ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีทั้งขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงส่องดูจึงจะมองเห็น สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช และก่อให้โทษต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ หรือทำให้ปุ๋ยไนโตรเจนกลายเป็นแก๊ส เป็นต้น สิ่งมีชีวิตในดินสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. สัตว์ (animal หรือ fauna)
1.1 สัตว์ขนาดใหญ่ (macrofauna)
สิ่งมีชีวิตในดินที่จัดว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ หมายถึงสัตว์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่กว่า 0.2 มิลลิเมตร สัตว์กลุ่มนี้มีหลายชนิด เช่น
สัตว์ขนาดใหญ่เหล่านี้ช่วยกัดกินซากพืชซากสัตว์ ทำให้ซากกลายเป็นอินทรีย์วัตถุที่มีชิ้นเล็ก ง่ายต่อการย่อยสลายโดยสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น การขุดรูเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านี้ช่วยให้ดินมีช่องว่างมากขึ้น การถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำดีขึ้น
1.2 สัตว์ขนาดเล็ก (microfauna)
สัตว์ในกลุ่มนี้มีขนาดเล็กเกินกว่าจะมองเห็นด้วยตาเปล่า ชนิดที่มักพบและเป็นจำนวนมากในดิน ได้แก่
Nematode บางทีเรียกว่า theadworm หรือ eelworm สัตว์ชนิดนี้มักพบจำนวนมากในดินแทบทุกชนิด สามารถแยกประเภทตามลักษณะการกินอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
Protozoa สัตว์กลุ่มนี้ที่พบมาก ได้แก่ amoebae, ciliate และ flagellates เป็นต้น จำนวนที่พบมักแปรผัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การระบายอากาศและอินทรีย์วัตถุในดิน เป็นต้น
Rotifer สัตว์ในกลุ่มนี้มักพบชุกชุมในดินน้ำขังและมีอินทรีย์วัตถุมาก
2. พืช (plant หรือ flora)
2.1 พืชขนาดใหญ่ (macroflova) พืชขนาดใหญ่มีรากชอนไชอยู่ในดิน เมื่อต้นพืชตายลง ส่วนของรากก็จะเน่าเปื่อยสลายตัวเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน และเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ในขณะรากพืชมีชีวิตรากพืชมักปลดปล่อยสารอินทรีย์หลายชนิดออกมายังดินสารอินทรีย์เหล่านั้นบางครั้งเป็นประโยชน์ต่อพืชเอง เช่น ช่วยทำให้ธาตุอาหารละลายได้เร็วขึ้น เป็นต้น
2.2 พืชขนาดเล็ก (microflora) พืชกลุ่มนี้เป็นพืชชั้นต่ำที่มีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น
2.2.1 Bacteria
เป็นจุลินทรีย์ที่มีเซลล์เดียว เส้นผ่าศูนย์กลางของเซลล์ประมาณ 1-5 ไมโครเมตร แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่มีมากที่สุดในดิน ดินแห้ง 1 กรัม มีแบคทีเรียประมาณ 108-109 เซลล์ แบคทีเรียขยายพันธุ์แบบ binary fission ดังนั้นหากดินมีสภาพที่เหมาะสม แบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว แบคทีเรียสามารถจำแนกได้หลายประเภท โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่ต่างกัน ดังนี้
จำแนกโดยอาศัยความต้องการออกซิเจนเป็นเกณฑ์สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
aerobic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต
naerobic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต
facultative anaerobic bacteria เป็นแบคทีเรียที่อยู่ได้ทั้งในภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน
จำแนกโดยใช้รูปร่างของเซลล์เป็นเกณฑ์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
จำแนกโดยใช้ระดับอุณหภูมิที่แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีเป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
psychrophillic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่เจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 20
mesophillic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่เจริญเติบโตได้ดีในช่วง 25-35
thermophillic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่เจริญเติบโตได้ดีในช่วง 45-65
จำแนกโดยใช้แหล่งคาร์บอนและพลังงานเป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
autotrophic bacteria เป็นแบคทีเรียประเภทที่ได้คาร์บอนและแหล่งพลังงานจากสารอนินทรีย์
hetero trophic bacteria เป็นแบคทีเรียทีประเภทที่ได้คาร์บอนและแหล่งพลังงานจากสารอินทรีย์
จำแนกโดยอาศัยความสามารถในการสร้างสปอร์เป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
2.2.2 Actinomycetes
เป็นจุลินทรีย์ที่มีเซลล์เดียว เซลล์มีลักษณะเป็นเส้นใยแต่ไม่มีผนังกั้น เส้นผ่าศูนย์กลางของเซลล์ประมาณ 1 ไมโครเมตร จุลินทรีย์ชนิดนี้เจริญเติบโตได้ช้า แต่สามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีเจริญเติบโตได้ดีในช่วง pH 6-7 แต่ถ้าดินมี pH ต่ำกว่า 5 เกือบจะไม่พบจุลินทรีย์พวกนี้เลย ดินแห้ง 1 กรัม จะมี actinomycetes ประมาณ 105-108 เซลล์ หรือพบมากรองจากแบคทีเรีย จุลินทรีย์ชนิดนี้มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกเนื่องจากสามารถช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ โดยเฉพาะอินทรีย์วัตถุโมเลกุลใหญ่ที่ย่อยสลายยาก เช่น ลิกนิน เป็นต้น
2.2.3 Fungi
เป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นเส้นใยอาจมีผนังกั้นหรือไม่มีก็ได้ เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยประมาณ 5 ไมโครเมตร fungi เจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นกรด ดินโดยทั่วไปมักพบจุลินทรีย์ชนิดนี้ประมาณ 104-106 เซลล์ ต่อดินแห้ง 1 กรัม fungi ที่พบมากในดินได้แก่ ยีสต์ (yeast) รา (molds) และเห็ด (mushroom) เห็ดและรามีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ในขณะที่ยีสต์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเนื่องจากเจริญเติบโตได้ไม่ดี
2.2.4 สาหร่าย (algae)
เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสง เนื่องจากมีคลอโรฟีลด์ในเซลล์ สาหร่ายบางชนิดอาจมีเม็ดสีอย่างอื่น เช่น xanthophyll หรือ carotene อยู่ในเซลล์ด้วย ดินโดยทั่วไปไม่มีสาหร่ายประมาณ 104 เซลล์ต่อดินแห้ง 1 กรัม สาหร่ายจำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด คือ
จุลินทรีย์ประเภทสาหร่ายมีบทบาทสำคัญต่อดินและพืชหลายอย่าง เช่น ช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน เนื่องจากสาหร่ายสามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงช่วยเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุ สาหร่ายบางชนิดโดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายและถูกย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืช
อาหารของจุลินทรีย์ดิน
จุลินทรีย์ต้องการอาหารเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทั่วไปเพียงแต่สารอาหารที่จุลินทรีย์ดินต้องการต่างไปจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น สารอาหารที่จุลินทรีย์ต้องการแบ่งได้เป็น 4 หมู่ คือ
แหล่งพลังงานของจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ดินจำแนกออกได้ 2 ประเภท ตามแหล่งพลังงานที่ใช้ในการดำรงชีวิต คือ
1. Heterotroph
จุลินทรีย์ดินกลุ่มนี้ได้พลังงานจากการสลายสารประกอบอินทรีย์ เช่น
ปฏิกริยาหลังเกิดขึ้นเฉพาะแบคทีเรีย Desulfovibvio แหล่งพลังงานจากสารอินทรีย์แต่ที่จริงแล้วก็คือพลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง สิ่งมีชีวิตในกลุ่มที่สามารถสังเคราะห์พลังได้เป็นผู้เปลี่ยนพลังงานแสงแดดให้เป็นพลังงานเคมี และเก็บสะสมพลังงานเคมีไว้ในรูปสารประกอบอินทรีย์ เมื่อสิ่งมีชีวิตสลายสารประกอบอินทรีย์ก็จะได้พลังงานมาใช้ในการดำรงชีวิต
2. Autotroph
จุลินทรีย์ดินกลุ่มนี้ได้พลังงานในการดำรงชีวิตจากปฏิกริยาเคมีของสารอนินทรีย์ เช่น
Nitrosomonas
Thiobacillus thiooxidans
Thiobacillus denitrifican
กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินมีผลต่อพืช
1. การย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ
อินทรีย์วัตถุชิ้นใหญ่ เมื่อใส่ลงไปในดินจะถูกสิ่งมีชีวิตในดินช่วยกันย่อยสลายให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กรดอินทรีย์ ฮิวมัส และสารอาหารพืช พืชได้รับประโยชน์โดยตรงจากสารอาหารที่เกิดขึ้น เช่น ไนเตรด แอมโมเนียม ฟอสเฟต และซัลเฟต เป็นต้น ฮิวมัสช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ช่วยให้อนุภาคดินจับตัวกันเป็นเม็ดดินทำให้ดินมีช่องว่างมากขึ้น การซึมซับน้ำและการระบายอากาศดีขึ้น เป็นต้น
2. การตรึงไนโตรเจน
จุลินทรีย์บางชนิดสามารถเปลี่ยน N2 ที่อยู่ในอากาศให้เป็น NH3 โดยใช้เอนไซม์ nitrogenase จากนั้น NH3 ที่เกิดขึ้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารประกอบกรดอมิโนและโปรตีนตามลำดับ เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายและถูกย่อยสลาย สารประกอบไนโตรเจนภายในเซลล์ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารอาหารพืชอีกทอดหนึ่ง เกษตรกรจึงสามารถเพิ่มไนโตรเจนลงไปในดินได้โดยใช้กระบวนการนี้แทนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้มีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้
3. การแปรสภาพสารอนินทรีย์
3.1 Nitrification
เป็นกระบวนการเปลี่ยน NH4+ ให้กลายเป็น NO2- และจาก NO2- ให้กลายเป็น NO3- โดยแบคทีเรีย Nitrosomonas ในขั้นตอนแรกและ Nitrobaeter ในขั้นตอนที่ 2 กระบวนการนี้ไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนโดยตรง เนื่องจากพืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง NH4+ และ NO3- แต่ NO3- มีประจำลมซึ่งดินโดยทั่วไปดูดซับได้น้อย ดังนั้น NO3- ที่เกิดขึ้นอาจถูกชะล้างออกจากบริเวณรากก่อนพืชจะดูดไปใช้
3.2 Denitrification
เป็นกระบวนการเปลี่ยน NO3- ไปเป็นแก๊ส N2 หรือ N2O โดยจุลินทรีย์กลุ่มที่อาศัยอยู่ได้ทั้งภาวะที่มีและไม่มีอากาศ เมื่อไม่มี O2 จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะใช้ NO3- เป็นตัวรับอีเลคตรอนแทนกระบวนการนี้ทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนไปจากดิน ดังนั้นปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับนาข้าวจึงไม่ควรใช้ในรูปสารประกอบ NO3-
3.3 Sulfur oxidation
เป็นการเปลี่ยนสารประกอบอนินทรีย์ของกำมะถันที่มี oxidation number ต่ำ เช่น S, S2O32-, S4O62-, S3O62- ให้กลายเป็น SO42- โดยจุลินทรีย์กลุ่ม Thiobacillus กระบวนการนี้ทำให้กำมะถันอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์กับพืช แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดกรดขึ้นด้วย SO42- ที่เกิดขึ้นมักอยู่ในรูป H2SO4
3.4 Sulfer reduction
เป็นกระบวนการเปลี่ยนสารประกอบ SO42- ไปเป็น S2- และ H2S โดยจุลินทรีย์กลุ่ม Desulfovibrio กระบวนการนี้จะเกิดเฉพาะในดินน้ำขังและเกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้กำมะถันที่เป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง H2S เป็นพิษต่อรากพืชและสัตว์น้ำ สารประกอบซัลไฟด์ส่วนใหญ่มีสีดำ ดังนั้นหากเกิดกระบวนการนี้ขึ้นมักสังเกตเห็นน้ำมีตะกอนสีดำ หรือมีคราบสีดำรอบ ๆ รากพืช
3.5 Imrsobilization
