สุพรรณิการ์ ดอกมีสีเหลืองทองคำ

26 กรกฏาคม 2559 ไม้ดอกไม้ประดับ 0

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสุพรรณนิการ์ไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะต้นสุพรรณิการ์โบราณเรียกว่า ต้นปาริชาติ คือ ดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกไว้ตามวิหารของพระเจ้าในสมัยพุทธกาล นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า เป็นต้นไม้ที่มีค่าสูงเปรียบเสมือนทองคำ เพราะต้นสุพรรณนิการ์ บางคนเรียกว่า ต้นฝ้ายคำ ซึ่งดอกมีสีเหลืองทองคำ ชูช่อสู่ฟ้า ดุจอันเบิกบานตระการตา คนทั่วไปจึงยกย่องสรรเสริญว่าเป็นดอกไม้คู่ฟ้า ดังนั้นจึงเป็นไม้มงคลนาม

ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum religiosum(L.) AlstonCochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.(ฝ้ายคำซ้อน)Cochlospermum gossypium De Candole (Syn. Maxmiliana gossypium Kuntze หรือ Bombax gossypium L.)
วงศ์ BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป
สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว

supanigaton supanigato supanigaking

การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด เป็น ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กสูง 3-12 เมตร มีก้านใบสีแดงอมน้ำตาล ใบกลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉกลึก ขอบใบจักดอกออกเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่งและบานพร้อมๆกัน ไม่มีกลิ่น ขณะออกดอกจะสลัดใบหมด กลีบดอกสีเหลืองสด เกสรเหลือง แต่ส่วนโคนเกสรครึ่งล่างมีสีแดง รังไข่เกลี้ยง ผลสุกสีแดงอมเขียว เมื่อแก่จะแตก 5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตหุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ถิ่นเดิมจากอเมริกากลางและอเมริกาใต้

การขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง

คุณประโยชน์
สุพรรณิการ์(ฝ้ายคำ) นอกจากเป็นไม้ประดับแล้ว ยางจากต้นให้ผลิตผลเป็น Karaya gum หรือทางการค้าเรียกว่า Crystalgum เป็นก้อนผลึกสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู ใช้เป็นยาระบาย ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาเซทผม เป็นยาทาบำรุงผิว ใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้าและการพิมพ์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผสมไอศกรีมทำให้ข้น เนื้อไม้ต้มกับแป้งเป็นอาหาร ใบอ่อนใช้สระผม ดอกแห้งและใบแห้งใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

supanigatons

สุพรรณิการ์มีทั้งหมด 2 ชนิด 3 สายพันธุ์ดังนี้

  1. Cochlospermum regium (Mart & Schrank) Pilger เป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ ชื่อสามัญที่นิยมใช้คือ butter-cup tree หรือ yellow-cotton tree มี 2 พันธุ์ ดังนี้
    1.1 พันธุ์กลีบดอกซ้อน หรือสุพรรณิการ์ซ้อน (double butter-cup) เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด และกระจายอยู่ทั่วทั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก มีลักษณะเด่นคือ ใบหยักเป็นแฉกลึก 75-80% ดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงแน่น ดอกย่อยบานพร้อมกัน เป็นดอกไม่สมบูรณ์คือมีเฉพาะเกสรเพศผู้ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ร่วงยาก กลีบดอกสีเหลืองจำนวนมาก มีหลายชั้นและร่วงยาก เกสรเพศผู้สีเหลือง จำนวนมาก มีทั้งอยู่วงในสุดและแทรกอยู่ในชั้นของกลีบดอก ขณะออกดอกใบมักจะร่วงหมดทั้งต้น เป็นพันธุ์ที่ไม่มีผล การขยายพันธุ์โดยการปักชำ
    1.2 พันธุ์กลีบดอกชั้นเดียว สุพรรณิการ์ หรือสุพรรณิการ์ดอกลา (single butter-cup) มีลักษณะเด่นคือใบเป็นแฉกลึก 50-60% ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ร่วงยาก กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองสด ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลทรงกลมแบบแคบซูล (capsule) ทรงกลม เมล็ดรูปไตหรือรูปก้นหอย หุ้มด้วยปุยสีขาว มีทั้งหมดจำนวน 4 ต้นเท่านั้น
  2. Cochlospermum religiosum (L.) Alston หรือสายพันธุ์กอสไซเปียม (gossypium) เป็นสายพันธุ์จากทวีปอินเดีย ชื่อสามัญคือ silk-cotton tree หรือ cotton tree ลักษณะเด่นคือใบเป็นแฉกลึก 30-35% แผ่นใบหนา กิ่ง ก้านใบ และผิวใบด้านล่างมีขนหนานุ่ม ดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะ เป็นดอกสมบูรณ์ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ร่วงยาก กลีบดอก 5 กลีบสีเหลืองสด ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลแบบแคบซูลรูปไข่ เมล็ดรูปไตหรือรูปก้นหอย หุ้มด้วยปุยสีขาว มีทั้งหมดจำนวน 4 เหมือนกับพันธุ์กลีบดอกชั้นเดียว

supanigachor

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสุพรรณนิการ์ไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะต้นสุพรรณิการ์โบราณเรียกว่า ต้นปาริชาติ คือ ดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกไว้ตามวิหารของพระเจ้าในสมัยพุทธกาล นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า เป็นต้นไม้ที่มีค่าสูงเปรียบเสมือนทองคำ เพราะต้นสุพรรณนิการ์ บางคนเรียกว่า ต้นฝ้ายคำ ซึ่งดอกมีสีเหลืองทองคำ ชูช่อสู่ฟ้า ดุจอันเบิกบานตระการตา คนทั่วไปจึงยกย่องสรรเสริญว่าเป็นดอกไม้คู่ฟ้า ดังนั้นจึงเป็นไม้มงคลนาม
supaniga
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นสุพรรณิการ์ไว้ทางทิศใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกในปีระกา เพราะต้นฝ้ายคำเป็นต้นไม้ประจำปีระกา ถ้าผู้อาศัยในบ้านเกิดในปีระกาด้วยแล้วก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น

นิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การตอน การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรค ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
แมลง เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)
อาการ จะมีกลุ่มเพลี้ยแป้งสีขาว ตามโคนใบและซอกใบทำให้ใบร่วง
การป้องกัน รักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่ปลูก
การกำจัด ใช้ยาไดเมโธเอท อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ดอกไม้ประดับ

แสดงความคิดเห็น