ส้มโอเป็นพืชในสกุลเดียวกับส้มเขียวหวาน เลมอน มะกรูด และมะนาว มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักเดินเรือชาวยุโรปนำส้มโอไปปลูกในหมู่เกาะบาเบดอส และเป็นต้นกำเนิดของส้มเกรปฟรุท (grapefruit) ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสำคัญของโลก และมีส้มโอพันธุ์ดีอยู่เป็นจำนวนมาก
ส้มโอมีขนาดผลใหญ่ที่สุดในกลุ่มผลไม้สกุลส้ม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 14-16 เซนติเมตร รูปทรงกลมแป้น ภายในเปลือกผลหนามีกลับผล 10-16 กลีบ เมื่อแกะเปลือกหุ้มกลีบออกจะเห็นเนื้อลักษณะเป็นถุงน้ำเล็ก ๆ (Juice Sac) หรือที่เรียกกันว่า กุ้ง เบียดตัวกันแน่น รสหวานอมเปรี้ยว ส้มโอพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็เช่น ขาวพวง ขาวใหญ่ ทองดี
เนื้อส้มโอมีวิตามินซีช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีโพแทสเซียมที่ดีต่อการทำงานของหัวใจและกล้ามเนื้อ มีโฟเลตที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและป้องกันความผิดปกติของทารกในครรภ์ มีสารลิโมนอยด์ (Limonoid) ช่วยล้างพิษและสามารถยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็งได้ มีแคลเซียมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง มีสารเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสายตา
ผลพืชในสกุลส้มเป็นผลแบบส้มซึ่งเป็นผลลักษณะพิเศษ และมีกลิ่นเฉพาะตัวเนื่องจากมีน้ำมันระเหยหอมเห็นเป็นจุดแทรกอยู่ชัดเจนที่ใบ และเปลือกผล (rind) นอกจากนี้เปลือกยังมีเพกทินเป็นองค์ประกอบถึง 30% จึงนิยมนำมาสกัดใช้ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อทำแยมและเยลลี่ รวมทั้งผสมในซอส และโยเกิร์ตเพื่อให้ข้น
ชื่ออื่น ๆ : มะขุน, มะโอ (ภาคเหนือ), โกร้ยตะลอง (เขมร), ลีมาบาลี (มลายู-ยะลา), อิ่ว (จีน), สังอู(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Pummelo, Shaddock
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima Merr.
วงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา
ผลรูปทรงกลมหรือรูปแพร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 11-17 ซม. บริเวณขั้วผลนูนขึ้นเป็นกระจุก ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่มีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลหนา 1-2 ซม. ผิวผลเรียบ มีต่อมน้ำมันมาก ข้างในมีเยื่อสีขาวหรือสีชมพู ลักษณะหยุ่นนุ่มรสหวานหรือขมเล็กน้อยกั้นเนื้อผลที่เป็นถุงน้ำ เปลือกผล มีรสขมเฝื่อน ปร่า หอมร้อน
สรรพคุณ
ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเปลือกส้มโอ
ประเทศจีน: ใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ และแก้ไอ ผสมในยาหอมกินแล้วทำให้ชื่นใจ
ตำรายาไทย: ผิวส้มโอ จัดอยู่ใน เปลือกส้ม 8 ประการ ประกอบด้วย ผิวส้มโอ ผิวส้มเขียวหวาน ผิวส้มจีน ผิวส้มซ่า ผิวส้มตรังกานู ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว หรือผิวส้มโอมือ และผิวมะกรูด มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด กองหยาบ แก้เสมหะโลหะ ใช้ปรุงยาหอม แก้ทางลม
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ผิวส้มโอ ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับยาหอมเทพจิตร มีส่วนประกอบของผิวส้มโอ อยู่ใน เปลือกส้ม 8 ประการ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น
ตำรับยา :
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
ใช้รักษาโรคลมพิษที่ผิวหนัง ใช้เปลือกผลครั้งละ 0.5-1 ผล หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำอาบ หรือทาบ่อยๆบริเวณที่เป็น
องค์ประกอบทางเคมี
acridone, acronycine, anthranilate, apigenin, bergamottin, camphor, citral, hesperidine, limonene, limonin, linalool, myricetin, naringenin, nerol, nomilin, pinene, quercetin, rutin, scopoletin, umbelliferone สารขมในเปลือกชื่อ naringin
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ฆ่าแลง ฆ่าเห็บวัว ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase ลดการอักเสบ ยับยั้งการทำงานของต่อมไทรอยด์ ยับยั้งการกลายพันธุ์ ต้านออกซิเดชัน ขับเสมหะ แก้ไอ เพิ่มปริมาณน้ำนมในวัว เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ต้องการความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอน และเมล็ดแต่ส่วนมากจะใช้วิธีตอนมากกว่า เพราะโตเร็วกว่าใช้ เมล็ด
ผลผลิตและการเก็บเกี่ยว
ส้มโอจะเริ่มให้ผลเมื่อประมาณ 4 ปี ในฤดูปกติส้มโอที่ปลูกในภาคกลางจะเริ่มออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน จนถึง เดือนมีนาคม โดยเฉพาะมากราคมถึงกุมภาพันธ์ จะออกดอกมากที่สุด เรียกว่า ส้มปี ส้มทวาย ดอกที่ออกมานี้จะทน และติดเป็นผลแก่ให้เวลาประมาณ 8 เดือน ซึ่งจะเป็นเดือนสิงหาคมและกันยายน จะเป็นฤดูที่ส้มแก่มากที่สุด แต่ส้มโอพันธุ์ขาวทองดีจะแก่ช้ากว่าพันธุ์ขาวพวงและขาวแป้นเล็กน้อยคือจะแก่เก็บได้ราวเดือนกันยายนถึงตุลาคมเป็นส่วนมาก ในด้านความดกนั้นพันธุ์ขาวพวงและขาวแป้นจะดกมาก ต้องทำ การปลิดผลทิ้งให้เหลืออยู่พอดีกับขนาดของต้น
ส้มโอที่ปลูกกันในจังหวัดภาคกลาง ผลผลิตจะเริ่มลดลงเมื่อส้มโออายุประมาณ 10 ปี ขึ้นไปเนื่องจากระดับนํ้าใต้ดินสูง รากส้มถูกกำจัดพื้นที่ ส่วนส้มโอที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดีสามารถให้ผลผลิตได้สูงถึงอายุ 15-20 ปี
การเก็บเกี่ยว
ผลส้มโอที่อยู่ที่อยู่ไม่สูงมากนำควรใช้กรรไกรตัดขั้ว ถ้าเป็นผลที่อยู่สูงควรใช้ที่เก็บเกี่ยวชนิดมีขอ ตัดต่อด้าม และมีเชือกกระตุกพร้อมถุงรองรับ จะช่วยให้ผลไม่ร่วงหล่นลงดิน
วิธีการเก็บเกี่ยว
โดยธรรมชาติส้มโอจะเกิดผลเป็นผลเดี่ยว เป็นพวง 2 ผล หรือ 3 ผลเท่านั้น แต่อุปสรรคในการเก็บเกี่ยวคือขนาดนํ้าหนักผล ในพื้นที่ลุ่ม ต้นอาจสูง 4-5 เมตร ซึ่งพอจะดำ เนินการเก็บเกี่ยวผลได้ แต่ต้นที่ปลูกในที่ดอนย่อมมีขนาดต้นใหญ่ จะมีปัญหาการเก็บเกี่ยวมากวิธีการเก็บเกี่ยวผลส้มโอในปัจจุบันทำได้หลายแบบดังนี้
