อนอย่าง เคนยา มาดากัสการ์ โมแซมบิก แทนซาเนียและปาปัวนิวกินี
สาหร่ายพวงองุ่นจัดเป็นอาหารสุขภาพที่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นหลายประเทศจึงนิยมเลี้ยงสาหร่ายทะเลเพื่อส่งออก ซึ่งปัจจุบันกรมการประมงในประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น ได้ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นได้อย่างสะอาดและมีสีสันสวยงาม ทั้งยังถือเป็นสาหร่ายที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งได้มีการขยายในระบบบ่อเลี้ยง
โดยในประเทศฟิลิปปินส์ มีการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นทั้งในระบบบ่อดินและบ่อน้ำธรรมชาติ ส่วนในประเทศไทย กรมการประมงริเริ่มการเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้ในปี พ.ศ. 2536 โดยปลูกในบ่อพักน้ำชีวภาพ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงเพื่อขยายผลในเชิงพาณิชย์ โดยสามารถเพาะเลี้ยงได้ 3 รูปแบบ ทั้งในระบบบ่อการเลี้ยงในบ่อพักน้ำธรรมชาติ เลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น บ่อเลี้ยงกุ้ง หรือบ่อเลี้ยงปลา และระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต
การเลี้ยงสาหร่ายในบ่อดิน
ขั้นตอนการปลูกและการจัดการสาหร่ายในบ่อดิน
1. การปลูกสาหร่าย ปลูกได้ทั้งแบบหว่านและแบบปักชา โดยในช่วงเริ่มต้นปลูกครั้งแรก เติมน้าความเค็ม 27-30 ส่วนในพัน ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อยเพิ่มระดับน้าให้อยู่ในระดับที่แสงส่องถึง ขึ้นกับความโปร่งแสงของน้า โดยมากรักษาระดับน้าให้มีความลึกประมาณ 60-100 ซม. แบบปักชามีข้อดีกว่าแบบหว่าน เนื่องจากสาหร่ายจะมีอัตราความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกันและควบคุมความหนาแน่นได้ ทาให้สาหร่ายที่โตมีแขนงที่ยาวและมีขนาดสม่าเสมอ นอกจากนี้สามารถปลูกสาหร่ายบนแผงอวนหรือตาข่ายได้ ทาให้สาหร่ายมีความสะอาดและมีคุณลักษณะดี
2. หลังจากการปลูกประมาณ 1-2 เดือน จะสามารถเก็บเกี่ยวสาหร่ายได้และความถี่ในการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
3. การจัดการระบบน้า ควรมีการสูบน้าเข้าบ่อเลี้ยงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือดัดแปลงบ่อด้วยการติดตั้งท่อน้าเข้าออกแบบมีลิ้นปิดเปิดตามระดับน้าธรรมชาตินอกจากนี้ความถี่ในการสูบน้าเข้ายังขึ้นกับอายุการเลี้ยงและความหนาแน่นของสาหร่ายเพื่อเพิ่มสารอาหารธรรมชาติการหมุนเวียนน้า และการรักษาระดับน้าในบ่อเลี้ยง
4. อาจติดตั้งเครื่องตีน้ารอบช้าหรือระบบยกน้าเพื่อเพิ่มการหมุนเวียนน้าและป้องกันการแบ่งชั้นของน้า และติดตั้งท่อระบายน้าผิวบนออก ในฤดูฝน
5. เพื่อป้องกันการบังแสงและแก่งแย่งสารอาหาร ควรสุ่มตรวจความหนาแน่นของสาหร่าย โดยอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทยอยเก็บเกี่ยวทุก 2 สัปดาห์และคงปริมาณไว้ประมาณ 25% ของปริมาณตั้งต้น หากสาหร่ายแน่นเกินไป ให้นาไปหว่านบริเวณอื่น
6. การกาจัดและป้องกันศัตรูของสาหร่าย หมั่นเก็บสาหร่ายชนิดอื่นหรือ epiphyte ที่เกิดขึ้นในบ่อเมือ่น้าตื้นเกินไป ดังนั้นการรักษาระดับน้าเพื่อให้แสงส่องถึงในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสาคัญ
ประโยชน์ของสาหร่ายพวงองุ่น ( Umi budo )
ทั้งนี้สาหร่ายพวงองุ่น ถือเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น เพราะมีความเชื่อกันว่า หากรับประทานสาหร่ายชนิดนี้ จะทำให้หายป่วยเร็วขึ้น เนื่องจากสาหร่ายพวงองุ่นเป็นสาหร่ายที่มีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีปริมาณของแร่ธาตุหลากหลายชนิด ได้แก่ ไอโอดีนซึ่งช่วยป้องกันและรักษาโรคคอพอก แมกนีเซียมช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและระบบประสาท โปแทสเซียมช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์และสมดุลของน้ำในร่างกาย รวมทั้งพบวิตามินบี ซี อี และกรดอะมิโนจำเป็นหลากหลายชนิด ที่ไม่พบในพืชบก โดยพบว่ามีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่เกือบ 40% ของกรดอะมิโนรวม ซึ่งใกล้เคียงกับในไข่และโปรตีนถั่วเหลือง ทั้งยังมีแคลอรี่ต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หัวใจ และความดันโลหิต
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน