สุพจน์ ทิพมนต์ เครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์เชียงใหม่

“เครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์เชียงใหม่” เป็น 1 ใน 12 กลุ่มเกษตรกรนำร่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกเข้าร่วม “โครงการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารตามมาตรฐาน เพื่อการยอมรับทั้งในประเทศและสากล” ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (SAL) ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเข้าสู่ระบบการรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์มาตรฐานเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ พร้อมเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วย

เมื่อ 20 ปีที่แล้วจากปัญหาการใช้สารเคมีในเกษตรกรรมทำาให้สิ่ งแวดล้อมในหมู่ บ้านเสื่อมโทรม กระทบต่อแหล่งทำากินและเกิดโรคระบาด คุณสุพจน์ ทิพย์มนต์จึงเป็นแกนนำรวมกลุ่มเกษตรกร ทำาเกษตรอินทรีย์หันหลังให้กับสารเคมีทุกรูปแบบ สิ่งที่เป็นแนวคิดของเขาคือทำาอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ร่างกายของเราสมบูรณ์ที่สุด ไม่ทำาลายสิ่งแวดล้อม หาความรู้มารองรับและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชาวบ้านขยายต่อไป ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเทคโนโลยีที่ เหมาะสม สวนเกษตรอินทรีย์ขนาดเล็กในระบบอินทรีย์ ส่งเสริมการปลูกพืชผักหมุนเวียน ทำาปุ๋ยหมัก ทำาปศุสัตว์ผสมผสานเพื่ อการแปรรูปเป็นอาหาร ไม่พึ่งพาสารเคมี ลดต้นทุน มีอาหารสำาหรับคน สัตว์ และพืชตามธรรมชาติชนิดไม่มีอด เน้นกินในครอบครัว เหลือกินจึงขายสร้างรายได้

นายสุพจน์ ทิพย์มนต์ ประธานเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์เชียงใหม่ อยู่เลขที่ 57/4 หมู่ 3 ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์เชียงใหม่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ 6 กลุ่ม ได้แก่ สมาชิกศูนย์ศึกษาและพัฒนาเกษตรอินทรีย์เรนโบว์ฟาร์ม (องค์กรพัฒนาเอกชน) กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านดอนเจียง บ้านสันป่ายาง บ้านสันป่าตึง บ้านนาหืก และกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านสันทราย โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 ปัจจุบันมีสมาชิกร่วมเครือข่ายจำนวน 32 ราย กระจายอยู่ในเขต อ.แม่แตง อ.แม่ริม และ อ.ดอยสะเก็ด รวมพื้นที่การผลิตกว่า 250 ไร่

supojtipmonpag

นอกจากกลุ่มจะส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกทำนาข้าวอินทรีย์ ปลูกพืชผักและผลไม้อินทรีย์ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดอินทรีย์แล้ว ยังได้ยกระดับการเลี้ยงสัตว์พื้นบ้านคือ เป็ดและไก่พื้นเมืองให้เข้าสู่มาตรฐานการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ โดยส่งเสริมให้รวมกลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่และไก่พื้นเมืองอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000 – 2548 เกษตรอินทรีย์ เล่ม 2 : ปศุสัตว์อินทรีย์ควบคู่ไปกับแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนสมาชิกและชุมชน พร้อมส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ มุ่งให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

สำหรับการเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์มีสมาชิก 24 ราย พื้นที่ประมาณ 30 ไร่ โดยกลุ่มได้รับการสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองอินทรีย์จากกรมปศุสัตว์คือ พันธุ์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 สำหรับไก่พันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ เลี้ยงง่าย กินอาหารเก่ง โตเร็ว และมีภูมิต้านทานโรคสัตว์ปีกได้ดี ขณะนี้มีแม่พันธุ์ไก่อินทรีย์ 26 ตัว พ่อพันธุ์ 6 ตัว ผลิตลูกไก่โดยให้แม่ไก่ฟักไข่เองและใช้เครื่องฟักไข่ ป้อนลูกไก่ให้สมาชิกไปแล้ว 3 รุ่น รวมกว่า 400 ตัว ซึ่งลูกไก่อายุ 1-2 สัปดาห์ ราคาตัวละ 30-35 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด

ไก่พื้นเมืองอินทรีย์ของกลุ่มเน้นเลี้ยงแบบธรรมชาติ ใช้อาหารและวัตถุดิบที่มีและหาได้ง่ายในชุมชน เช่น รำข้าวอินทรีย์ ถั่วเหลืองอินทรีย์ และเศษพืชผักอินทรีย์ เป็นต้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ทั้งยังมีการนำสมุนไพร อาทิ บอระเพ็ด ขมิ้นชัน ไพล และฟ้าทะลายโจร เข้ามาใช้ป้องกันโรคสัตว์ปีกด้วย ส่วนตลาดไม่มีปัญหา เพราะปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเชียงใหม่สนใจที่จะให้กลุ่มผลิตเนื้อไก่พื้นเมืองอินทรีย์ส่งให้ แต่กลุ่มยังไม่สามารถทำได้ เพราะลูกไก่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิก

ทางด้านนายสะอาด ดอนแก้ว ประธานกลุ่มเป็ดไข่ในนาข้าวอินทรีย์ ต.สบเปิง อ.แม่แตง กล่าวถึงการเลี้ยงเป็ดไข่อินทรีย์ว่า ปัจจุบันมีสมาชิก 8 ราย เลี้ยงเป็ดไข่อินทรีย์พันธุ์กากีแคมเบลล์ และพันธุ์ปากน้ำ ซึ่งได้รับการสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์จากกรมปศุสัตว์ นำมาเลี้ยงในนาข้าวอินทรีย์ 6-8 ไร่ พร้อมใช้วัตถุดิบอินทรีย์ในชุมชนมาเป็นอาหารเลี้ยงเป็ดด้วย อาทิ ต้นกล้วยสับบด รำข้าวอินทรีย์ ถั่วเหลืองอินทรีย์บด น้ำหมักหอยเชอรี่ พืชผักอินทรีย์ ขณะเดียวกันสมาชิกยังมีการผสมอาหารใช้เอง ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างมาก

กลุ่มได้ดำเนินการผลิตลูกเป็ดอินทรีย์ป้อนให้กับสมาชิกเพื่อทดแทนฝูงเดิม โดยลูกเป็ดอายุ 1 สัปดาห์ ราคาตัวละ 25 บาท อายุ 2 สัปดาห์ ราคาตัวละ 30-35 บาท ซึ่งมีความต้องการพันธุ์เป็ดไข่อินทรีย์สูงมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์เป็ดไข่พันธุ์ดีเพิ่มเติมอีก เนื่องจากเป็ดที่มีอยู่เดิมเริ่มมีอายุมากขึ้น ศักยภาพการผลิตไข่ฟักต่ำ และได้ลูกเป็ดตัวเล็ก แคระแกร็นด้วย ทั้งยังต้องการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ด้วย

นอกจากนั้น สมาชิกกลุ่มยังมีการเลี้ยงแม่เป็ดไข่อินทรีย์ประมาณ 400-500 ตัว เพื่อผลิตไข่เป็ดอินทรีย์ส่งตลาดมีกำลังการผลิตเดือนละ 5,000-6,000 ฟอง ซึ่งส่วนหนึ่งนำไปขายที่ตลาดนัดเจเจ (JJ) ซึ่งเป็นตลาดจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ อีกส่วนหนึ่งจำหน่ายให้กับชุมชน ราคาฟองละ 4-6 บาท แต่ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการเลี้ยงเป็ดไข่อินทรีย์นี้ ทำให้สมาชิกได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี เพราะตลาดกำลังขยายตัวและไปได้สวย ไม่มีปัญหา

สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่สนใจจะเยี่ยมชมหรือศึกษาดูงานกลุ่มเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์เชียงใหม่ สามารถติดต่อได้ที่คุณสุพจน์ โทร.08-1030-0253 และคุณสะอาด 08-9952-2612.

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น