เมื่อเราต้องการให้พ่อ แม่ พี่ น้อง ได้กินของที่ปลอดภัยจึงวางแผนปลูกพืชผัก ไม้ผล ยางพารา เพื่อเป็นรายได้ ปลูกพืชสมุนไพร ไม้หายาก เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยตั้งใจไม่ใช้สารเคมีเลย
นี่เป็นแนวคิดของ น.ส.สุชัญญานมาศ สุขาพันธ์ เกษตรกรและประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขาดิน ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ ที่พลิกผืนดิน 15 ไร่ ให้เป็นแปลงเกษตรปลอดสาร จนได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (จีเอพี) และกำลังเข้าสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์ เพื่อการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตรต่อไป
สุชัญญานมาศ กล่าวว่า เมื่อคิดเช่นนี้จึงศึกษาหาข้อมูล ฝึกอบรม ทั้งได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ในปี 2551 จากนั้นได้นำความรู้มาปรับใช้ในพื้นที่ ซึ่งกว่าจะเปลี่ยนให้คืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ต้องใช้เวลากว่า 6 ปี เพราะเดิมพื้นที่นี้รุ่นพ่อทำเกษตรโดยพึ่งสารเคมีมาตลอด
ต่อเมื่อผืนดินคืนสู่สภาพที่ดี ส่งให้ผลผลิตต่างๆ มีระยะเก็บเกี่ยวนานขึ้น ที่สำคัญผลผลิตได้การรับรองแปลงจีพีเอ ซึ่งการันตีคุณภาพ ทำให้จำหน่ายได้ราคาสูง ดังในปี 2557 มีรายได้หลักจากยางพาราราว 1 แสนบาท ขณะที่พืชร่วมสวนยาง สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนบาท นับเป็นรายได้ที่เธอพอใจ
ทุกวันนี้ เธอเน้นขายผลผลิตในชุมชน เหลือก็แบ่งปันสนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่บ้าง พร้อมกันนี้ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรให้แก่นักเรียน ผู้สนใจ เข้าศึกษาวิถีแห่งความพอเพียงตามรอยพ่อหลวง นำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและสร้างอาชีพ ที่เน้นสุขภาพดี มีความสุข เลี้ยงครอบครัวได้ และแบ่งปันให้แก่ชุมชนและสังคม
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงลำทับ จ.กระบี่ ว่าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ ตนเองได้รับแนวคิดมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในหลวงของเรา จึงได้นำมาปรับใช้และได้ผลจริงๆ โดยตนเองมีที่ดินอยู่ จำนวน 25 ไร่ จึงได้แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วนๆ แบ่งเป็นปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผสมผสาน โดยทดลองทำก่อนแล้วประกฏว่าเมื่อทำแล้วมีผลดีต่อตนเอง ชุมชน และคนรอบข้าง จึงได้ทำเรื่อยมาพร้อมทั้งได้แบ่งปันองค์ความรู้ให้กับผู้อื่นตลอด เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2551 พืชส่วนใหญ่ที่ปลูกจะเป็นพวก พืชสมุนไพร ไม้ยืนต้น โดยเฉพาะพืชอาหาร ซึ่งเมื่อมีกินทุกวันก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งเงินทองไม่สามารถหาซื้อได้ในแต่ละปีสร้างรายได้ให้กับตนเองกว่า 6 แสนบาท ซึ่งการทำเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องมีใจโอบอ้อมอารีย์ เสียสละ ซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น
และส่งเสริมการสร้างอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรขยายฐานการผลิตสินค้าการเกษตรที่หลากหลายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทดแทนการนำเข้า
ทั้งยัง ตอบสนองความต้องการของตลาด อาทิ ข้าวพื้นเมือง ผักสลัด ผักปลอดสารพิษ ไผ่ ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ตัดใบ ผลไม้ สำหรับโรงแรม / รีสอร์ทฯ ส่งเสริมการปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยาง เกษตรชีวภาพ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดธนาคารต้นไม้แก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีอาชีพรับจ้างทางการเกษตร เกษตรยากจน
สำหรับเกษตรกร หรือผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีทำเกษตรปลอดภัย ติดต่อ บ้านเลขที่ 129 ม.4 ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ ได้โดยตรงที่ 08-1781-4808 และ 09-8016-2379
ป้ายคำ : ปราชญ์