เป็นกระบวนการทีจุลินทรีย์ใช้ธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินไปสร้างส่วนประกอบาของเซลล์ในขณะที่มีการย่อยอินทรีย์วัตถุ กระบวนการนี้เกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินมีสัดส่วนของธาตุคาร์บอนมาก ในขณะที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือกำมะถันน้อย ไม่เพียงพอต่อการสร้างส่วนประกอบของเซลล์จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความสามารถในการเปลี่ยนคาร์บอนไปเป็นส่วนประกอบของเซล์ได้ไม่เหมือนกัน พวกเห็ดราสามารถเปลี่ยนเป็นส่วนประกอบของเซลล์ได้ 30-40% ของคาร์บอนที่มีอยู่ทั้งหมดในสารอินทรีย์ Actinomy cetes เปลี่ยนได้ 15-30% aerobe bacteria เปลี่ยนได้ 5-10% anaerobe bacteria เปลี่ยนได้ 2-5% โดยเฉลี่ยแล้วจุลินทรีย์ดินจะเปลี่ยนคาร์บอนจากสารอินทรีย์เป็นส่วนประกอบของเซลล์ได้ประมาณ ในขณะที่มี C : N ration ของเซลล์ประมาณ 10 : 1 สมมุติว่าเกษตรกรไถกลบกอซังซึ่งมีคาร์บอน 40% และไนโตรเจน 0.5% เมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายกอซัง จุลินทรีย์จะเปลี่ยนคาร์บอนในกอซังเป็นส่วนประกอบของเซลล์ได้ประมาณ 40 x = 13.3% ในขณะที่ต้องการไนโตรเจน 1.3% แต่กอซังมีไนโตรเจนเพียง 0.5% ดังนั้นจุลินทรีย์ต้องใช้ไนโตรเจนที่มีอยู่เดิมในดิน (1.3 -0.5)% เมื่อเกิดกระบวนการนี้ขึ้นจะทำให้ดินมีธาตุอาหารลดลงชั่วคราว จนกว่าจุลินทรีย์จะตายและถูกย่อยสลาย ธาตุอาหารที่จุลินทรีย์ใช้ไปจึงจะถูกปลดปล่อยกลับคืนสู่ดิน
3.6 Mineralization
เป็นกระบวนการเปลี่ยนสภาพสารประกอบอินทรีย์ไปเป็นสารประกอบอนินทรีย์ กระบวนการนี้เกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ตายและถูกย่อยสลาย หรือการใส่อินทรีย์วัตถุที่มีร้อยละของคาร์บอนต่ำแต่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือกำมะถันสูง เมื่อเทียบกับองค์ประกอบของเซลล์จุลินทรีย์เมื่อจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุเหล่านั้น จุลินทรีย์ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารส่วนที่เกินความต้องการออกมา ทำให้พืชหรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นได้รับประโยชน์ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากกระบวนการนี้ได้แก่การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชลัด เมื่อไถกลบจุลินทรีย์จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนออกมา
3.7 Mycorrhiza formation
เชื้อราบางชนิดสามารถอยู่ร่วมกับรากพืชแบบอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน (symbiosis) โดยสร้างโครงสร้างที่เรียกว่า mycorrhiza ขึ้น พืชพวกนี้สามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้านทานโรคบางอย่างได้ดี ตัวอย่างเช่น พืชในตระกูลถั่ว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
1. ความชื้นในดิน
จุลินทรีย์ต้องการน้ำในการดำรงชีวิต ในขณะเดียวกันน้ำก็ช่วยละลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในดิน aerobic bateria เจริญเติบโตได้ดีเมื่อความชื้นอยู่ที่ประมาณ 60-75% ของค่า water holdivg capacity ของดิน ส่วนพวก anaerobic bacteria เจริญเติบโตได้ดีในภาวะน้ำขัง
2 อุณหภูมิดิน
จุลินทรีย์ดินแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างกัน อุณหภูมิดินระดับหนึ่งจะทำให้จุลินทรีย์บางชนิดเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มจำนวนขึ้น ในขณะที่ชนิดที่เจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มจำนวนขึ้นในขณะที่ชนิดที่เจริญได้ไม่ดีจะมีจำนวนลดลง สำหรับภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิดินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่องแคบ ๆ ปัจจัยด้านอุณหภูมิจึงไม่มีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์มากนัก
3 การถ่ายเทอากาศในดิน
ดินที่โปร่งมีการถ่ายเทอากาศได้ดีจะทำให้ออกซิเจนสามารถแพร่ลงได้ในดินได้เร็ว และคาร์บอนไดออกไซด์แพร่จากดินสู่อากาศได้เร็วเช่นกัน ความเข้มข้นของออกซิเจนในดินจึงอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าอากาศมากนัก ภาวะเช่นนี้เหมาะกับการเจริญเติบโตของ aerobic bacteria ชนิดและปริมาณของแบคทีเรียกลุ่มนี้จะมีมาก ในทางตรงข้ามถ้าดินถูกน้ำท่วมขังออกซิเจนไม่สามารถแพร่ลงไปในดินได้ aerobic bacteria จะตาย แต่ชนิดและปริมาณของ anaevobic bacteria จะเพิ่มขึ้น
ป้ายคำ : จุลินทรีย์, ห่มดิน