ป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช
อาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา วิทยากรเกษตรกร และนักวิจัยเท้าเปล่า เจ้าของตำรับสมุนไพรและฮอร์โมนชีวภาพต่างๆ หลายสูตรเสริมประสิทธิภาพการผลิตให้แก่เกษตรกรในหลายพื้นที่ กล่าวว่า ถ้าเกษตรกรมิได้พัฒนาการบริหารจัดการ เพื่อการผลิตพืชโดยนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในไร่นา แต่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีหรืออาศัยปัจจัยจากภายนอก ด้วยการใช้เงินจัดซื้อหาปัจจัยการผลิตทุกๆ อย่างมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย ขาดความตระหนักที่จะวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้นทุนส่วนใหญ่หมดสิ้นไปกับปัญหาดังกล่าว เมื่อจำหน่ายผลผลิตแล้วอาจต้องขาดทุน และพบปัญหากับค่าใช้จ่ายในการครองชีพในครัวเรือนของเกษตรกรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้ ปัญหาด้านสุขภาพของบุคคลในครัวเรือน ปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างสืบเนื่องต่อกัน หากปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นโรคเรื้อรัง เกษตรกรมีฐานะไม่มั่นคง คุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนที่ดีขึ้นคงเกิดไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะผลผลิตทางการเกษตรไม่ปลอดภัยจากสารพิษ ตามวัตถุประสงค์ของทางราชการที่ได้ทุ่มเทงบประมาณ และบุคลากรเพื่อการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรในการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน
การเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างความมั่นคงของประเทศ และเมืองไทยมีความหลากหลายทางพืชพรรณธัญญาหาร มีทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างโบราณสถาน เหมาะสมกับการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว แต่เพื่อการสนับสนุนแนวคิดต่างๆ คงต้องพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อรองรับ ทั้งอาหารและสถานที่ดูงานของนักท่องเที่ยว แต่ถ้าใช้การป้องกันกำจัดแบบผสมผสานให้ปลอดภัยจากสารพิษ จะได้ผลผลิตที่ปลอดภัย แต่พบว่าผลผลิตลดลงและผิวไม่สวยเป็นปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะไม่สามารถส่งออกต่างประเทศได้
เมื่อพบปัญหาจึงพิจารณาตามหลักของความเป็นจริงตามธรรมชาติ คือพืชทุกชนิดไม่มีขาหนีโรค-แมลง แต่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยการสร้างสารเคมี เพื่อปกป้องตนเอง แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังคำที่ว่า ลางเนื้อชอบลางยา แต่ยึดแนวคิดว่า สารในพืชใดที่จะสกัดเพื่อป้องกัน-กำจัด โรค-แมลงที่ต้องการ จะสกัดสารออกมาใช้ได้อย่างไรอย่างเหมาะสม และนำไปใช้อย่างไรอย่างลงตัว โดยศึกษารายละเอียดของพืชที่ปลูก การบริหารจัดการที่ดี โรค-แมลงที่สำคัญ สารสมุนไพรที่มีอยู่ในพืชต่างๆ นำมาทดลองแบบลองผิดลองถูกบนพื้นฐานการผสมผสานองค์ความรู้ด้านเคมีที่มีอยู่ และสมมติฐานที่ตั้งไว้ นับว่าส่วนใหญ่จะโชคดีที่พบผลสำเร็จในสารชีวภาพและสารสมุนไพรหลายตำรับ ที่ได้เผยแพร่สู่เกษตรกร ยกตัวอย่างเช่น น้ำสับปะรดเสริมประสิทธิภาพสมุนไพรกำจัดเพลี้ยต่างๆ
ปัญหาจากสารสมุนไพรไม่สามารถซึมเข้าเปลือกไข่แมลงศัตรูพืชซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนได้ จากการค้นคว้าองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อทบทวนภูมิปัญญาชาวบ้านพบว่า น้ำสับปะรดถูกนำมาใช้ย่อยสลายโปรตีนเพื่อให้เนื้อที่ผ่านการหมักในเวลาที่เหมาะสมมีความนุ่มอร่อย จึงได้ศึกษาสารเคมีในน้ำสับปะรด พบว่า เนื้อสับปะรดสุกมีประโยชน์ในการย่อยสลายโปรตีน และสารที่เปลือกสับปะรดสุกมีสารเคมีที่สามารถย่อยสลายไคติน ซึ่งเป็นสารห่อหุ้มของตัวแมลงให้อ่อนนุ่ม ง่ายแก่การซึมซับของสารสมุนไพรเข้าทำลายแมลงศัตรูพืช จึงทดลองสับสับปะรด (ยกเว้นแกนกลางและจุก เพราะแข็ง บดให้ละเอียดได้ยาก) นำไปบดหรือใส่ครกโขลกก่อนนำมาคั้น นำน้ำที่คั้นได้ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ร่วมกับสารสกัดสมุนไพรที่ใช้อัตราส่วนผสมเข้ากับน้ำ 200 ลิตร
จึงขอแนะนำสูตรต่างๆ ที่สวนส้มพวงฉัตรใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อการป้องกันกำจัดโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อราและกำจัดแมลงต่างๆ ซึ่งถ้าจะเพิ่มประสิทธิภาพก็ควรผสมน้ำคั้นสับปะรด คิดตามอัตราส่วนผสมระหว่างน้ำสับปะรด 1 ลิตร ต่อน้ำเปล่า 200 ลิตร (100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)
สมุนไพร สูตรทรัพย์ไพศาล
ทรัพย์ไพศาล ผสมสารสกัดยาสูบ เพราะมีสารสกัดจากสมุนไพรสำคัญ 3 ชนิด คือ เปลือกมังคุด ใช้ป้องกันและกำจัดเชื้อรา ขมิ้นชัน ช่วยป้องกันเพลี้ยต่างๆ และช่วยป้องกันการคายน้ำของพืชให้ช้าลง ทำให้พืชมีใบสีเขียวตลอดในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย และยาสูบ ช่วยป้องกัน-กำจัดหนอน และแมลงต่างๆ
สารสกัดจากเปลือกมังคุด ทำได้โดยนำเปลือกมังคุดบดละเอียด 1 ขีด แอลกอฮอล์เช็ดแผล 1 ขวด (450 ซีซี) หมักในขวดพลาสติค และสารสกัดจากขมิ้นชัน โดยนำขมิ้นชันบดละเอียด 1 ขีด แอลกอฮอล์เช็ดแผล 1 ขวด (450 ซีซี) และน้ำยาล้างจาน 10 ซีซี ในส่วนของสารสกัดจากยาสูบ นำยาสูบ (ควรใช้เศษยาสูบจะมีราคาถูก) 1 ขีด แอลกอฮอล์เช็ดแผล 250 ซีซี น้ำส้มสายชู 5% 250 ซีซี น้ำยาล้างจาน 10 ซีซี โดยนำแอลกอฮอล์เช็ดแผลผสมกับน้ำยาล้างจานให้เข้ากัน ก่อนใส่ในภาชนะสำหรับหมัก และใส่ส่วนผสมที่เหลือลงไป กวนให้เข้ากัน ทั้ง 3 สูตร ต้องหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วคัดเอาเฉพาะน้ำ เก็บรักษาไว้ได้นานเป็นปี
การทำสารสกัดทรัพย์ไพศาล โดยนำสารสกัดเปลือกมังคุด และสารสกัดจากขมิ้นชัน อย่างละ 1 ส่วน ผสมทั้ง 2 ส่วน ลงในภาชนะ หมักเขย่าให้เข้ากัน ก่อนใช้นำส่วนผสมที่เตรียมไว้จำนวน 10 ซีซี ไปผสมกับสารสกัดจากยาสูบ 10 ซีซี และน้ำสะอาด 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มในช่วงแดดร่ม เมื่อพบว่ามีการระบาดของเชื้อรา หรือใช้ฉีดพ่นหลังจากฝนหายเข้าสู่ฤดูแล้ง เพื่อป้องกันเชื้อราต่างๆ และศัตรูพืชที่จะเข้าทำลาย
สมุนไพรสูตร ยาสูบ กะทิสด กาแฟไทย
อาจารย์สุวัฒน์ คิดค้นสมุนไพรสูตรนี้ จากการใช้สมุนไพรสูตรเด็ด จากการนำวัสดุทรัพยากรที่มีมากในท้องถิ่น จากการสอบถามสมาชิกผู้ร่วมเรียนรู้ กล่าวว่า ในพื้นที่มีมะพร้าวหลายต้น จึงนึกถึงไวท์ออยล์ ซึ่งเป็นน้ำมันสำหรับผสมสารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้ง เป็นสารไม่มีพิษ แต่ฆ่าแมลงได้ด้วยการไปเคลือบและอุดรูหายใจข้างตัวแมลง ดังนั้น จึงนำน้ำกะทิซึ่งเป็นน้ำมันมาทดลองใช้ให้เป็นตัวประสานจับระหว่างแป้งและสมุนไพร อีกทั้งนำสารสมุนไพรจากยาสูบเข้าสู่ลำตัวเพลี้ยแป้ง รวมทั้งการทำลายระบบประสาทของแมลงด้วยกาแฟไทย (โรบัสต้า) เพราะมีคาเฟอีนมาก อาจารย์สุวัฒน์ กล่าว
วัสดุ
วิธีทำ นำมะพร้าวขูด ผสมกับยาสูบคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำร้อนลงไป ทิ้งไว้ให้อุ่น ขยี้ให้น้ำกะทิแตก ก่อนนำไปบีบคั้นเอาน้ำออก กรองด้วยตาข่ายเขียวหรือผ้าขาวบาง นำน้ำที่คั้นผสมกับกาแฟที่เตรียมไว้ เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำสมุนไพรป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ หรือไรแดงได้ นำน้ำที่ได้ประมาณ 1 ลิตร ผสมน้ำสับปะรด 1 ลิตร และน้ำสะอาด 200 ลิตร ฉีดพ้นให้ทั่ว ช่วงเช้าหรือเย็น ช่วยป้องกันกำจัดได้ทั้งเพลี้ยไฟและไรแดงในสวนส้มโอ เพลี้ยแป้งและไรแดงในไร่มันสำปะหลัง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว
สมุนไพรเปลือกมังคุด+ว่านหางจระเข้+กำยาน
เมื่อรับประทานมังคุดแล้ว เปลือกยังนุ่มอยู่ ใช้เข็มร้อยเชือกเสียบร้อยห้อยไว้จนแห้ง เก็บไว้ เมื่อจะใช้จึงนำมาโขลกให้ละเอียด ในส่วนของสมุนไพรตำรับสมุนไพรเปลือกมังคุด+ว่านหางจระเข้+กำยาน เตรียมวัสดุดังนี้
เมื่อได้ส่วนผสมต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำน้ำสกัดเปลือกมังคุด 50 ซีซี น้ำสกัดว่านหางจระเข้ 1,000 ซีซี ผงกำยาน 50 กรัม และน้ำยาจับใบ 100 ซีซี ผสมให้เข้ากัน หมักไว้ในภาชนะปิดฝา เพื่อป้องกันแมลง หมั่นคน เช้า-เย็น เป็นเวลา 7 วัน อัตราการใช้ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มในช่วงแดดร่ม จะสามารถป้องกันและกำจัดโรคแคงเกอร์ได้อย่างดี ผลการใช้ที่ผ่านมา ได้ทดลองผลส้มโอต้นเดียวกันที่เป็นโรคแคงเกอร์ โดยเปรียบเทียบผลส้มโอที่ได้รับการรักษาจากสมุนไพรที่ทำขึ้น และมีผลส้มโอที่เป็นโรคไว้โดยไม่รักษาจำนวน 4 ผล พบว่า ผลส้มโอที่ได้รับการรักษาหายจากโรคแคงเกอร์ ผิวส้มสวยไร้ร่องรอยจากสะเก็ดแผลจากโรคแคงเกอร์ พร้อมทั้งกิ่ง ก้าน และใบที่รอดปลอดภัยจากโรคแคงเกอร์
ที่มา
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ป้ายคำ : ผลไม้